(๑) โมหาคติ เป็น ๑ ใน อคติ ๔
(๒) คำว่า ไม่พึงถึง โมหาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโมหาคติ ถึงอย่างไร
ภิกษุเป็นผู้กำหนัด ย่อมถึงด้วยอำนาจความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคืองย่อมถึงด้วยอำนาจความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมถึงด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้ลูบคลำ ย่อมถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ
ภิกษุเป็นผู้หลง งมงาย ถูกโมหะครอบงำ
ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม
แสดงอวินัยว่าวินัย แสดงวินัยว่าอวินัย
แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต ว่าพระตถาคตตรัสภาษิตแล้ว
แสดงสิ่งที่พระตถาคตตรัสภาษิตแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต
แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว
แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา
แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติว่าพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว
แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติ
แสดงอนาบัติว่าอาบัติ แสดงอาบัติว่าอนาบัติ
แสดงอาบัติเบาว่าอาบัติหนัก แสดงอาบัติหนักว่าอาบัติเบา
แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าอาบัติมีส่วนเหลือ
แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ
แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ
แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ถึงโมหาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
ภิกษุผู้ถึงโมหาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสพบาปมิใช่บุญมาก
ภิกษุเมื่อถึงโมหาคติ ย่อมถึงอย่างนี้