Main navigation

คำบูชาพระรัตนตรัย (สวดเฉพาะบาลี)

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, 
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์


บทนมัสการพระพุทธเจ้า (สวดเฉพาะบาลี)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, 
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
  

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, 
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง


บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ (สวดเฉพาะบาลี)

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
สัตถา เทวะมะ นุสสานัง,  พุทโธ ภะคะวา ติ

แม้เพราะเหตุนั้น,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี (คือ ไปที่ใดยังประโยชน์ให้ที่นั้น)
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

สวากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม, 
สันทิฏฐิโก,  อะกาลิโก,  เอหิปัสสิโก, 
โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ

พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย,
ทักขิเณยโย, อัญชะลีกะระณีโย,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา..ติ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่
นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (คือพระอริยบุคคล ๘) นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

วันอาทิตย์

คำขอขมาพระรัตนตรัย

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
พุทโธ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,
ด้วยกายก็ดี, ด้วยวาจาก็ดี, ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใด, ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระพุทธเจ้า
ขอพระพุทธเจ้า, จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อการสำรวมระวังในพระพุทธเจ้า, ในกาลต่อไป

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม,
ด้วยกายก็ดี, ด้วยวาจาก็ดี, ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใด, ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม
ขอพระธรรม, จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรม, ในกาลต่อไป

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ,
ด้วยกายก็ดี, ด้วยวาจาก็ดี, ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใด, ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์
ขอพระสงฆ์, จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อการสำรวมระวังในพระสงฆ์, ในกาลต่อไป


บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,  มีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,
ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ

อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม

อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อะโรคา โหนตุ 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

วันจันทร์

บทบูชาพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ (สวดเฉพาะบาลี)

นะโม เม สัพพะพุทธานัง
อุปปันนานัง มะเหสินัง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ซึ่งได้อุบัติแล้ว คือ

ตัญหังกะโร มะหาวีโร
เมธังกะโร มะหายะโส
พระตัณหังกรผู้กล้าหาญ
พระเมธังกรผู้มียศใหญ่

สะระณัง กะโร โลกะหิโต
ทีปังกะโร ชุตินธะโร
พระสรณังกรผู้เกื้อกูลต่อชาวโลก
พระทีปังกรผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง

โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข
มังคะโล ปุริสาสะโภ
พระโกณฑัญญะผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
พระมังคละผู้เป็นบุรุษประเสริฐ

สุมะโน สุมะโน ธีโร
เรวะโต ระติวัฑฒะโน
พระสุมนะผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม
พระเรวะตะผู้เพิ่มพูนความยินดี

โสภีโต คุณะสัมปันโน
อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
พระอโนมทัสสีผู้สูงสุดอยู่ในหมู่ชน

ปะทุโม โลกะปัชโชโต
นาระโท วะระ สาระถี
พระปทุมะผู้ทำให้โลกสว่าง
พระนารทะผู้เป็นสารถีประเสริฐ

ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร
สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
พระปทุมุตตระผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
พระสุเมธะผู้หาบุคคลเปรียบมิได้

สุชาโต สัพพะโลกัคโค
ปิยะทัสสี นะราสะโภ
พระสุชาตะผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
พระปิยทัสสีผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน

อัตถะทัสสี การุณิโก
ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
พระอัตถทัสสีผู้มีพระกรุณา
พระธรรมทัสสีผู้บรรเทาความมืด

สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
พระสิทธัตถะผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
พระติสสะผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ
วิปัสสี จะ อะนูปะโม
พระปุสสะผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
พระวิปัสสสีผู้ที่หาเปรียบมิได้

สิขี สัพพะหิโต สัตถา
เวสสะภู สุขะทายะโก
พระสิขีผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
พระเวสสภูผู้ประทานความสุข

กะกุสันโธ สัตถะวาโห
โกนาคะมะโน ระณัญ ชะโห
พระกกุสันโธผู้นำสัตว์ออกจากสันดานตัวกิเลส
พระโกนาคมนะผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส

กัสสะโป สิริสัมปันโน
โคตะโม ศากยะปุงคะโว
พระกัสสปะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
พระโคตมะผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช

เตสาหัง สิระสา ปาเท,
วันทามิ ปุริสุตตะเม, 
วะจะสา มะนะสา เจวะ,
วันทาเมเต ตะถาคะเต, 
สะยะเน อาสะเน ฐาเน,
คะมะเน จาปิ สัพพะทา
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระบาท
ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า
ผู้เป็นบุรุษอันสูงสุด ผู้เป็นตถาคต
ด้วยวาจาและใจทีเดียว
ทั้งในที่นอน ในที่นั่ง ในที่ยืน
และแม้ในที่เดินด้วยในกาลทุกเมื่อ


บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,  มีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,
ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ

อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม

อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อะโรคา โหนตุ 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

วันอังคาร

บทโอวาทปาติโมกขคาถา

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, 
การไม่ทำบาปทั้งปวง;

กุสะลัสสูปะสัมปะทา,
การทำกุศลให้ถึงพร้อม;

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,
การชำระจิตของตนให้ผ่องใส;

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,
ธรรม ๓ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,
ขันติ คือความอดกลั้น, เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง;

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,
ผู้รู้ทั้งหลาย, กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง;

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่, ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย;

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต,
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่, ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย;

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต, 
การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย;

ปาติโมกเข จะ สังวะโร, 
การสำรวมในปาติโมกข์;

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง,
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค;

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด;

อะธิจิตเต จะ อาโยโค,
การหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง;

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,
ธรรม ๖ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,  มีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,
ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ

อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม

อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อะโรคา โหนตุ 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

วันพุธ

กุศลกรรมบถ: มาตรฐานของมนุษย์

ข้าพเจ้า,  ขอสมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ,  เป็นมาตรฐานคุณภาพชีวิตดังนี้,

๑.    ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง,  ไม่ยุให้ผู้อื่นฆ่า,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักฆ่าสัตว์,

๒.  ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่น,  โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเอง,  ไม่ยุให้ผู้อื่นถือเอา, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักถือเอาของของเขา

๓.   ไม่ละเมิดบุตรและภรรยาของผู้อื่น,  ไม่ยุให้ผู้อื่นละเมิด,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักละเมิด,

๔.   ไม่พูดวาจาที่ไม่มีความจริง,  ไม่ยุให้ผู้อื่นพูดวาจาที่ไม่มีความจริง,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพูดวาจาที่ไม่มีความจริง

๕.   ไม่พูดวาจาหยาบคาย,  ไม่ยุให้ผู้อื่นพูดวาจาหยาบคาย,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพูดวาจาหยาบคาย

๖.   ไม่พูดวาจาส่อเสียด,  ยุยงให้ผู้ใดแตกร้าวกัน,  ไม่ยุให้ผู้อื่นพูดวาจาส่อเสียด, ยุยงให้แตกร้าวกัน,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพูดวาจาส่อเสียด,  ยุยงให้แตกร้าวกัน

๗.   ไม่พูดวาจาเพ้อเจ้อ,  ไม่มีประโยชน์,  ไม่ยุให้ผู้อื่นพูดวาจาเพ้อเจ้อ,  ไม่มีประโยชน์,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพูดวาจาเพ้อเจ้อ,  ไม่มีประโยชน์

๘.   ไม่คิดเพ่งอยากได้  ในสิทธิ์ของผู้ใด,  ไม่ยุให้ผู้อื่นคิดเพ่งอยากได้,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักคิดเพ่งอยากได้

๙.   ไม่พยาบาทจองเวรผู้ใด,  ไม่ยุให้ผู้อื่นพยาบาท จองเวรผู้ใด,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพยาบาท จองเวรผู้ใด

๑๐. มีความเห็นตรงต่อสัมมาธรรม,  สัมมาปฏิปทา,  ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า,  ไม่มีจิตยินดีในมิจฉาธรรม,  ไม่ยุให้ผู้อื่นสมาทานมิจฉาธรรม,  และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักสมาทานมิจฉาธรรม  

กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้,  คือมาตรฐานคุณภาพชีวิตของข้าพเจ้า,  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,  มีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,
ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ

อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม

อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อะโรคา โหนตุ 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

วันพฤหัส

บทโพชฌงคปริตร

โพชฌังโค สะติสังขาโต, 
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ, สติสัมโพชฌงค์, ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์

วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ, 
โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
วิริยะสัมโพชฌงค์, ปีติสัมโพชฌงค์, ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา, 
สัตเตเต สัพพะทัสสินา
สมาธิสัมโพชฌงค์, และอุเบกขาสัมโพชฌงค์, ๗ ประการเหล่านี้

มุนินา สัมมะทักขาตา, 
ภาวิตา พะหุลีกะตา
เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า, ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง, ตรัสไว้ชอบแล้ว

สังวัตตันติ อะภิญญายะ, 
นิพพานายะ จะ โพธิยา
อันบุคคลเจริญแล้ว, กระทำให้มากแล้ว, ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง, เพื่อความตรัสรู้, และเพื่อนิพพาน

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, 
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ขอความสวัสดี, จงบังเกิดมีแก่ท่าน, ตลอดกาลทุกเมื่อ

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ, 
โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง,  
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา, 
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
ในสมัยหนึ่ง, พระโลกนาถเจ้า, ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ, และพระมหากัสสปะ, เป็นไข้, ได้รับความลำบาก, จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ, ให้ท่านทั้งสองฟัง

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา, 
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
ท่านทั้งสองนั้น, ชื่นชมยินดียิ่ง, ซึ่งโพชฌังคธรรม, โรคก็หายได้ในบัดดล

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, 
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ขอความสวัสดี, จงบังเกิดมีแก่ท่าน, ตลอดกาลทุกเมื่อ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ, 
เคลัญเญนาภิปีฬิโต,  
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ, 
ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
ในครั้งหนึ่ง, องค์พระธรรมราชาเอง, (พระพุทธเจ้า), ทรงประชวรเป็นไข้หนัก, รับสั่งให้พระจุนทะเถระ, กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแล, ถวายโดยเคารพ

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา, 
ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย, หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, 
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ขอความสวัสดี, จงบังเกิดมีแก่ท่าน, ตลอดกาลทุกเมื่อ

ปะฮีนา เต จะ อาพาธา, 
ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
ก็อาพาธทั้งหลายนั้น, ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่, ทั้ง ๓ องค์นั้น, หายแล้วไม่กลับเป็นอีก

มัคคาหะตะกิเลสาวะ, 
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
ดุจดังกิเลส, ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว, ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, 
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ขอความสวัสดี, จงบังเกิดมีแก่ท่าน, ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ


บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,  มีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,
ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ

อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม

อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อะโรคา โหนตุ 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

วันศุกร์

ภัทเทกรัตตคาถา

อะตีตัง นานฺวาคะเมยยะ, 
นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง,
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่ควรพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง;

ยะทะตีตัมปะหีนันตัง, 
อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง,
สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว,  สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มา;

ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง, 
ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง, 
ตัง วิทธา มะนุพฺรูหะเย,
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง, ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้;

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง, 
โกชัญญา มะระณัง สุเว,
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้,
ใครเล่าจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้;

นะ หิ โน สังคะรันเตนะ, 
มะหาเสเนนะ มัจจุนา,
เพราะการผลัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก, ย่อมไม่มีสำหรับเรา;

เอวัง วิหาริมาตาปิง, 
อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ, 
สันโต อาจิกขะเต มุนีติ,
พระมุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่อย่างนี้, ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนว่า, ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียวก็เจริญ;


บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,  มีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,
ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ

อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม

อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อะโรคา โหนตุ 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

วันเสาร์

บทพิจารณาสังขาร

สัพเพ สังขารา อะนิจจา
สังขารคือร่างกายจิตใจ,
แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น, มันไม่เที่ยง,  เกิดขึ้นแล้วดับไป,  มีแล้วหายไป

สัพเพ สังขารา ทุกขา
สังขารคือร่างกายจิตใจ,
แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น, มันเป็นทุกข์ทนยาก, เพราะเกิดขึ้นแล้ว, แก่เจ็บตายไป

สัพเพ ธัมมา อะนัตตา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง, ทั้งที่เป็นสังขาร, แลมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเราว่าของเรา, ว่าตัวว่าตนของเรา

อะธุวัง ชีวิตัง, 
ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน

ธุวัง มะระณัง, 
ความตายเป็นของยั่งยืน

อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง, 
อันเราจะพึงตายเป็นแน่

มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง, 
ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ

ชีวิตัง เม อะนิยะตัง, 
ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง

มะระณัง เม นิยะตัง, 
ความตายของเราเป็นของเที่ยง

วะตะ, 
ควรที่จะสังเวช

อะยัง กาโย, 
ร่างกายนี้

อะจิรัง, 
มิได้ตั้งอยู่นาน

อะเปตะวิญญาโน, 
ครั้นปราศจากวิญญาณ

ฉุฑโฑ, 
อันเขาทิ้งเสียแล้ว

อะธิเสสะติ, 
จักนอนทับ

ปะฐะวิง, 
ซึ่งแผ่นดิน

กะลิงคะรัง อิวะ, 
ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน

นิรัตถัง, 
หาประโยชน์มิได้

อะนิจจา วะตะ สังขารา, 
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

อุปปาทะวะยะธัมมิโน, 
มีความเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ, 
ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

เตสัง วูปะสะโม สุโข, 
ความเข้าไปสงบระงับสังขารทั้งหลาย,  เป็นสุขอย่างยิ่ง,  ดังนี้


บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,  มีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,
ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ

อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม

อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อะโรคา โหนตุ 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

สมาทานกรรมฐาน

ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานดังนี้

ข้าพเจ้าขอน้อมถวายปฏิบัติบูชา, แด่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์, พระนิพพานธรรมอันบริสุทธิ์, และพระอรหันตาจารย์เจ้าทุกท่าน, ด้วยการเจริญสมถะ, วิปัสสนา, วิราคะกรรมฐาน, 

ข้าพเจ้าจักปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง, ตรงต่อศีล, สติ, สมาธิ, ปัญญา, ขออาราธนาพระพุทธานุภาพ, พระธรรมานุภาพ, พระสังฆานุภาพ, และบุญบารมีของข้าพเจ้า, เพื่อเจริญอุปสมานุสติ, เข้าถึงกระแสธรรมแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ