(๑) เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (ฌาณ ๘) คือ หนึ่งใน อรูปฌาณ ๔ (ฌาณมีอรูปเป็นอารมณ์)
(๒) ภิกษุในพระธรรมวินัย นี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เมื่ออยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะฟุ้งซ่าน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า อย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
(๓) เป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่
(๔) แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
(๕) เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้ว ออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ
(๖) เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้ว
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้ว
(๓) อนุปทสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๑๖๒ หน้า ๙๔
(๕) ฌาณสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๔๐ หน้า ๓๔๕
(๖) วิหารสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๓๗ หน้าที่ ๓๓๕