Main navigation
ปฏิสัมภิทา
Share:

(๑) ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา - ความรู้แตกฉานในอรรถ
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา - ความรู้แตกฉานในธรรม
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา - ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตติ
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา - ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย


ผู้มีปฏิสัมภิทาเป็นที่รัก ที่เคารพ

() ปฏิสัมภิทาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๘๖ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการ คือ ภิกษุผู้เถระ

เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ๑
เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา ๑
เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑
เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา ๑
เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกรณียกิจน้อยใหญ่ของเพื่อนพรหมจรรย์ที่ควรจัดทำ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องใคร่ครวญวิธีการในกิจนั้น เป็นผู้สามารถทำ สามารถจัดแจง ๑

ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล้ว ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์


ผู้พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทาในเวลาไม่นาน

(๒) ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย

ธรรม ๗ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่าจิตของเราหดหู่

จิตท้อแท้ในภายใน ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราท้อแท้ในภายใน

หรือจิตที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราฟุ้งซ่านไปภายนอก

เวทนาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว

สัญญาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว

วิตกย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว

อนึ่ง นิมิตในธรรมเป็นที่สบาย ไม่เป็นที่สบาย เลว ประณีต ดำ ขาว และเป็นปฏิภาคกัน อันภิกษุนั้นเรียนดีแล้ว มนสิการดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในกาลไม่นานเลย

(๓) สารีบุตรผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่


ผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก

(๔) บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
พวกหนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน

พวกที่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนนั้น และญาณของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนย่อมแตกฉาน

บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งเป็นพหูสูต
พวกหนึ่งไม่ได้เป็นพหูสูต

พวกที่เป็นพหูสูตเป็นพวกที่ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ได้เป็นพหูสูตนั้น และญาณของบุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้นย่อมแตกฉาน

บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งมากด้วยเทศนา
พวกหนึ่งไม่มากด้วยเทศนา

พวกที่มากด้วยเทศนาเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่มากด้วยเทศนานั้น และญาณของบุคคลผู้มากด้วยเทศนานั้นย่อมแตกฉาน

บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งอาศัยครู
พวกหนึ่งไม่อาศัยครู

พวกที่อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่อาศัยครูนั้น และญาณของบุคคลผู้อาศัยครูนั้นย่อมแตกฉาน

บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก และพวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งมีวิหารธรรมมาก
พวกหนึ่งมีวิหารธรรมไม่มาก

พวกที่มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีวิหารธรรมไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีวิหารธรรมมากนั้นย่อมแตกฉาน

บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งมีการพิจารณามาก
พวกหนึ่งมีการพิจารณาไม่มาก

พวกที่มีการพิจารณามาก เป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีการพิจารณาไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีการพิจารณามากนั้นย่อมแตกฉาน

บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา
พวกหนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา

พวกที่เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทานั้น และญาณของพระอเสขะผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้นย่อมแตกฉาน

บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี
พวกหนึ่งไม่บรรลุสาวกบารมี

พวกที่บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่บรรลุสาวกบารมี และญาณของผู้บรรลุสาวกบารมีนั้นย่อมแตกฉาน

บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี
พวกหนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

พวกที่เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่บรรลุสาวกบารมีนั้น และญาณของผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นย่อมแตกฉาน

เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุถึงปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔ ทรงเป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ฯลฯ

เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหาเข้าไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ดังนี้


-----

ความรู้แตกฉานในอริยสัจ

() สัจจวาร ๗๗๘ ความรู้แตกฉานในทุกข์ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในทุกขสมุทัย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในเหตุ

() เหตุวาร ๗๗๙ ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในผลของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในธรรม

() ธรรมวาร ๗๘๐

ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ธรรมเหล่านั้น เกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว ด้วยธรรมเหล่าใด ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในปัจจยาการ

() ปัจยาการวาร ๗๘๑-๗๘๒ ความรู้แตกฉานในชรามรณะ ในชาติ ในภพ ในอุปาทาน ในตัณหา ในเวทนา ในผัสสะ ในสฬายตนะ ในนามรูป ในวิญญาณ ในสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในเหตุเกิดแห่งชรามรณะ เหตุเกิดแห่งชาติ เหตุเกิดแห่งภพ เหตุเกิดแห่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งตัณหา เหตุเกิดแห่งเวทนา เหตุเกิดแห่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งสฬายตนะ เหตุเกิดแห่งนามรูป เหตุเกิดแห่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในความดับแห่งชรามรณะ ความดับแห่งชาติ ความดับแห่งภพ ความดับแห่งอุปาทาน ความดับแห่งตัณหา ความดับแห่งเวทนา ความดับแห่งผัสสะ ความดับแห่งสฬายตนะ ความดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณ ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขารทั้งหลาย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในปริยัติ

() ปริยัติธรรมวาร ๗๘๓

ความรู้แตกฉานซึ่งธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ นี้เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในกามาวจรกุศลจิต ๘ (ขยาย)

() อภิธรรมภาชนีย์ กามาวจรกุศลจิต ๘ ข้อ ๗๘๔

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศลความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์  มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในรูปาวจรกุศลจิต (ขยาย)

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ควาวมรู้แตกฉานในอรูปาวจรกุศลจิต (ขยาย)

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้นธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้นชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ควาวมรู้แตกฉานในโลกุตตรกุศลจิต (ขยาย)

โยคาวจรบุคคลเจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหารทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอกุศลจิต ๑๒

อภิธรรมภาชนีย์ () ข้อที่ ๗๘๕

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ  เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
   

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัสสัมปยุตด้วยปฏิฆะ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นอกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอเหตุกกุศลวิบากจิต

อภิธรรมภาชนีย์ () ข้อที่ ๗๘๖

จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่าญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

โสตวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ

ฆานวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ

ชิวหาวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขามีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ

กายวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น

เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ สุขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัย
นั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

มโนธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรม เป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ  เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่าญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้นชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณมีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ .. เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัสวิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอรูปาวจรวิบากจิต

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลผู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในโลกุตตรวิบากจิต

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอกุศลวิบากจิต ๗

จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

โสตวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ

ฆานวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ

ชิวหาวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ

กายวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น

เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

มโนธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา  มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอเหตุกกิริยาจิต ๓

วิภังคปกรณ์ ข้อที่ ๗๘๗-๗๘ ()

มโนธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือ
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น  ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส  มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์  มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น แม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในกิริยาจิต ๓ ประเภท

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ ย่อมเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ ย่อมเจริญรูปาวจรฌาน อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง  จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทา ๓ ย่อมเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกิริยา ๔ ดวง

อัตถปฏิสัมภิทาย่อมเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้ด้วย ย่อมเกิดในมรรค ๔ ผล ๔ ด้วย

 

() ปฏิสัมภิทาญาณเป็นอย่างไร คือ

ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

สัทธินทรีย์ชื่อว่าธรรม
วิริยินทรีย์ชื่อว่าธรรม
สตินทรีย์ชื่อว่าธรรม
สมาธินทรีย์ชื่อว่าธรรม
ปัญญินทรีย์ชื่อว่าธรรม
สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ

สภาวะที่น้อมไปชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่เข้าไปตั้งไว้ชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่น้อมไปเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่เข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ

การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ
ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ

ญาณในธรรม ๕ ประการ
ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง
ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง
ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

สัทธาพละชื่อว่าธรรม
วิริยพละชื่อว่าธรรม
สติพละชื่อว่าธรรม
สมาธิพละชื่อว่าธรรม
ปัญญาพละชื่อว่าธรรม
สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สมาธิพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่างๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ

สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ

การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ
ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ

ญาณในธรรม ๕ ประการ
ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง
ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง
ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม
วิริยสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าธรรม
ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม
สมาธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม
สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ธัมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ

สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่เลือกเฟ้นชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่แผ่ซ่านชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่สงบชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่พิจารณาชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ตั้งมั่นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่เลือกเฟ้นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่แผ่ซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่สงบเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่พิจารณาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ

การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ
ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง
อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ

ญาณในธรรม ๗ ประการ
ญาณในอรรถ ๗ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๔ ประการ
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง
ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง
ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

สัมมาทิฏฐิชื่อว่าธรรม
สัมมาสังกัปปะชื่อว่าธรรม
สัมมาวาจาชื่อว่าธรรม
สัมมากัมมันตะชื่อว่าธรรม
สัมมาอาชีวะชื่อว่าธรรม
สัมมาวายามะชื่อว่าธรรม
สัมมาสติชื่อว่าธรรม
สัมมาสมาธิชื่อว่าธรรม
สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาวาจาเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมากัมมันตะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาอาชีวะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาวายามะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาสติเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาสมาธิเป็นธรรมอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ

สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ตรึกตรองชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่กำหนดไว้ชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่เป็นสมุฏฐานชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ผ่องแผ้วชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ตรึกตรองเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่กำหนดไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่เป็นสมุฏฐานเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ผ่องแผ้วเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ตั้งมั่นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประการ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ
ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง
อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ

ญาณในธรรม ๘ ประการ
ญาณในอรรถ ๘ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๖ ประการ
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง
ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง
ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

 

 

 

อ้างอิง:
(๑) ปฏิสัมภิทาวิภังค์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๗๗
(๒) ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๓๕
(๒) ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๓๖
(๓) โสฬสปัญญานิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๘
 
()ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๗๖-๗๗
 
 
---
ปฏิสัมภิทาวิภังค์ 
(๑) สุตตันตภาชนีย์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๗๗ หน้า ๓๖๐
(๒) ปเภทวาร ๕ สัจจวาร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๗๘ หน้า ๓๖๐
(๓) ปเภทวาร ๕ เหตุวาร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๗๙ หน้า ๓๖๑
(๔) ปเภทวาร ๕ ธรรมวาร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๘๐ หน้า ๓๖๑
(๕) ปเภทวาร ๕ ปัจจยาการวาร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๘๑-๗๘๒ หน้า ๓๖๑-๓๖๒
(๖) ปริยัตติธรรมวาร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๘๓ หน้า ๓๖๒-๓๖๓
(๗) อภิธรรมภาชนีย์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๘๔ หน้า ๓๖๓-๓๖๖
(๘) พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๗๘๕ หน้า ๓๖๓-๓๖
 
---
 
 

คำต่อไป