(๑) เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร
เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร
ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูป โดยความเป็นรูป
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ
ก็สังขารเป็นไฉน
(๒) สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร
(๓) ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ชื่อว่ากายสังขาร
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร
วิตกวิจารชื่อว่า วจีสังขาร
บุคคลย่อมตรึกตรองก่อน แล้วจึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร
สัญญาและเวทนาชื่อว่า จิตตสังขาร
สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร
(๔) สังขาร ๓ อย่าง
๑. ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารคือบุญ)
๒. อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารคือบาป)
๓. อเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารคืออเนญชา)
(๕) สังขาร ๖
ก็สังขารเป็นไฉน
เจตนา ๖ หมวดนี้ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา นี้เรียกว่าสังขาร
ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สังมากัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ยิ่งซึ่งสังขารอย่างนี้
รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้
รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งสังขารอย่างนี้
รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
(๖) สังขารเป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น
สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ
สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารเป็นไฉน
กุศลเจตนาเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขารเป็นไฉน
อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขารเป็นไฉน
กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารเป็นไฉน
กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร
วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร
มโนสัญเจตนา เป็นจิตตสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
(๗) สังขารเป็นภาระ
ภาระ ๓ อย่างคือ ขันธภาระ ๑ กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑
ขันธภาระเป็นไฉน
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่าขันธภาระ
กิเลสภาระเป็นไฉน
ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง นี้ชื่อว่ากิเลสภาระ
อภิสังขารภาระเป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่าอภิสังขารภาระ
(๘) อภิสังขารไม่มีแก่ผู้รู้แจ้ง
อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้นงดเว้นแล้ว (สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง) จากอภิสังขาร ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร
ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขารก็ดี อันบุคคลละ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้ง ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลายก็ไม่มีไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไปคือญาณ
ความเกิดขึ้นของสังขารเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
(๙) เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
(๑๐) ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งสังขาร นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งสังขาร นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ
(๑๑) อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าบัดนี้เราถูกสังขารกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกสังขารกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกสังขารปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้
ก็เรานี้แล พึงชื่นชมสังขารอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกสังขารกิน เหมือนกับที่ถูกสังขารปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้
เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในสังขารอดีต ย่อมไม่ชื่นชมสังขารอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสังขารในปัจจุบัน
สังขารทั้งที่รักที่ชัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
(๑๒) สังขารทั้งหลายเป็นที่รักเป็นไฉน
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ชื่อว่าเป็นที่รัก
สังขารทั้งหลายเป็นที่ชังเป็นไฉน
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ชื่อว่าเป็นที่ชัง
(๑๓) ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นเองไม่เที่ยง มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา
(๑๔) เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด
เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด
เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด
การระงับสังขารได้ เป็นสุข
(๑๕) สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข
(๑๓) เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมดับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) ย่อมดับ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ
เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมสงบ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมสงบ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) ย่อมสงบ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมสงบ
เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมสงบ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมสงบ
เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมสงบ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ
(๑๖) ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน
ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน
เครื่องหมายเป็นสังขาร ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน
ความประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพาน
ความสืบต่อเป็นสังขาร ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน
ความไปเป็นสังขาร ความไม่ไปเป็นนิพพาน
ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน
ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน
ความเกิดเป็นสังขาร ความไม่เกิดเป็นนิพพาน
ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน
ความป่วยไข้เป็นสังขาร ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน
ความตายเป็นสังขาร ความไม่ตายเป็นนิพพาน
ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน
ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน
ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน
(๑๗) มีสัมมาทิฏฐิเพราะรู้ชัดสังขาร เหตุเกิด ความดับ และปฏิปทาให้ถึงความดับ
เมื่อใดบุคคลรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขารเป็นไฉน
เหตุเกิดแห่งสังขารย่อมมี เพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด
ความดับสังขารย่อมมี เพราะอวิชชาดับ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันเทียว
(๑๘) สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือ สังขารอดีต สังขารอนาคต สังขารปัจจุบัน สังขารภายใน สังขารภายนอก สังขารหยาบ สังขารละเอียด สังขารทราม สังขารประณีต สังขารไกล สังขารใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสังขารขันธ์
ในสังขารขันธ์นั้น สังขารอดีต เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารอดีต
สังขารอนาคต เป็นไฉน
สังขารเหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารอนาคต
สังขารปัจจุบัน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารปัจจุบัน
สังขารภายใน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดของสัตว์นั้น ๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารภายใน
สังขารภายนอก เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารภายนอก
สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน
อกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ
กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารละเอียด
กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ
อัพยากตสังขารเป็นสังขารละเอียด
สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ
สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด
สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ
สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารละเอียด
สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารหยาบ
สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด
หรือพึงทราบสังขารหยาบสังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
สังขารทราม สังขารประณีต เป็นไฉน
อกุศลสังขารเป็นสังขารทราม
กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารประณีต
กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารทราม
อัพยากตสังขารเป็นสังขารประณีต
สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม
สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต
สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารทราม
สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารประณีต
สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารทราม
สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารประณีต
หรือพึงทราบสังขารทรามสังขารประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
สังขารไกล เป็นไฉน
อกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร
กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขาร
กุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร
อกุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขาร
อัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอกุศลสังขาร
กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอัพยากตสังขาร
สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา
สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ
สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่าสังขารไกล
สังขารใกล้ เป็นไฉน
อกุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับอกุศลสังขาร
กุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับกุศลสังขาร
อัพยากตสังขารเป็นสังขารใกล้กับอัพยากตสังขาร
สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้าสมาบัติ
สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่า สังขารใกล้ หรือพึงทราบสังขารไกลสังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
(๑๙) ลักษณะแห่งความเกิดขึ้น แปรไป ของสังขาร
สังขารที่เกิดแล้ว เป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่งสังขารนั้น ชื่อว่าความเกิดขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งสังขารนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์ โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
๑. เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด
๒. เพราะตัณหาเกิด สังขารจึงเกิด
๓. เพราะกรรมเกิด สังขารจึงเกิด
๔. เพราะผัสสะเกิด สังขารจึงเกิด
๕. แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งสังขารขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งสังขารขันธ์ โดยความดับแห่งปัจจัยว่า
๑. เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
๒. เพราะตัณหาดับ สังขารจึงดับ
๓. เพราะกรรมดับ สังขารจึงดับ
๔. เพราะผัสสะดับ สังขารจึงดับ
๕. แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งสังขารขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งสังขารขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งสังขารขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
อ้างอิง:
(๑๗) สัมมาทิฏฐิสูตร พระไตรปิฎ กฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๑๒๗ หน้า ๗๐
(๑๘) ขันธวิภังค์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๒๐-๒๕ หน้า ๙-๑๑