(๑) อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
(๒) สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน สงบไปโดยพลัน
(๓) สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์
(๔) สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
(๕) สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย
(๖) สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ
(๗) สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
(๘) พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก
ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายว่า พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก
อานาปานสติเป็นธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคต
ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบพึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง
อานาปานสติเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะของพระเสขะ
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
อานาปานสติเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขและเพื่อสติสัมปชัญญะของพระอรหันต์
ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะ
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้สุข หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้สุข หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้จิต หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักตั้งจิตให้มั่น หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักตั้งจิตให้มั่น หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิท หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิท หายใจเข้า
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจเข้า
(๙) การเจริญอานาปานสติในกายคตาสติเพื่อละความดำริพล่าน
ก็กายคตาสติอัน ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ
(๑๐) การเจริญอานาปานัสสติเพื่อระงับอาพาธ
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า
กาย
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจออก
จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจเข้า
จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก
จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เวทนา
จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
จักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
จักกำหนดรู้สุข หายใจออก
จักกำหนดรู้สุข หายใจเข้า
จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก
จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า
จักระงับจิตตสังขาร หายใจออก
จักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
จิต
จักกำหนดรู้จิต หายใจออก
จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า
จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
จักตั้งจิตให้มั่น หายใจออก
จักตั้งจิตให้มั่น หายใจเข้า
จักเปลื้องจิต หายใจออก
จักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ธรรม
จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า
จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก
จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า
จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิท หายใจออก
จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิท หายใจเข้า
จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืน หายใจออก
จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า
(๑๑) การเจริญอานาปานัสสติเพื่อเห็นกายในกายในสติปัฏฐาน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
นายช่างกลึง หรือ ลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น ฉันนั้น
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
(๑๒) อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ
เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่ออยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
เพราะเหตุนั้นแหละ
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า กายของเรา ไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิให้ดี
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสละความระลึกและความดำริของเราที่อาศัยเรือนนั้นเสีย ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิให้ดี
ถ้าแภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูลและในสิ่งปฏิกูลว่าปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย แล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุปฐมฌาน ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุตติยฌาน ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุถฌาน ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
เมื่ออานาปานสติสมาธิอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เมื่อเธอเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็นเพราะสิ้นชีวิต
(๑๓) ถ้าภิกษุเจริญอานาปานสติแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งอานาปานสตินั้นเล่า
อ้างอิง :
(๒) เวสาลีสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๓๕๒-๑๓๕๕ หน้า ๓๒๗-๓๒๘
(๓) อานันทสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๓๘๑ หน้า ๓๓๖
(๕) อนุสยสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๔๐๘ หน้า ๓๔๒
(๖) อัทธานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๔๐๙ หน้า ๓๔๒
(๗) อาสวักขยสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๔๑๐ หน้า ๓๔๒
(๙) กายคตาสติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๒๙๔ หน้า๑๖๑-๑๖๒
(๑๑) สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๑๓๓ หน้า ๗๓-๗๔
(๑๒) ทีปสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๓๒๙-๑๓๔๖ หน้า ๓๒๔-๓๒๖