Main navigation

...ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า

ธรรมนี้แลอันพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว

พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น เพื่อพรหมจรรย์นี้จักยั่งยืนตั้งอยู่นาน เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ

 

เรียบเรียงจาก:
สังคีติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๒๒๑-๓๖๓
ดาวน์โหลด e-book พระธรรมรวบยอด

 

ธรรมหมวด ๑

สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร

สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะสังขาร

ธรรมหมวด ๒

ธรรม ๒ คือ

นาม ๑
และรูป ๑

อวิชชา ๑
และภวตัณหา ๑

ภวทิฐิ ๑
และวิภวทิฐิ ๑

ความไม่ละอาย ๑
และความไม่เกรงกลัว ๑

ความละอาย ๑
และความเกรงกลัว ๑

ความเป็นผู้ว่ายาก ๑
และความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑

ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
และความเป็นผู้มีมิตรดี ๑

ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ ๑
และความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑

ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ๑
และความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑

ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑
และความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑

ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ๑
และความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑

ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เป็นได้ ๑
และความเป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เป็นไปไม่ได้ ๑

การกล่าววาจาอ่อนหวาน ๑
และการต้อนรับ ๑

ความไม่เบียดเบียน ๑
และความสะอาด ๑

ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑
และความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ๑

สติ ๑
และสัมปชัญญะ ๑

ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑

ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
และความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑

กำลังที่เกิดแต่การพิจารณา ๑
และกำลังที่เกิดแต่การอบรม ๑

กำลังคือสติ ๑
และกำลังคือสมาธิ ๑

สมถะ ๑
และวิปัสสนา ๑

นิมิตที่เกิดเพราะสมถะ ๑
และนิมิตที่เกิดเพราะความเพียร ๑

ความเพียร ๑
และความไม่ฟุ้งซ่าน ๑

ความวิบัติแห่งศีล ๑
และความวิบัติแห่งทิฐิ ๑

ความถึงพร้อมแห่งศีล ๑
และความถึงพร้อมแห่งทิฐิ ๑

ความหมดจดแห่งศีล ๑
และความหมดจดแห่งทิฐิ ๑

ความหมดจดแห่งทิฐิ ๑
และความเพียรของผู้มีทิฐิ ๑

ความสลดใจ ๑
ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจแล้วในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ๑

ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมอันเป็นกุศล ๑
และความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการตั้งความเพียร ๑

วิชชา ๑
และวิมุตติ ๑

ญาณในความสิ้นไป ๑
และญาณในความไม่เกิด ๑

ธรรมหมวด ๓

อกุศลมูล ๓  คือ

๑. โลภะ
๒. โทสะ
๓. โมหะ

กุศลมูล ๓ คือ

๑. อโลภะ
๒. อโทสะ
๓. อโมหะ

ทุจริต ๓ คือ

๑. กายทุจริต 
๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต

สุจริต ๓ คือ

๑. กายสุจริต
๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต

อกุศลวิตก ๓ คือ

๑. ความวิตกในกาม
๒. ความวิตกในพยาบาท
๓. ความวิตกในการเบียดเบียน

กุศลวิตก ๓ คือ
๑. ความวิตกในการออกจากกาม
๒. ความวิตกในความไม่พยาบาท
๓. ความวิตกในทางไม่เบียดเบียน

อกุศลสังกัปปะ ๓ คือ

๑. ความดำริในทางกาม
๒. ความดำริในทางพยาบาท
๓. ความดำริในทางเบียดเบียน

กุศลสังกัปปะ ๓ คือ

๑. ความดำริในทางออกจากกาม
๒. ความดำริในทางไม่พยาบาท
๓. ความดำริในทางไม่เบียดเบียน

อกุศลสัญญา ๓ คือ

๑. ความจำได้ในทางกาม
๒. ความจำได้ในทางพยาบาท
๓. ความจำได้ในทางเบียดเบียน

กุศลสัญญา ๓ คือ

๑. ความจำได้ในทางออกจากกาม
๒. ความจำได้ในทางไม่พยาบาท
๓. ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน

อกุศลธาตุ ๓ คือ

๑. กามธาตุ
๒. พยาปาทธาตุ
๓. วิหิงสาธาตุ 

กุศลธาตุ ๓ คือ

๑. เนกขัมมธาตุ
๒. อัพยาปาทธาตุ
๓. อวิหิงสาธาตุ 

ธาตุอีก ๓ คือ

๑. กามธาตุ
๒. รูปธาตุ
๓. อรูปธาตุ

ธาตุอีก ๓ คือ

๑. รูปธาตุ
๒. อรูปธาตุ
๓. นิโรธธาตุ

ธาตุอีก ๓ คือ

๑. ธาตุอย่างเลว
๒. ธาตุอย่างกลาง
๓. ธาตุอย่างประณีต

ตัณหา ๓ คือ

๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา

ตัณหาอีก ๓ คือ

๑. กามตัณหา
๒. รูปตัณหา
๓. อรูปตัณหา

ตัณหาอีก ๓ คือ

๑. ตัณหาในรูป
๒. ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป
๓. ตัณหาในความดับสูญ

สัญโญชน์ ๓ คือ

๑. ความเห็นว่าเป็นตัวตน
๒. ความลังเลสงสัย
๓. ความเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ด้วยศีลพรต

อาสวะ ๓ คือ

๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. อวิชชาสวะ

ภพ ๓ คือ

๑. กามภพ
๒. รูปภพ
๓. อรูปภพ

เอสนา ๓ คือ

๑. การแสวงหากาม
๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์

วิธา การวางท่า ๓ คือ

๑. ถือว่าตัวประเสริฐกว่าเขา
๒. ถือว่าตัวเสมอกับเขา
๓. ถือว่าตัวเลวกว่าเขา

อัทธา ๓ คือ

๑. กาลที่เป็นส่วนอดีต
๒. กาลที่เป็นส่วนอนาคต
๓. กาลที่เป็นปัจจุบัน

อันตะ ๓ คือ

๑. ส่วนที่ถือว่าเป็นตน
๒. ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดตน
๓. ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับตน

เวทนา ๓ คือ

๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา

ทุกขตา ๓ คือ

๑. ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์
๒. ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร
๓. ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน

ราสี ๓ คือ

๑. ความผิดที่แน่นอน
๒. ความถูกที่แน่นอน
๓. ความไม่แน่นอน

กังขา ๓ คือ

๑. ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนาน ๆ สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
๒. ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนาน ๆ สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส 
๓. ปรารภกาลปัจจุบัน ทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส

ข้อที่ไม่ต้องรักษาของพระตถาคต ๓ คือ

๑. กายสมาจารบริสุทธิ์
๒. วจีสมาจารบริสุทธิ์
๓. มโนสมาจารบริสุทธิ์

กิญจนะ ๓ คือ

๑. เครื่องกังวลคือ ราคะ
๒. เครื่องกังวลคือ โทสะ 
๓. เครื่องกังวลคือ โมหะ

อัคคี ๓ คือ

๑. ไฟ คือ ราคะ  
๒. ไฟ คือ โทสะ  
๓. ไฟ คือ โมหะ

อัคคีอีก ๓ คือ

๑. ไฟ คือ อาหุเนยยบุคคล
๒. ไฟ คือ ทักขิเณยยบุคคล
๓. ไฟ คือ คฤหบดี

รูปสังคหะ ๓ คือ

๑. รูปที่เห็น และกระทบใจ
๒. รูปที่ไม่เห็น แต่กระทบใจ
๓. รูปที่ไม่เห็น และไม่กระทบใจ

สังขาร ๓ คือ

๑. อภิสังขาร คือ บุญ
๒. อภิสังขาร คือ บาป
๓. อภิสังขาร คือ อเนญชา (ความสงบยิ่ง)

บุคคล ๓ คือ

๑. บุคคลผู้ยังต้องเพียรศึกษา
๒. บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษาแล้ว 
๓. บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่

เถระ ๓ คือ
๑. พระเถระโดยชาติ
๒. พระเถระโดยธรรม
๓. พระเถระโดยสมมติ

ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ คือ

๑. ทานมัย
๒. สีลมัย
๓. ภาวนามัย

เหตุสำหรับโจท ๓ คือ

๑. ด้วยได้เห็น
๒. ด้วยได้ยินได้ฟัง
๓. ด้วยความรังเกียจ

กามอุปบัติ ๓ คือ

๑. กามปรากฏ
๒. นิรมิตกาม
๓. ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว

สุขอุปบัติ ๓ คือ

๑. ยังความสุขให้เกิดขึ้น ๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุข เช่น พรหมกายิกา

๒. อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุข บางครั้งบางคราวเปล่งอุทานว่า สุขหนอ ๆ เช่น อาภัสสราพรหม

๓. อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขในสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น สุภกิณหาพรหม

ปัญญา ๓ คือ

๑. ปัญญาของพระเสขะ
๒. ปัญญาของพระอเสขะ 
๓. ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ของพระอเสขะก็ไม่ใช่

ปัญญาอีก ๓ คือ

๑. ปัญญาสำเร็จจากการฟัง
๒. ปัญญาสำเร็จจากการพิจารณา
๓. ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรมสมาธิ

อาวุธ ๓ คือ

๑. อาวุธ คือ การฟัง
๒. อาวุธ คือ ความสงัด
๓. อาวุธ คือ ปัญญา

อินทรีย์ ๓ คือ

๑. อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยตั้งใจรู้ธรรม
๒. อินทรีย์ คือ ความตรัสรู้
๓. อินทรีย์ คือ ความรู้ทั่วถึง

จักษุ ๓ คือ

๑. มังสจักขุ - ตาเนื้อ
๒. ทิพพจักขุ - ตาทิพย์
๓. ปัญญาจักขุ - ตาปัญญา

สิกขา ๓ คือ

๑. อธิศีลสิกขา
๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา

ภาวนา ๓ คือ

๑. กายภาวนา
๒. จิตตภาวนา
๓. ปัญญาภาวนา

อนุตตริยะ ๓ คือ 

๑. การเห็นที่ยอดเยี่ยม
๒. การปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม
๓. การหลุดพ้นที่ยอดเยี่ยม

สมาธิ ๓ คือ

๑. สมาธิที่ยังมีวิตก วิจาร
๒. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร 
๓. สมาธิที่ไม่มีวิตก วิจาร

สมาธิอีก ๓ คือ 

๑. สุญญตสมาธิ (จิตว่าง)
๒. อนิมิตตสมาธิ (จิตปราศจากนิมิต)
๓. อัปปณิหิตสมาธิ (จิตไม่มีทุกข์)

โสเจยยะ ๓ คือ

๑. ความสะอาดทาง กาย
๒. ความสะอาดทาง วาจา
๓. ความสะอาดทาง ใจ

โมเนยยะ ๓ คือ

๑. ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทาง กาย
๒. ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทาง วาจา
๓. ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทาง ใจ

โกสัลละ ๓ คือ

๑. ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่ง ความเจริญ
๒. ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่ง ความเสื่อม
๓.  ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่ง ความเจริญและความเสื่อม

มทะ ความเมา ๓ คือ

๑. ความเมาใน ความไม่มีโรค
๒. ความเมาใน ความเป็นหนุ่มสาว 
๓. ความเมาใน ชาติ

อธิปเตยยะ ๓ คือ

๑. อัตตาธิปไตย - ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปไตย - ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธัมมาธิปไตย - ความมีธรรมเป็นใหญ่

กถาวัตถุ ๓ คือ

๑. ปรารภกาลส่วน อดีต กล่าวถ้อยคำ
๒. ปรารภกาลส่วน อนาคต กล่าวถ้อยคำ
๓. ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคำ

วิชชา ๓ คือ

๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ - วิชชา คือความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้
๒. จุตูปปาตญาณ - วิชชา คือความรู้จักกำหนดจุติและอุปบัติ ของสัตว์ทั้งหลายตามกลไกกรรม
๓. อาสวักขยญาณ - วิชชา คือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

วิหารธรรม ๓ คือ

๑. ทิพยวิหาร - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพยดา
๒. พรหมวิหาร - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
๓. อริยวิหาร - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ

ปาฏิหาริยะ ๓ คือ

๑. อิทธิปาฏิหาริยะ - ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
๒. อาเทสนาปาฏิหาริยะ - ดักใจเป็นอัศจรรย์
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ - คำสอนเป็นอัศจรรย์

ธรรมหมวด ๔

สติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันทิฏฐิและตัณหาไม่อาศัยแล้ว

๒. เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันทิฏฐิและตัณหาไม่อาศัยแล้ว

๓. เห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันทิฏฐิและตัณหาไม่อาศัยแล้ว

๔. เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันทิฏฐิและตัณหาไม่อาศัยแล้ว

สัมมัปปธาน ๔ คือ

๑. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด

๒. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจเพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด

๔. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความตั้งมั่น จำเริญยิ่ง บริบูรณ์แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว

อิทธิบาท ๔ คือ

๑. เจริญอิทธิบาทด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทด้วย วิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทด้วย จิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทด้วย วิมังสาสมาธิปธานสังขาร

ฌาน ๔ คือ

๑. บรรลุ ปฐมฌาน สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

๒. บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

๓. บรรลุ ตติยฌาน มีอุเบกขา เพราะปีติสิ้นไป มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

๔. บรรลุ จตุตถฌาน เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

สมาธิภาวนา ๔ คือ

๑. สมาธิภาวนาที่เพื่อความอยู่เป็นสุข คือ ฌาน ๑ - ฌาน ๔

๒. สมาธิภาวนาที่เพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ คือ การมนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้มีแสงสว่างอยู่

๓. สมาธิภาวนาเพื่อสติและสัมปชัญญะ คือ เห็นเวทนา สัญญา และวิตกทั้งหลายอันรู้แจ้งแล้ว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

๔. สมาธิภาวนาเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย คือ การเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า ดังนี้ความเกิดขึ้น ดังนี้ความดับ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. มีใจประกอบด้วย เมตตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดทุกทิศอยู่

๒. มีใจประกอบด้วย กรุณา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดทุกทิศอยู่

๓. มีใจประกอบด้วย มุทิตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดทุกทิศอยู่

๔. มีใจประกอบด้วย อุเบกขา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดทุกทิศอยู่

อรูป ๔ คือ

๑. ล่วงความกำหนดหมายในรูปโดยประการทั้งปวง ความกำหนดหมายสิ่งกระทบดับไป ไม่ใส่ใจซึ่งความกำหนดหมายหลากหลาย เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ความว่างหาที่สุดมิได้ อยู่

๒. ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ อยู่

๓. ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรแม้น้อยหนึ่ง อยู่

๔. ล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่

อปัสเสนะ ๔ คือ

๑. พิจารณาแล้ว เสพ  
๒. พิจารณาแล้ว อดกลั้น
๓. พิจารณาแล้ว เว้น
๔. พิจารณาแล้ว บรรเทา

อริยวงศ์ ๔ คือ

อริยวงศ์ย่อมกล่าวสรรเสริญความสันโดษ ไม่แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ ไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน ได้แล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษนั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น สันโดษในสิ่งเหล่านี้ คือ

๑. ย่อมสันโดษด้วย จีวร ตามมีตามได้
๒. ย่อมสันโดษด้วย บิณฑบาต ตามมีตามได้
๓. ย่อมสันโดษด้วย เสนาสนะ ตามมีตามได้
๔. ย่อมมี ปหานะ เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มี ภาวนา เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความยินดีในปหานะและภาวนานั้น เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น

ปธาน ๔ คือ

๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ นี้ชื่อว่ารักษาอินทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในอินทรีย์

๒. ปหานปธาน (เพียรละ) ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก (การเบียดเบียน)

๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง

๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา) ตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คือ

อัฏฐิกสัญญา - กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืือแต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน
ปุฬุวกสัญญา - กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด
วินีลกสัญญา - กำหนดหมายซายศพที่มีสีเขียวคล้ำ
วิจฉิททกสัญญา - กำหนดหมายซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
อุทธุมาตกสัญญา - กำหนดหมายซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด เป็นต้น

ญาณ ๔ คือ

๑. ธัมมญาณ - ความรู้ในธรรม
๒. อันวยญาณ - ความรู้ในการคล้อยตาม
๓. ปริจเฉทญาณ - ความรู้ในการกำหนด 
๔. สัมมติญาณ - ความรู้ในสมมติ

ญาณ ๔ คือ

๑. ทุกขญาณ - ความรู้ในทุกข์
๒. ทุกขสมุทยญาณ - ความรู้ในทุกขสมุทัย
๓. ทุกขนิโรธญาณ - ความรู้ในทุกขนิโรธ
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ - ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

องค์ของการบรรลุโสดา ๔ คือ

๑. สัปปุริสสังเสวะ - การคบสัตบุรุษ
๒. สัทธัมมัสสวนะ - การฟังพระสัทธรรม
๓. โยนิโสมนสิการ - การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ - การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ คือ

๑. เลื่อมใสแน่นแฟ้นใน พระพุทธเจ้า
๒. เลื่อมใสแน่นแฟ้นใน พระธรรม
๓. เลื่อมใสแน่นแฟ้นใน พระสงฆ์
๔. ประกอบด้วย ศีล อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ

สามัญญผล ๔ คือ

๑. โสดาปัตติผล
๒. สกทาคามิผล
๓. อนาคามิผล
๔. อรหัตตผล

ธาตุ ๔ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

อาหาร ๔ คือ

๑. กวฬิงการาหาร - อาหารที่ใส่ทางปาก
๒. ผัสสาหาร - อาหารคือ ผัสสะ
๓. มโนสัญเจตนาหาร - อาหาร คือ เจตนารมณ์แห่งใจ
๔. วิญญาณาหาร - อาหาร คือ ธาตุรู้

วิญญาณฐิติ ๔ คือ

๑. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่ง รูป มีรูปเป็นอารมณ์ 
๒. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่ง เวทนา มีเวทนาเป็นอารมณ์
๓. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่ง สัญญา มีสัญญาเป็นอารมณ์
๔. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่ง สังขาร มีสังขารเป็นอารมณ์

อคติ ๔ คือ

๑. ถึงความลำเอียง เพราะความรักใคร่กัน
๒. ถึงความลำเอียง เพราะความขัดเคืองกัน
๓. ถึงความลำเอียง เพราะความหลง
๔. ถึงความลำเอียง เพราะความกลัว

ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ คือ

๑. ตัณหาเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร
๒. ตัณหาเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
๓. ตัณหาเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
๔. ตัณหาเกิดเพราะเหตุแห่งความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป

ปฏิปทา ๔ คือ

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา - ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา - ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา - ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา - ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ปฏิปทาอีก ๔ คือ

๑. อักขมาปฏิปทา - ปฏิบัติไม่อดทน
๒. ขมาปฏิปทา - ปฏิบัติอดทน
๓. ทมาปฏิปทา - ปฏิบัติฝึก (ข่มใจ)
๔. สมาปฏิปทา - ปฏิบัติระงับ

ธรรมบท ๔ คือ

๑. ธรรมคือ ความไม่เพ่งเล็ง
๒. ธรรมคือ ความไม่พยาบาท
๓. ธรรมคือ ความระลึกชอบ
๔. ธรรมคือ ความตั้งใจไว้ชอบ

ธรรมสมาทาน ๔ คือ

๑. ธรรมสมาทานที่ให้ ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๒. ธรรมสมาทานที่ให้ ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
๓. ธรรมสมาทานที่ให้ สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๔. ธรรมสมาทานที่ให้ สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

ธรรมขันธ์ ๔ คือ

๑. ศีลขันธ์ 
๒. สมาธิขันธ์
๓. ปัญญาขันธ์ 
๔. วิมุตติขันธ์

อธิฏฐาน ๔ คือ

๑. ปัญญาธิฏฐาน - อธิษฐานด้วยปัญญา
๒. สัจจาธิฏฐาน - อธิษฐานด้วยสัจจะ
๓. จาคะธิฏฐาน - อธิษฐานด้วยการสละ 
๔. อุปสมาธิฏฐาน - อธิษฐานด้วยความสงบ

ปัญหาพยากรณ์ ๔ คือ

๑. ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
๒. ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
๓. ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้
๔. ปัญหาที่ควรงดเสีย

กรรม ๔ คือ

๑. กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่
๒. กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่
๓. กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาวมีอยู่
๔. กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่

สัจฉิกรณียธรรม ๔ คือ

๑. พึงทำให้แจ้งซึ่งขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ
๒. พึงทำให้แจ้งซึ่งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ
๓. พึงทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์แปดด้วยกาย
๔. พึงทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา

โอฆะ ๔ คือ

๑. กาโมฆะ - ห้วงน้ำคือ กาม
๒. ภโวฆะ - ห้วงน้ำคือ ภพ 
๓. ทิฏโฐฆะ - ห้วงน้ำคือ ทิฐิ
๔. อวิชโชฆะ - ห้วงน้ำคือ อวิชชา

โยคะ ๔ คือ

๑. กามโยคะ - เครื่องรัดรึงคือ กาม
๒. ภวโยคะ - เครื่องรัดรึงคือ ภพ
๓. ทิฏฐิโยคะ - เครื่องรัดรึงคือ ทิฐิ
๔. อวิชชาโยคะ - เครื่องรัดรึงคือ อวิชชา

วิสังโยคะ ๔ คือ

๑. กามโยควิสังโยคะ - ความพรากจากโยคะแห่งกาม
๒. ภวโยควิสังโยคะ - ความพรากจากโยคะแห่งภพ
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ - ความพรากจากโยคะแห่งทิฐิ
๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ - ความพรากจากโยคะแห่งอวิชชา

คันถะ ๔ คือ

๑. อภิชฌากายคันถะ - เครื่องรัดรึงคือการเพ่งเล็ง
๒. พยาปาทกายคันถะ - เครื่องรัดรึงคือพยาบาท
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ - เครื่องรัดรึงคือสีลัพพตปรามาส
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ - เครื่องรัดรึงคือการยึดว่าสิ่งนี้เท่านั้นเป็นจริง

อุปาทาน ๔ คือ

๑. กามุปาทาน - ยึดมั่นถือมั่นกาม
๒. ทิฏฐุปาทาน - ยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน - ยึดมั่นถือมั่นศีลและพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน - ยึดมั่นถือมั่นวาทะว่าตน

โยนิ ๔ คือ

๑. อัณฑชโยนิ - กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่
๒. ชลาพุชโยนิ - กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์
๓. สังเสทชโยนิ - กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล
๔. โอปปาติกโยนิ - กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา

การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ คือ

๑. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

การได้อัตภาพ ๔ คือ

๑. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนคนเดียว ไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น
๒. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรงกับความจงใจของตน
๓. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย  ตรงกับความจงใจของผู้อื่นด้วย
๔. การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตน  ทั้งไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น

ทักขิณาวิสุทธิ ๔ คือ

๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก มีอยู่

๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก มีอยู่

๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก มีอยู่

๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก มีอยู่

สังคหวัตถุ ๔ (ธรรมทำให้รักระลึกถึงกัน) คือ

๑. ทาน การให้ปัน
๒. ปิยวัชช - เจรจาวาจาที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
๓. อัตถจริยา - ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔. สมานัตตตา - ความเป็นผู้วางตนสม่ำเสมอ

อนริยโวหาร ๔ (วาจาของผู้ไม่ใช่อริยะ) คือ

๑. มุสาวาท - พูดเท็จ 
๒. ปิสุณาวาจา - พูดส่อเสียดให้คนเกลียดกัน
๓. ผรุสวาจา - พูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาป - พูดเพ้อเจ้อ

อริยโวหาร ๔ (วาจาของพระอริยะ) คือ

๑. มุสาวาทา เวรมณี - เว้นจากพูดเท็จ

๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี - เว้นจากพูดส่อเสียดให้คนเกลียดกัน

๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี - เว้นจากพูดคำหยาบ

๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี - เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

อนริยโวหารอีก ๔ คือ

๑. เมื่อไม่ได้เห็น พูดว่า ได้เห็น | เมื่อได้เห็น พูดว่า ไม่ได้เห็น

๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่า ได้ยิน | เมื่อได้ยิน พูดว่า ไม่ได้ยิน

๓. เมื่อไม่ได้ทราบ พูดว่า ได้ทราบ | เมื่อได้ทราบ พูดว่า ไม่ได้ทราบ

๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้ง พูดว่า ได้รู้แจ้ง | เมื่อได้รู้แจ้ง พูดว่า ไม่ได้รู้แจ้ง

อริยโวหารอีก ๔ คือ

๑. เมื่อไม่ได้เห็น พูดว่า ไม่ได้เห็น | เมื่อได้เห็น พูดว่า ได้เห็น

๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่า ไม่ได้ยิน | เมื่อได้ยิน พูดว่า ได้ยิน

๓. เมื่อไม่ได้ทราบ พูดว่า ไม่ได้ทราบ | เมื่อได้ทราบ พูดว่า ได้ทราบ

๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้ง พูดว่า ไม่ได้รู้แจ้ง | เมื่อได้รู้แจ้ง พูดว่า ได้รู้แจ้ง

บุคคล ๔ คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ เป็นเครื่องทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้หายหิว ดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุข มีตนเป็นเสมือนพรหมอยู่ในปัจจุบัน

บุคคลอีก ๔ คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย

บุคคลอีก ๔ คือ

๑. บุคคลผู้มืดมาเกิด กลับมืดจากไป
๒. บุคคลผู้มืดมาเกิด กลับสว่างจากไป
๓. บุคคลผู้สว่างมาเกิด กลับมืดจากไป
๔. บุคคลผู้สว่างมาเกิด กลับสว่างจากไป

บุคคลอีก ๔ คือ

๑. สมณมจละ - เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

๒. สมณปทุมะ - เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวหลวง

๓. สมณปุณฑรีกะ - เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว

๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ - เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย

ธรรมหมวด ๕

ขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ - กองรูป
๒. เวทนาขันธ์ - กองเวทนา
๓. สัญญาขันธ์ - กองสัญญา
๔. สังขารขันธ์ - กองสังขาร
๕. วิญญาณขันธ์ - กองวิญญาณ

อุปาทานขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ - ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ คือ รูป
๒. เวทนูปาทานขันธ์ - ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ คือ เวทนา
๓. สัญญูปาทานขันธ์ - ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ คือ สัญญา
๔. สังขารูปาทานขันธ์ - ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ คือ สังขาร
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ - ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ คือ วิญญาณ

กามคุณ ๕ คือ

สิ่งที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วย ๑. จักษุ  ๒. หู  ๓. จมูก  ๔. ลิ้น  ๕. กาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

คติ ๕ คือ

๑. นิรยะ - ภูมินรก 
๒. ติรัจฉานโยนิ - ภูมิดิรัจฉาน
๓. ปิตติวิสัย - ภูมิเปรต
๔. มนุสสะ - ภูมิมนุษย์
๕. เทวะ - ภูมิเทวดาและพรหม

มัจฉริยะ ๕ คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ - ตระหนี่ที่อยู่
๒. กุลมัจฉริยะ - ตระหนี่สกุล (หวง Connection)
๓. ลาภมัจฉริยะ - ตระหนี่ลาภ
๔. วัณณมัจฉริยะ - ตระหนี่วรรณะ (สร้างชนชั้นเพื่อกีดกันผู้อื่น)
๕. ธัมมมัจฉริยะ - ตระหนี่ธรรม ไม่แสดงธรรม ไม่ให้ความรู้

นีวรณ์ ๕ คือ

๑. กามฉันทนีวรณ์ - สิ่งปิดกั้นจิต คือ ความพอใจในกาม
๒. พยาปาทนีวรณ์ - สิ่งปิดกั้นจิต คือ ความพยาบาท
๓. ถีนมิทธนีวรณ์ - สิ่งปิดกั้นจิต คือ ความที่จิตหดหู่และหาวนอน
๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์ - สิ่งปิดกั้นจิต คือ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
๕. ความสงสัยลังเลนีวรณ์ - สิ่งปิดกั้นจิต คือ ความสงสัย

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำที่พระอนาคามีละขาด) คือ

๑. สักกายทิฏฐิ - ความเห็นว่าเป็นตน
๒. วิจิกิจฉา - ความสงสัยลังเล
๓. สีลัพพตปรามาส - ความเชื่อถือว่าศีลหรือพรตทำให้ศักดิ์สิทธิ์
๔. กามฉันทะ - ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม
๕. พยาบาท - ความคิดแค้น

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องบนที่พระอรหันต์ละขาด) คือ

๑. รูปราคะ - ความติดใจอยู่ในรูปธรรม
๒. อรูปราคะ - ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม
๓. มานะ - ความสำคัญว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๔. อุทธัจจะ - ความคิดพล่าน
๕. อวิชชา - ความไม่รู้จริง

สิกขาบท ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี - เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทานา เวรมณี - เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี - เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี  เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี - เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก การดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

อภัพพฐาน ๕ คือ

๑. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์
๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม
๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่
๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกาม เหมือนเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์

พยสนะ ๕ คือ

๑. ญาติพยสนะ - ความฉิบหายแห่งญาติ
๒. โภคพยสนะ - ความฉิบหายแห่งโภคะ
๓. โรคพยสนะ - ความฉิบหายเพราะโรค
๔. สีลพยสนะ - ความฉิบหายแห่งศีล
๕. ทิฏฐิพยสนะ - ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ

สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุที่ญาติฉิบหาย เพราะเหตุที่โภคะฉิบหาย เพราะเหตุที่ฉิบหายเพราะโรค

สัตว์ทั้งหลายย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฏฐิพินาศ

สัมปทา ๕ คือ

๑. ญาติสัมปทา - ความถึงพร้อมด้วยญาติ
๒. โภคสัมปทา - ความถึงพร้อมด้วยโภคะ
๓. อาโรคยสัมปทา - ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค
๔. สีลสัมปทา - ความถึงพร้อมด้วยศีล
๕. ทิฏฐิสัมปทา - ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ

สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทา เพราะเหตุแห่งโภคสัมปทา เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทา

สัตว์ทั้งหลายย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฏฐิสัมปทา

โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ คือ

๑. ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ
๒. เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป
๓. เข้าไปหาบริษัทใด ๆ เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขินเข้าไป
๔. ย่อมเป็นคนหลงทำกาละ
๕. ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ คือ

๑. ย่อมประสบกองแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ
๒. เกียรติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมระบือไป
๓. เข้าไปหาบริษัทใด ๆ เป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไป
๔. ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทำกาละ (ตายไม่รู้ตัว)
๕. ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

ธรรมสำหรับโจท ๕ คือ

ภิกษุผู้เป็นโจทที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ ณ ภายใน แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ

๑. เราจักกล่าว โดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
๒. เราจักกล่าว ด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง
๓. เราจักกล่าว ด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
๔. เราจักกล่าว ด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักกล่าว ด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน

องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก
๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริง
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในบรรดาธรรมที่เป็นกุศล
๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

สุทธาวาส ๕ คือ

๑. อวิหาภูมิ
๒. อตัปปาภูมิ
๓. สุทัสสาภูมิ
๔. สุทัสสีภูมิ
๕. อกนิฏฐาภูมิ

พระอนาคามี ๕ คือ

๑. พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง
๒. พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด
๓. พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
๔. พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร
๕. พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ (เลื่อนชั้น)

ความกระด้างแห่งจิต ๕ คือ

๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ศีล)
๕. โกรธ ขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว

ความผูกพันแห่งจิต ๕ คือ

๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากใน กาม ทั้งหลาย

๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากใน กาย

๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากใน รูป

๔. ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่

๕. ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งด้วยศีล พรต ตบะ

อินทรีย์ ๕ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในกาย) คือ

๑. จักขุนทรีย์ - อินทรีย์ คือ ตา 
๒. โสตินทรีย์ - อินทรีย์ คือ หู 
๓. ฆานินทรีย์ - อินทรีย์ คือ จมูก
๔. ชิวหินทรีย์ - อินทรีย์ คือ ลิ้น 
๕. กายินทรีย์ - อินทรีย์ คือ กาย

อินทรีย์ ๕ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในใจ) คือ

๑. สุขุนทรีย์ - อินทรีย์ คือ สุข
๒. ทุกขินทรีย์ - อินทรีย์ คือ ทุกข์ 
๓. โสมนัสสินทรีย์ - อินทรีย์ คือ โสมนัส
๔. โทมนัสสินทรีย์ - อินทรีย์ คือ โทมนัส
๕. อุเปกขินทรีย์ - อินทรีย์ คือ อุเบกขา

อินทรีย์ ๕ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการบรรลุธรรม) คือ

๑. สัทธินทรีย์ - อินทรีย์คือ ศรัทธา
๒. วิริยินทรีย์ - อินทรีย์คือ วิริยะ
๓. สตินทรีย์ - อินทรีย์คือ สติ
๔. สมาธินทรีย์ - อินทรีย์คือ สมาธิ
๕. ปัญญินทรีย์ - อินทรีย์คือ ปัญญา

นิสสารณียธาตุ ๕ (เครื่องสลัดออก) คือ

๑. มนสิการถึง เนกขัมมะ อยู่ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษแล้วจากกามทั้งหลาย และพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย

๒. มนสิการถึง ความไม่พยาบาท อยู่ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษดีแล้วจากความพยาบาท และพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย

๓. มนสิการถึง ความไม่เบียดเบียน อยู่ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษดีแล้วจากความเบียดเบียน และพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย

๔. มนสิการถึง อรูป อยู่ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษดีแล้วจากรูปทั้งหลาย และพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย

๕. มนสิการถึง ความดับแห่งกายของตน อยู่ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษดีแล้วจากกายของตน และพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย

วิมุตตายตนะ ๕ (แดนแห่งวิมุตติ) คือ

๑. พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงธรรมแก่เธอ

๒. พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงธรรมแก่คนอื่น ๆ โดยพิสดาร

๓. การสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร

๔. การตรึกตรองตามซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ

๕. เรียนสมาธินิมิตด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา

เมื่อศึกษาตามนี้ ภิกษุย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ ผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติ

สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ คือ

๑. อนิจจสัญญา - สัญญาเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง
๒. อนิจเจทุกขสัญญา - สัญญาเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง
๓. ทุกเขอนัตตสัญญา - สัญญาเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์
๔. ปหานสัญญา - สัญญาเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละเสีย
๕. วิราคสัญญา - สัญญาเครื่องพิจารณาเห็นความคลายเสียซึ่งความกำหนัด

ธรรมหมวด ๖

อายตนะภายใน ๖ คือ

๑. อายตนะ คือ ตา
๒. อายตนะ คือ หู 
๓. อายตนะ คือ จมูก 
๔. อายตนะ คือ ลิ้น
๕. อายตนะ คือ กาย
๖. อายตนะ คือ ใจ

อายตนะภายนอก ๖ คือ

๑. อายตนะ คือ รูป
๒. อายตนะ คือ เสียง
๓. อายตนะ คือ กลิ่น
๔. อายตนะ คือ รส
๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
๖. อายตนะ คือ ธรรม

วิญญาณ ๖ คือ

๑. จักขุวิญญาณ - ความรับรู้ทางตา
๒. โสตวิญญาณ - ความรับรู้ทางหู
๓. ฆานวิญญาณ - ความรับรู้ทางจมูก
๔. ชิวหาวิญญาณ - ความรับรู้ทางลิ้น
๕. กายวิญญาณ - ความรับรู้ทางกาย
๖. มโนวิญญาณ - ความรับรู้ทางใจ

ผัสสะ ๖ คือ

๑. จักขุสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยตา
๒. โสตสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยหู
๓. ฆานสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยจมูก 
๔. ชิวหาสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยลิ้น 
๕. กายสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยกาย
๖. มโนสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยใจ

เวทนา ๖ คือ

๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการเห็น
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการได้ยิน
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการดม
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการลิ้ม
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการแตะต้อง
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากใจ

สัญญา ๖ คือ

๑. รูปสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์

สัญเจตนา ๖ คือ

๑. รูปสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดธรรมเป็นอารมณ์

ตัณหา ๖ คือ

๑. รูปตัณหา - ความกระหายในรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททตัณหา - ความกระหายในเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธตัณหา - ความกระหายในกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสตัณหา - ความกระหายในรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพตัณหา - ความกระหายในโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมตัณหา - ความกระหายในธรรมารมณ์เป็นอารมณ์

อคารวะ ๖ คือ

๑. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน พระศาสดา
๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน พระธรรม
๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน พระสงฆ์
๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน การศึกษา
๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน ความไม่ประมาท
๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน การปฏิสันถาร (การสนทนาพาที) อยู่

คารวะ ๖ คือ

๑. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน พระศาสดา อยู่
๒. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน พระธรรม อยู่
๓. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน พระสงฆ์ อยู่
๔. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน การศึกษา อยู่
๕. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน ความไม่ประมาท อยู่
๖. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน การปฏิสันถาร (การสนทนาพาที) อยู่

โสมนัสสุปวิจาร ๖ คือ

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส

โทมนัสสุปวิจาร ๖ คือ

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส

อุเปกขูปวิจาร ๖ คือ

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

สาราณียธรรม ๖ คือ

ธรรมเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ระลึกถึง และความสามัคคี

๑. เข้าไปตั้ง กายกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๒. เข้าไปตั้ง วจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓. เข้าไปตั้ง มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๔. ลาภอันใดได้มาแล้วโดยธรรม แบ่งปัน กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล

๕. เป็นผู้เสมอกันใน ศีล ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฐิ เป็นไปเพื่อสมาธิ กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๖. เป็นผู้เสมอกันโดย ทิฏฐิ ซึ่งประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ คือ

๑. เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้
๒. เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอ
๓. เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด
๖. เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก

ธาตุ ๖ คือ

๑. ปฐวีธาตุ - ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ - ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ - ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ - ธาตุลม
๕. อากาศธาตุ - ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย
๖. วิญญาณธาตุ - ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้

นิสสารณียธาตุ ๖ คือ

เมื่ออบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว

๑. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท
๒. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณา เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิหิงสา (ความเบียดเบียน)
๓. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ
๔. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ
๕. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิต เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิต
๖. ธรรมชาติคือ การเพิกถอน สละออกเสียซึ่งการถือว่าเรามีอยู่ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย

อนุตตริยะ ๖ คือ

๑. ทัสสนานุตตริยะ - การเห็นที่ยอดเยี่ยม
๒. สวนานุตตริยะ - การฟังที่ยอดเยี่ยม
๓. ลาภานุตตริยะ - การได้ที่ยอดเยี่ยม
๔. สิกขานุตตริยะ - การศึกษาที่ยอดเยี่ยม
๕. ปาริจริยานุตตริยะ - การบำเรอที่ยอดเยี่ยม
๖. อนุสสตานุตตริยะ - การระลึกถึงที่ยอดเยี่ยม

อนุสสติฐาน ๖ คือ

๑. พุทธานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเสมอ
๒. ธัมมานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระธรรมเสมอ
๓. สังฆานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เสมอ
๔. สีลานุสสติ - ระลึกถึงศีลเสมอ
๕. จาคานุสสติ - ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคเสมอ
๖. เทวตานุสสติ - ระลึกถึงเทวดาเสมอ

สตตวิหาร ๖ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) คือ

๑. เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว...
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว...
๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว...
๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว...
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว...
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว...

...เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

อภิชาติ ๖ คือ

๑. เกิดในที่ดำ ประสบธรรมฝ่ายดำ
๒. เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว
๓. เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำ ไม่ขาว
๔. เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายขาว
๕. เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ
๖. เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำ ไม่ขาว

นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ คือ

๑. อนิจจสัญญา - กำหนดหมายความไม่เที่ยง
๒. อนิจเจทุกขสัญญา - กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง
๓. ทุกเขอนัตตสัญญา - กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์
๔. ปหานสัญญา - กำหนดหมายเพื่อละ
๕. วิราคสัญญา - กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด
๖. นิโรธสัญญา - กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท

ธรรมหมวด ๗

อริยทรัพย์ ๗ คือ

๑. สัทธาธนัง - ทรัพย์ คือ ศรัทธา
๒. สีลธนัง - ทรัพย์ คือ ศีล
๓. หิริธนัง - ทรัพย์ คือ หิริ
๔. โอตตัปปธนัง - ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ
๕. สุตธนัง - ทรัพย์ คือ สุตะ
๖. จาคธนัง - ทรัพย์ คือ จาคะ
๗. ปัญญาธนัง - ทรัพย์ คือ ปัญญา

สัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ 
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

บริขารของสมาธิ ๗ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ
๖. สัมมาวายามะ - พยายามชอบ
๗. สัมมาสติ - ระลึกชอบ

อสัทธรรม ๗ คือ

๑. เป็นคนไม่มีศรัทธา
๒. เป็นคนไม่มีหิริ
๓. เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ 
๔. เป็นคนมีสุตะน้อย
๕. เป็นคนเกียจคร้าน
๖. เป็นคนมีสติหลงลืม 
๗. เป็นคนมีปัญญาทราม

สัทธรรม ๗ คือ

๑. เป็นคนมีศรัทธา
๒. เป็นคนมีหิริ
๓. เป็นคนมีโอตตัปปะ 
๔. เป็นคนมีพหูสูต
๕. เป็นคนปรารภความเพียร 
๖. เป็นคนมีสติมั่นคง 
๗. เป็นคนมีปัญญา

สัปปุริสธรรม ๗ คือ

๑. เป็นผู้รู้จักสัจธรรม
๒. เป็นผู้รู้จักประโยชน์อันยิ่ง
๓. เป็นผู้รู้จักตน
๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ
๕. เป็นผู้รู้จักกาล 
๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท 
๗. เป็นผู้รู้จักบุคคล

นิททสวัตถุ ๗ คือ

๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การสมาทานสิกขา
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การไตร่ตรองธรรม
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การปราบปรามความอยาก
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การเร้นอยู่
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การปรารภความเพียร
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน สติและปัญญาเครื่องรักษาตน
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การแทงตลอดซึ่งทิฏฐิ

สัญญา ๗ คือ

๑. อนิจจสัญญา - กำหนดหมายความไม่เที่ยง
๒. อนัตตสัญญา - กำหนดหมายเป็นอนัตตา
๓. อสุภสัญญา - กำหนดหมายความไม่งาม
๔. อาทีนวสัญญา - กำหนดหมายโทษ
๕. ปหานสัญญา - กำหนดหมายเพื่อละ
๖. วิราคสัญญา - กำหนดหมายการปล่อยวาง
๗. นิโรธสัญญา - กำหนดหมายความดับ

พละ ๗ คือ

๑. สัทธาพละ - พลัง คือ ศรัทธา
๒. วิริยพละ - พลัง คือ ความเพียร
๓. หิริพละ - พลัง คือ หิริ
๔. โอตตัปปพละ - พลัง คือ โอตตัปปะ
๕. สติพละ - พลัง คือ สติ
๖. สมาธิพละ - พลัง คือ สมาธิ
๗. ปัญญาพละ - พลัง คือ ปัญญา

วิญญาณฐิติ ๗ คือ

๑. สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก

๒. สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน เช่น พวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน

๓. สัตว์พวกหนึ่งมีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสระ

๔. สัตว์พวกหนึ่งมีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา

๕. สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ความว่างหาที่สุดมิได้

๖. สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

๗. สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ๆ

ทักขิเณยยบุคคล ๗ คือ

๑. อุภโตภาควิมุตต - ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
๒. ปัญญาวิมุตต - ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญาในฌาน
๓. กายสักขี - ท่านผู้สามารถด้วยอำนาจสมาธิ
๔. ทิฏฐิปัตต - ท่านผู้ถึงแล้วด้วยปัญญา
๕. สัทธาวิมุตต - ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธาอันยิ่ง
๖. ธัมมานุสารี - ท่านผู้ประพฤติตามธรรม
๗. สัทธานุสารี -  ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา

อนุสัย ๗ คือ

๑. กามราคานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความกำหนัดในกาม
๒. ปฏิฆานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความกระทบกระทั่ง
๓. ทิฏฐานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความเห็น
๔. วิจิกิจฉานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความสงสัย
๕. มานานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความถือตัว
๖. ภวราคานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ การยึดความเป็น
๗. อวิชชานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความไม่รู้

สัญโญชน์ ๗ คือ

๑. กามสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความใคร่
๒. ปฏิฆสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต
๓. ทิฏฐิสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความเห็น
๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความสงสัย
๕. มานสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความถือตัว
๖. ภวราคสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความกำหนัดในภพ
๗. อวิชชาสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความไม่รู้

อธิกรณสมถะ ๗ คือ
(การระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว)

๑. พึงให้สัมมุขาวินัย
๒. พึงให้สติวินัย
๓. พึงให้อมุฬหวินัย 
๔. พึงปรับตามปฏิญญา
๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. พึงปรับตามความผิดของจำเลย 
๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี (ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า)

ธรรมหมวด ๘

มิจฉัตตะ ๘ คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ - เห็นผิด
๒. มิจฉาสังกัปปะ - ดำริผิด
๓. มิจฉาวาจา - วาจาผิด
๔. มิจฉากัมมันตะ - การงานผิด
๕. มิจฉาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตผิด
๖. มิจฉาวายามะ - พยายามผิด
๗. มิจฉาสติ - ระลึกผิด
๘. มิจฉาสมาธิ - ตั้งจิตผิด

สัมมัตตะ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา - วาจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ
๖. สัมมาวายามะ - พยายามชอบ
๗. สัมมาสติ - ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ - ตั้งจิตชอบ

ทักขิเณยยบุคคล ๘

๑. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
๒. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน
๓. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
๔. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี
๕. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
๖. ท่านที่เป็นพระอนาคามี
๗. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง
๘. ท่านที่เป็นพระอรหันต์

กุสีตวัตถุ ๘ (ลักษณะแห่งความเกียจคร้าน)

บุคคลไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง โดยอ้างเหตุนี้

๑. ต้องทำการงาน ร่างกายเหน็ดเหนื่อย จึงนอนเสีย

๒. ทำการงานเสร็จแล้ว คิดว่าควรที่จะนอน จึงนอนเสีย

๓. ต้องเดินทาง ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรนอนก่อน จึงนอนเสีย

๔. เราได้เดินทางถึงแล้ว ควรที่จะนอน จึงนอนเสีย

๕. เที่ยวไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะพอแก่ความต้องการ  จึงคิดว่าร่างกายไม่ควรแก่การงาน จึงนอนเสีย

๖. เที่ยวไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะพอแก่ความต้องการแล้ว ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเหมือนถั่วที่ชุ่มน้ำ จึงคิดว่าไม่ควรแก่การงาน จึงนอนเสีย

๗. อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น มีความคิดว่า อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมควรเพื่อจะนอน จึงนอนเสีย

๘. หายจากไข้ มีความคิดว่า เราหายจากไข้ได้ไม่นาน ร่างกายยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน จึงนอนเสีย

อารัพภวัตถุ ๘ (ลักษณะแห่งความเพียร) คือ

บุคคลย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ดังนี้

๑. จะต้องทำการงาน มีความคิดว่า ควรที่เราจะปรารภความเพียรเสียก่อนทีเดียว

๒. ทำการงานเสร็จแล้ว มีความคิดว่า เราทำการงานเสร็จแล้ว ควรที่เราจะปรารภความเพียร

๓. จะต้องเดินทาง มีความคิดว่า ควรที่เราจะปรารภความเพียร

๔. เดินทางไปถึงแล้ว มีความคิดว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ควรที่เราจะปรารภความเพียร

๕. เที่ยวไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่พอแก่ ความต้องการ มีความคิดว่า ร่างกายของเรานั้นเบา ควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียร

๖. เที่ยวไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะพอแก่ความต้องการ มีความคิดว่า ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียร

๗. อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น มีความคิดว่า อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ควรที่เราจะปรารภความเพียร

๘. หายจากไข้ มีความคิดว่า เราหายจากไข้แล้ว ควรที่เราจะปรารภความเพียร

ทานวัตถุ ๘ คือ

๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ
๒. ให้ทานเพราะกลัว
๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้มได้ คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่ จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงามย่อมจะระบือไป
๘. ให้ทานเพื่อประดับจิตและเป็นบริขารของจิต

ทานุปบัติ ๘ คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังเพื่อความเป็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอยู่ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเหล่า จาตุมหาราชิกา จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า ดาวดึงส์ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า ยามา จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์

๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า ดุสิตา จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์

๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า นิมมานรดี จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์

๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า ปรนิมมิตวสวัตตี จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์

๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวก พรหม จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีล ปราศจากราคะ ย่อมสำเร็จได้เพราะปราศจากราคะ

โลกธรรม ๘ คือ

๑.  มีลาภ
๒.  ไม่มีลาภ
๓.  มียศ
๔.  ไม่มียศ
๕.  นินทา
๖.  สรรเสริญ
๗.  สุข
๘.  ทุกข์

บริษัท ๘ ที่เกี่ยวข้องกับโลกโดยมาก คือ

๑.  บริษัทกษัตริย์
๒.  บริษัทพราหมณ์
๓.  บริษัทคฤหบดี
๔.  บริษัทสมณะ
๕.  บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
๖.  บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์
๗.  บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี
๘.  บริษัทพรหม

อภิภายตนะ ๘ คือ

๑.  สำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็ก ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๒.  สำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่ใหญ่ ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๓.  สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็ก ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๔.  สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่ใหญ่ ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๕.  สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีเขียว ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๖.  สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีเหลือง ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๗.  สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีแดง ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๘.  สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีขาว ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

วิโมกข์ ๘

๑. บุคคลเห็น รูป ทั้งหลาย

๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก

๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งาม ทีเดียว

๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่

๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่

๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ๆ

๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่

๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่

ธรรมหมวด ๙

อาฆาตวัตถุ ๙ คือ

ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า

๑. ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

๒. ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

๓. ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

๔. ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักของเราแล้ว

๕. ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักของเรา

๖. ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักของเรา

๗. ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักของเราแล้ว

๘. ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักของเรา

๙. ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักของเรา

อาฆาตปฏิวินัย ๙ คือ

บรรเทาความอาฆาตเสีย ด้วยคิดว่า

๑. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว

๒. เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

๓. เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

๔. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักของเราแล้ว

๕. เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักของเรา

๖. เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักของเรา

๗. เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักของเราแล้ว

๘. เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักของเรา

๙. เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักของเรา

เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

สัตตาวาส ๙ คือ

๑. มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางพวก

๒. มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน

๓. มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสระ

๔. มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายเดียวกัน มีสัญญาเดียวกัน เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา

๕. มีสัตว์พวกหนึ่ง ไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์ เช่น พวกเทพเหล่าอสัญญีสัตว์

๖. มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศที่สุดมิได้

๗. มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

๘. มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งวิญญานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร

๙. มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า นี่สงบ นี่ประณีต

อขณะ อสมัย เพื่อพรหมจริยวาส ๙ คือ

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ แต่บุคคลบางพวกไม่อยู่ในขณะ มิใช่สมัยเพื่อการประพฤติพรหมจรรย์

๑. บุคคลที่เข้าถึงนรกเสีย
๒. บุคคลที่เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย
๓. บุคคลที่เข้าถึงวิสัยแห่งเปรตเสีย
๔. บุคคลที่เข้าถึงอสุรกายเสีย
๕. บุคคลที่เข้าถึงพวกเทพที่มีอายุยืนพวกใดพวกหนึ่งเสีย

๖. บุคคลที่เกิดเสียในปัจจันตชนบท ในจำพวกชนชาติมิลักขะผู้โง่เขลา

๗. บุคคลที่เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีหรือทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ไม่มีในโลก ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วยังผู้อื่นให้รู้

๘. บุคคลที่เป็นคนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้

๙. บุคคลที่มีปัญญา สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ แต่มิได้มีผู้แสดงธรรมไว้

อนุปุพพวิหาร ๙ คือ

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

๒. บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบระงับ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

๓. มีอุเบกขามีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้

๔. บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

๕. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่

๖. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่

๗. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่

๘. เพราะล่วงซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่

๙. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่

อนุปุพพนิโรธ ๙ คือ

๑. กามสัญญา ของท่านผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป

๒. วิตกวิจาร ของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป

๓. ปีติิ ของท่านผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป

๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ของท่านผู้เข้าจตุตถฌานย่อมดับไป

๕. รูปสัญญา ของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติย่อมดับไป

๖. อากาสานัญจายตนสัญญา ของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมดับไป

๗. วิญญาณัญจายตนสัญญา ของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมดับไป

๘. อากิญจัญญายตนสัญญา ของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมดับไป

๙. สัญญาและเวทนา ของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป

ธรรมหมวด ๑๐

นาถกรณธรรม ๑๐ (ธรรมอันเป็นที่พึ่ง) คือ

๑. เป็นผู้สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๒. เป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น ทรงธรรม มีธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

๔. เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนี

๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้น ๆ สามารถทำสามารถจัดกรณียกิจใหญ่น้อยทั้งหลาย

๖. เป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย

๗. เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสี่

๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่

๙. เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ ระลึกได้

๑๐. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

กสิณายตนะ ๑๐ (แดนกสิณ) คือ

๑. ย่อมจำ ปฐวีกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

๒. ย่อมจำ อาโปกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

๓. ย่อมจำ เตโชกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

๔. ย่อมจำ วาโยกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

๕. ย่อมจำ นีลกสิณ (สีเขียว) ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

๖. ย่อมจำ ปีตกสิณ (สีเหลือง) ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

๗. ย่อมจำ โลหิตกสิณ (สีแดง) ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

๘. ย่อมจำ โอทาตกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณหามิได้

๙. ย่อมจำ อากาสกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

๑๐. ย่อมจำ วิญญาณกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

อกุศลกรรมบถ พฤติกรรมที่เป็นโทษ ๑๐ คือ

๑. ปาณาติบาต - การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทาน - การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจาร - การประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท - พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา - พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา - พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ - พูดเพ้อเจ้อ
๘. อภิชฌา - ความโลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท - ความปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - ความเห็นผิด

กุศลกรรมบถ พฤติกรรมที่ป็นประโยชน์ ๑๐ คือ

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป

๒. อทินนาทานา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาทา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการพูดเท็จ

๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด

๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการพูดคำหยาบ

๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

๘. อนภิชฌา - ความไม่โลภอยากได้ของเขา

๙. อัพยาบาท - ความไม่ปองร้ายเขา

๑๐. สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ

อริยวาส ๑๐ (ที่อยู่พระอริยะ) คือ

๑. เป็นผู้มีกามฉันทะ พยาบาท ความสงสัยลังเล ความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน อันละขาดแล้ว

๒. เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉยในการเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส นึกคิด

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันมีสติ เป็นเครื่องอารักขา

๔. เป็นผู้พิจารณาแล้วเสพ พิจารณาแล้วอดกลั้น พิจารณาแล้วเว้น พิจารณาแล้วบรรเทา

๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่าง ของสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก อันบรรเทาเสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละ สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว

๖. เป็นผู้ละได้ขาดแล้ว ซึ่งการแสวงหากาม ละได้ขาดแล้วซึ่งการแสวงหาภพ สละคืนแล้วซึ่งการแสวงหาพรหมจรรย์

๗. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะละความดำริในทางกามได้ขาดแล้ว ละความดำริในทางพยาบาทได้ขาดแล้ว ละความดำริในทางเบียดเบียนได้ขาดแล้ว

๘. เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์

๙. เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว จากราคะ จากโทสะ จากโมหะ

๑๐. เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ โทสะ โมหะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว  กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

อเสขธรรม ๑๐ คือ

๑. ความเห็นชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๒. ความดำริชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๓. เจรจาชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๔. การงานชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๕. การเลี้ยงชีวิตชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๖. ความเพียรชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๗.  ความระลึกชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๘. ความตั้งใจชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๙. ความรู้ชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๑๐. ความหลุดพ้นชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ

 

 

อ้างอิง : สังคีติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ๑๑/๒๒๕-๓๖๓/๑๖๐-๒๕๐