Main navigation
มัชฌิมาปฏิปทา
Share:

(๑) มัชฌิมาปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างคือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน

ปฏิปทาสายกลางที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑

(๒) ก็มัชฌิมาปฏิปทาเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น ไม่เสื่อมสูญ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทะสมาธิและปธานสังขารเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

เจริญสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

เจริญสัทธาพละ วิริยพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ

เจริญสติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

เจริญสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ

นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา 

(ดู อาคาฬหปฏิปทา นิชฌามปฏิปทา)

อ้างอิง:
(๑) ธัมจักรกัปปวัตนสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๔ ข้อที่ ๑๓ หน้า ๑๖

คำต่อไป