อกุศลมูล ๓ คือ
๑. โลภะ
๒. โทสะ
๓. โมหะ
กุศลมูล ๓ คือ
๑. อโลภะ
๒. อโทสะ
๓. อโมหะ
ทุจริต ๓ คือ
๑. กายทุจริต
๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต
สุจริต ๓ คือ
๑. กายสุจริต
๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต
อกุศลวิตก ๓ คือ
๑. ความวิตกในกาม
๒. ความวิตกในพยาบาท
๓. ความวิตกในการเบียดเบียน
กุศลวิตก ๓ คือ
๑. ความวิตกในการออกจากกาม
๒. ความวิตกในความไม่พยาบาท
๓. ความวิตกในทางไม่เบียดเบียน
อกุศลสังกัปปะ ๓ คือ
๑. ความดำริในทางกาม
๒. ความดำริในทางพยาบาท
๓. ความดำริในทางเบียดเบียน
กุศลสังกัปปะ ๓ คือ
๑. ความดำริในทางออกจากกาม
๒. ความดำริในทางไม่พยาบาท
๓. ความดำริในทางไม่เบียดเบียน
อกุศลสัญญา ๓ คือ
๑. ความจำได้ในทางกาม
๒. ความจำได้ในทางพยาบาท
๓. ความจำได้ในทางเบียดเบียน
กุศลสัญญา ๓ คือ
๑. ความจำได้ในทางออกจากกาม
๒. ความจำได้ในทางไม่พยาบาท
๓. ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน
อกุศลธาตุ ๓ คือ
๑. กามธาตุ
๒. พยาปาทธาตุ
๓. วิหิงสาธาตุ
กุศลธาตุ ๓ คือ
๑. เนกขัมมธาตุ
๒. อัพยาปาทธาตุ
๓. อวิหิงสาธาตุ
ธาตุอีก ๓ คือ
๑. กามธาตุ
๒. รูปธาตุ
๓. อรูปธาตุ
ธาตุอีก ๓ คือ
๑. รูปธาตุ
๒. อรูปธาตุ
๓. นิโรธธาตุ
ธาตุอีก ๓ คือ
๑. ธาตุอย่างเลว
๒. ธาตุอย่างกลาง
๓. ธาตุอย่างประณีต
ตัณหา ๓ คือ
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
ตัณหาอีก ๓ คือ
๑. กามตัณหา
๒. รูปตัณหา
๓. อรูปตัณหา
ตัณหาอีก ๓ คือ
๑. ตัณหาในรูป
๒. ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป
๓. ตัณหาในความดับสูญ
สัญโญชน์ ๓ คือ
๑. ความเห็นว่าเป็นตัวตน
๒. ความลังเลสงสัย
๓. ความเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ด้วยศีลพรต
อาสวะ ๓ คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. อวิชชาสวะ
ภพ ๓ คือ
๑. กามภพ
๒. รูปภพ
๓. อรูปภพ
เอสนา ๓ คือ
๑. การแสวงหากาม
๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
วิธา การวางท่า ๓ คือ
๑. ถือว่าตัวประเสริฐกว่าเขา
๒. ถือว่าตัวเสมอกับเขา
๓. ถือว่าตัวเลวกว่าเขา
อัทธา ๓ คือ
๑. กาลที่เป็นส่วนอดีต
๒. กาลที่เป็นส่วนอนาคต
๓. กาลที่เป็นปัจจุบัน
อันตะ ๓ คือ
๑. ส่วนที่ถือว่าเป็นตน
๒. ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดตน
๓. ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับตน
เวทนา ๓ คือ
๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ทุกขตา ๓ คือ
๑. ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์
๒. ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร
๓. ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน
ราสี ๓ คือ
๑. ความผิดที่แน่นอน
๒. ความถูกที่แน่นอน
๓. ความไม่แน่นอน
กังขา ๓ คือ
๑. ปรารภ กาลที่ล่วงไปแล้ว นาน ๆ สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
๒. ปรารภ กาลที่ยังไม่มาถึง นาน ๆ สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
๓. ปรารภ กาลปัจจุบัน ทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
ข้อที่ไม่ต้องรักษาของพระตถาคต ๓ คือ
๑. กายสมาจารบริสุทธิ์
๒. วจีสมาจารบริสุทธิ์
๓. มโนสมาจารบริสุทธิ์
กิญจนะ ๓ คือ
๑. เครื่องกังวลคือ ราคะ
๒. เครื่องกังวลคือ โทสะ
๓. เครื่องกังวลคือ โมหะ
อัคคี ๓ คือ
๑. ไฟ คือ ราคะ
๒. ไฟ คือ โทสะ
๓. ไฟ คือ โมหะ
อัคคีอีก ๓ คือ
๑. ไฟ คือ อาหุเนยยบุคคล
๒. ไฟ คือ ทักขิเณยยบุคคล
๓. ไฟ คือ คฤหบดี
รูปสังคหะ ๓ คือ
๑. รูปที่เห็น และกระทบใจ
๒. รูปที่ไม่เห็น แต่กระทบใจ
๓. รูปที่ไม่เห็น และไม่กระทบใจ
สังขาร ๓ คือ
๑. อภิสังขาร คือ บุญ
๒. อภิสังขาร คือ บาป
๓. อภิสังขาร คือ อเนญชา (ความสงบยิ่ง)
บุคคล ๓ คือ
๑. บุคคลผู้ยังต้องเพียรศึกษา
๒. บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษาแล้ว
๓. บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่
เถระ ๓ คือ
๑. พระเถระโดยชาติ
๒. พระเถระโดยธรรม
๓. พระเถระโดยสมมติ
ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ คือ
๑. ทานมัย
๒. สีลมัย
๓. ภาวนามัย
เหตุสำหรับโจท ๓ คือ
๑. ด้วยได้เห็น
๒. ด้วยได้ยินได้ฟัง
๓. ด้วยความรังเกียจ
กามอุปบัติ ๓ คือ
๑. กามปรากฏ
๒. นิรมิตกาม
๓. ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว
สุขอุปบัติ ๓ คือ
๑. ยังความสุขให้เกิดขึ้น ๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุข เช่น พรหมกายิกา
๒. อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุข บางครั้งบางคราวเปล่งอุทานว่า สุขหนอ ๆ เช่น อาภัสสราพรหม
๓. อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขในสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น สุภกิณหาพรหม
ปัญญา ๓ คือ
๑. ปัญญาของพระเสขะ
๒. ปัญญาของพระอเสขะ
๓. ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ของพระอเสขะก็ไม่ใช่
ปัญญาอีก ๓ คือ
๑. ปัญญาสำเร็จจากการฟัง
๒. ปัญญาสำเร็จจากการพิจารณา
๓. ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรมสมาธิ
อาวุธ ๓ คือ
๑. อาวุธ คือ การฟัง
๒. อาวุธ คือ ความสงัด
๓. อาวุธ คือ ปัญญา
อินทรีย์ ๓ คือ
๑. อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยตั้งใจรู้ธรรม
๒. อินทรีย์ คือ ความตรัสรู้
๓. อินทรีย์ คือ ความรู้ทั่วถึง
จักษุ ๓ คือ
๑. มังสจักขุ - ตาเนื้อ
๒. ทิพพจักขุ - ตาทิพย์
๓. ปัญญาจักขุ - ตาปัญญา
สิกขา ๓ คือ
๑. อธิศีลสิกขา
๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
ภาวนา ๓ คือ
๑. กายภาวนา
๒. จิตตภาวนา
๓. ปัญญาภาวนา
อนุตตริยะ ๓ คือ
๑. การเห็นที่ยอดเยี่ยม
๒. การปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม
๓. การหลุดพ้นที่ยอดเยี่ยม
สมาธิ ๓ คือ
๑. สมาธิที่ยังมีวิตก วิจาร
๒. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร
๓. สมาธิที่ไม่มีวิตก วิจาร
สมาธิอีก ๓ คือ
๑. สุญญตสมาธิ (จิตว่าง)
๒. อนิมิตตสมาธิ (จิตปราศจากนิมิต)
๓. อัปปณิหิตสมาธิ (จิตไม่มีทุกข์)
โสเจยยะ ๓ คือ
๑. ความสะอาดทาง กาย
๒. ความสะอาดทาง วาจา
๓. ความสะอาดทาง ใจ
โมเนยยะ ๓ คือ
๑. ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทาง กาย
๒. ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทาง วาจา
๓. ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทาง ใจ
โกสัลละ ๓ คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่ง ความเจริญ
๒. ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่ง ความเสื่อม
๓. ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่ง ความเจริญและความเสื่อม
มทะ ความเมา ๓ คือ
๑. ความเมาใน ความไม่มีโรค
๒. ความเมาใน ความเป็นหนุ่มสาว
๓. ความเมาใน ชาติ
อธิปเตยยะ ๓ คือ
๑. อัตตาธิปไตย - ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปไตย - ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธัมมาธิปไตย - ความมีธรรมเป็นใหญ่
่
กถาวัตถุ ๓ คือ
๑. ปรารภกาลส่วน อดีต กล่าวถ้อยคำ
๒. ปรารภกาลส่วน อนาคต กล่าวถ้อยคำ
๓. ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าใน บัดนี้ กล่าวถ้อยคำ
วิชชา ๓ คือ
๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ - วิชชา คือความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้
๒. จุตูปปาตญาณ - วิชชา คือความรู้จักกำหนดจุติและอุปบัติ ของสัตว์ทั้งหลายตามกลไกกรรม
๓. อาสวักขยญาณ - วิชชา คือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป
วิหารธรรม ๓ คือ
๑. ทิพยวิหาร - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพยดา
๒. พรหมวิหาร - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
๓. อริยวิหาร - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ
ปาฏิหาริยะ ๓ คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริยะ - ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
๒. อาเทสนาปาฏิหาริยะ - ดักใจเป็นอัศจรรย์
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ - คำสอนเป็นอัศจรรย์