ทางแห่งการบรรลุสุขอันไพบูลย์
สมัยหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ได้มีงานนักษัตร พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม เอาเถ้าและโคมัยทาร่างกาย เที่ยวกล่าววาจาของอสัตบุรุษไปตลอด ๗ วัน ชนทั้งหลายไม่อาจฟังอสัปปุริสวาทของพวกเขาได้ จึงส่งทรัพย์ให้กึ่งบาทบ้าง บาทหนึ่งบ้าง กหาปณะหนึ่งบ้าง ตามกำลัง พวกเขาได้ทรัพย์แล้วก็หลีกไป
ในกาลนั้น พระนครสาวัตถีมีอริยสาวกประมาณ ๕ โกฏิ ท่านเหล่านั้นส่งข่าวไปถวายพระศาสดาว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ อย่าเสด็จเข้าไปสู่พระนคร จงประทับอยู่แต่ในพระวิหารตลอด ๗ วัน
เมื่องานนักษัตรเสร็จสิ้นลงแล้ว อริยสาวกเหล่านั้นนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้เสด็จเข้าไปยังพระนคร ถวายทานใหญ่ นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลว่า
๗ วันของพวกตนล่วงไปได้โดยยากอย่างยิ่ง เมื่อได้ยินวาจามิใช่ของสัตบุรุษของพวกพาล หูทั้งสองเป็นประหนึ่งจะแตกทำลาย เพราะเหตุนั้น จึงไม่ปรารถนาให้พระองค์เสด็จเข้ามาภายในพระนคร
พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของอริยสาวกเหล่านั้นแล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งความประมาท
ส่วนผู้มีปัญญา ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ
ท่านทั้งหลายอย่าตามประกอบความประมาท
อย่าตามประกอบความเชยชิดด้วยความยินดีในกาม
เพราะว่า ผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุสุขอันไพบูลย์
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมากได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น
คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรค
อรรถกถา พาลนักษัตร
พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระสงฆ์
อานนทธรรม
พระสงฆ์
ธรรมอันลึกซึ้ง
พระสงฆ์
ฤทธิธรรม
พระสงฆ์
ธรรมปัญญา
พระสงฆ์
มหาบุรุษ - มหาสตรี
พระสงฆ์
มหาเถรธรรม
พระสงฆ์
อารยธรรมบท