Main navigation

สติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันทิฏฐิและตัณหาไม่อาศัยแล้ว

๒. เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันทิฏฐิและตัณหาไม่อาศัยแล้ว

๓. เห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันทิฏฐิและตัณหาไม่อาศัยแล้ว

๔. เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันทิฏฐิและตัณหาไม่อาศัยแล้ว

สัมมัปปธาน ๔ คือ

๑. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด

๒. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจเพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด

๔. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความตั้งมั่น จำเริญยิ่ง บริบูรณ์แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว

อิทธิบาท ๔ คือ

๑. เจริญอิทธิบาทด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทด้วย วิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทด้วย จิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทด้วย วิมังสาสมาธิปธานสังขาร

ฌาน ๔ คือ

๑. บรรลุ ปฐมฌาน สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

๒. บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

๓. บรรลุ ตติยฌาน มีอุเบกขา เพราะปีติสิ้นไป มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

๔. บรรลุ จตุตถฌาน เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

สมาธิภาวนา ๔ คือ

๑. สมาธิภาวนาที่เพื่อความอยู่เป็นสุข คือ ฌาน ๑ - ฌาน ๔

๒. สมาธิภาวนาที่เพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ คือ การมนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้มีแสงสว่างอยู่

๓. สมาธิภาวนาเพื่อสติและสัมปชัญญะ คือ เห็นเวทนา สัญญา และวิตกทั้งหลายอันรู้แจ้งแล้ว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

๔. สมาธิภาวนาเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย คือ การเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า ดังนี้ความเกิดขึ้น ดังนี้ความดับ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. มีใจประกอบด้วย เมตตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดทุกทิศอยู่

๒. มีใจประกอบด้วย กรุณา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดทุกทิศอยู่

๓. มีใจประกอบด้วย มุทิตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดทุกทิศอยู่

๔. มีใจประกอบด้วย อุเบกขา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดทุกทิศอยู่

อรูป ๔ คือ

๑. ล่วงความกำหนดหมายในรูปโดยประการทั้งปวง ความกำหนดหมายสิ่งกระทบดับไป ไม่ใส่ใจซึ่งความกำหนดหมายหลากหลาย เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ความว่างหาที่สุดมิได้ อยู่

๒. ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ อยู่

๓. ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรแม้น้อยหนึ่ง อยู่

๔. ล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่

อปัสเสนะ ๔ คือ

๑. พิจารณาแล้ว เสพ  
๒. พิจารณาแล้ว อดกลั้น
๓. พิจารณาแล้ว เว้น
๔. พิจารณาแล้ว บรรเทา

อริยวงศ์ ๔ คือ

อริยวงศ์ย่อมกล่าวสรรเสริญความสันโดษ ไม่แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ ไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน ได้แล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษนั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น สันโดษในสิ่งเหล่านี้ คือ

๑. ย่อมสันโดษด้วย จีวร ตามมีตามได้
๒. ย่อมสันโดษด้วย บิณฑบาต ตามมีตามได้
๓. ย่อมสันโดษด้วย เสนาสนะ ตามมีตามได้
๔. ย่อมมี ปหานะ เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มี ภาวนา เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความยินดีในปหานะและภาวนานั้น เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น

ปธาน ๔ คือ

๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ นี้ชื่อว่ารักษาอินทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในอินทรีย์

๒. ปหานปธาน (เพียรละ) ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก (การเบียดเบียน)

๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง

๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา) ตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คือ

อัฏฐิกสัญญา - กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืือแต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน
ปุฬุวกสัญญา - กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด
วินีลกสัญญา - กำหนดหมายซายศพที่มีสีเขียวคล้ำ
วิจฉิททกสัญญา - กำหนดหมายซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
อุทธุมาตกสัญญา - กำหนดหมายซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด เป็นต้น

ญาณ ๔ คือ

๑. ธัมมญาณ - ความรู้ในธรรม
๒. อันวยญาณ - ความรู้ในการคล้อยตาม
๓. ปริจเฉทญาณ - ความรู้ในการกำหนด 
๔. สัมมติญาณ - ความรู้ในสมมติ

ญาณ ๔ คือ

๑. ทุกขญาณ - ความรู้ในทุกข์
๒. ทุกขสมุทยญาณ - ความรู้ในทุกขสมุทัย
๓. ทุกขนิโรธญาณ - ความรู้ในทุกขนิโรธ
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ - ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

องค์ของการบรรลุโสดา ๔ คือ

๑. สัปปุริสสังเสวะ - การคบสัตบุรุษ
๒. สัทธัมมัสสวนะ - การฟังพระสัทธรรม
๓. โยนิโสมนสิการ - การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ - การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ คือ

๑. เลื่อมใสแน่นแฟ้นใน พระพุทธเจ้า
๒. เลื่อมใสแน่นแฟ้นใน พระธรรม
๓. เลื่อมใสแน่นแฟ้นใน พระสงฆ์
๔. ประกอบด้วย ศีล อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ

สามัญญผล ๔ คือ

๑. โสดาปัตติผล
๒. สกทาคามิผล
๓. อนาคามิผล
๔. อรหัตตผล

ธาตุ ๔ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

อาหาร ๔ คือ

๑. กวฬิงการาหาร - อาหารที่ใส่ทางปาก
๒. ผัสสาหาร - อาหารคือ ผัสสะ
๓. มโนสัญเจตนาหาร - อาหาร คือ เจตนารมณ์แห่งใจ
๔. วิญญาณาหาร - อาหาร คือ ธาตุรู้

วิญญาณฐิติ ๔ คือ

๑. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่ง รูป มีรูปเป็นอารมณ์ 
๒. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่ง เวทนา มีเวทนาเป็นอารมณ์
๓. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่ง สัญญา มีสัญญาเป็นอารมณ์
๔. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่ง สังขาร มีสังขารเป็นอารมณ์

อคติ ๔ คือ

๑. ถึงความลำเอียง เพราะความรักใคร่กัน
๒. ถึงความลำเอียง เพราะความขัดเคืองกัน
๓. ถึงความลำเอียง เพราะความหลง
๔. ถึงความลำเอียง เพราะความกลัว

ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ คือ

๑. ตัณหาเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร
๒. ตัณหาเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
๓. ตัณหาเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
๔. ตัณหาเกิดเพราะเหตุแห่งความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป

ปฏิปทา ๔ คือ

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา - ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา - ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา - ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา - ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ปฏิปทาอีก ๔ คือ

๑. อักขมาปฏิปทา - ปฏิบัติไม่อดทน
๒. ขมาปฏิปทา - ปฏิบัติอดทน
๓. ทมาปฏิปทา - ปฏิบัติฝึก (ข่มใจ)
๔. สมาปฏิปทา - ปฏิบัติระงับ

ธรรมบท ๔ คือ

๑. ธรรมคือ ความไม่เพ่งเล็ง
๒. ธรรมคือ ความไม่พยาบาท
๓. ธรรมคือ ความระลึกชอบ
๔. ธรรมคือ ความตั้งใจไว้ชอบ

ธรรมสมาทาน ๔ คือ

๑. ธรรมสมาทานที่ให้ ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๒. ธรรมสมาทานที่ให้ ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
๓. ธรรมสมาทานที่ให้ สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๔. ธรรมสมาทานที่ให้ สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

ธรรมขันธ์ ๔ คือ

๑. ศีลขันธ์ 
๒. สมาธิขันธ์
๓. ปัญญาขันธ์ 
๔. วิมุตติขันธ์

อธิฏฐาน ๔ คือ

๑. ปัญญาธิฏฐาน - อธิษฐานด้วยปัญญา
๒. สัจจาธิฏฐาน - อธิษฐานด้วยสัจจะ
๓. จาคะธิฏฐาน - อธิษฐานด้วยการสละ 
๔. อุปสมาธิฏฐาน - อธิษฐานด้วยความสงบ

ปัญหาพยากรณ์ ๔ คือ

๑. ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
๒. ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
๓. ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้
๔. ปัญหาที่ควรงดเสีย

กรรม ๔ คือ

๑. กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่
๒. กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่
๓. กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาวมีอยู่
๔. กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่

สัจฉิกรณียธรรม ๔ คือ

๑. พึงทำให้แจ้งซึ่งขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ
๒. พึงทำให้แจ้งซึ่งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ
๓. พึงทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์แปดด้วยกาย
๔. พึงทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา

โอฆะ ๔ คือ

๑. กาโมฆะ - ห้วงน้ำคือ กาม
๒. ภโวฆะ - ห้วงน้ำคือ ภพ 
๓. ทิฏโฐฆะ - ห้วงน้ำคือ ทิฐิ
๔. อวิชโชฆะ - ห้วงน้ำคือ อวิชชา

โยคะ ๔ คือ

๑. กามโยคะ - เครื่องรัดรึงคือ กาม
๒. ภวโยคะ - เครื่องรัดรึงคือ ภพ
๓. ทิฏฐิโยคะ - เครื่องรัดรึงคือ ทิฐิ
๔. อวิชชาโยคะ - เครื่องรัดรึงคือ อวิชชา

วิสังโยคะ ๔ คือ

๑. กามโยควิสังโยคะ - ความพรากจากโยคะแห่งกาม
๒. ภวโยควิสังโยคะ - ความพรากจากโยคะแห่งภพ
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ - ความพรากจากโยคะแห่งทิฐิ
๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ - ความพรากจากโยคะแห่งอวิชชา

คันถะ ๔ คือ

๑. อภิชฌากายคันถะ - เครื่องรัดรึงคือการเพ่งเล็ง
๒. พยาปาทกายคันถะ - เครื่องรัดรึงคือพยาบาท
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ - เครื่องรัดรึงคือสีลัพพตปรามาส
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ - เครื่องรัดรึงคือการยึดว่าสิ่งนี้เท่านั้นเป็นจริง

อุปาทาน ๔ คือ

๑. กามุปาทาน - ยึดมั่นถือมั่นกาม
๒. ทิฏฐุปาทาน - ยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน - ยึดมั่นถือมั่นศีลและพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน - ยึดมั่นถือมั่นวาทะว่าตน

โยนิ ๔ คือ

๑. อัณฑชโยนิ - กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่
๒. ชลาพุชโยนิ - กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์
๓. สังเสทชโยนิ - กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล
๔. โอปปาติกโยนิ - กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา

การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ คือ

๑. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

การได้อัตภาพ ๔ คือ

๑. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนคนเดียว ไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น
๒. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรงกับความจงใจของตน
๓. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย  ตรงกับความจงใจของผู้อื่นด้วย
๔. การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตน  ทั้งไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น

ทักขิณาวิสุทธิ ๔ คือ

๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก มีอยู่
๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก มีอยู่
๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก มีอยู่
๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก มีอยู่

สังคหวัตถุ ๔ (ธรรมทำให้รักระลึกถึงกัน) คือ

๑. ทาน การให้ปัน
๒. ปิยวัชช - เจรจาวาจาที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
๓. อัตถจริยา - ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔. สมานัตตตา - ความเป็นผู้วางตนสม่ำเสมอ

อนริยโวหาร ๔ (วาจาของผู้ไม่ใช่อริยะ) คือ

๑. มุสาวาท - พูดเท็จ 
๒. ปิสุณาวาจา - พูดส่อเสียดให้คนเกลียดกัน
๓. ผรุสวาจา - พูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาป - พูดเพ้อเจ้อ

อริยโวหาร ๔ (วาจาของพระอริยะ) คือ

๑. มุสาวาทา เวรมณี - เว้นจากพูดเท็จ
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี - เว้นจากพูดส่อเสียดให้คนเกลียดกัน
๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี - เว้นจากพูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี - เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

อนริยโวหารอีก ๔ คือ

๑. เมื่อไม่ได้เห็น พูดว่า ได้เห็น | เมื่อได้เห็น พูดว่า ไม่ได้เห็น
๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่า ได้ยิน | เมื่อได้ยิน พูดว่า ไม่ได้ยิน
๓. เมื่อไม่ได้ทราบ พูดว่า ได้ทราบ | เมื่อได้ทราบ พูดว่า ไม่ได้ทราบ
๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้ง พูดว่า ได้รู้แจ้ง | เมื่อได้รู้แจ้ง พูดว่า ไม่ได้รู้แจ้ง

อริยโวหารอีก ๔ คือ

๑. เมื่อไม่ได้เห็น พูดว่า ไม่ได้เห็น | เมื่อได้เห็น พูดว่า ได้เห็น
๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่า ไม่ได้ยิน | เมื่อได้ยิน พูดว่า ได้ยิน
๓. เมื่อไม่ได้ทราบ พูดว่า ไม่ได้ทราบ | เมื่อได้ทราบ พูดว่า ได้ทราบ
๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้ง พูดว่า ไม่ได้รู้แจ้ง | เมื่อได้รู้แจ้ง พูดว่า ได้รู้แจ้ง

บุคคล ๔ คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ เป็นเครื่องทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้หายหิว ดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุข มีตนเป็นเสมือนพรหมอยู่ในปัจจุบัน

บุคคลอีก ๔ คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย

บุคคลอีก ๔ คือ

๑. บุคคลผู้มืดมาเกิด กลับมืดจากไป
๒. บุคคลผู้มืดมาเกิด กลับสว่างจากไป
๓. บุคคลผู้สว่างมาเกิด กลับมืดจากไป
๔. บุคคลผู้สว่างมาเกิด กลับสว่างจากไป

บุคคลอีก ๔ คือ

๑. สมณมจละ - เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
๒. สมณปทุมะ - เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวหลวง
๓. สมณปุณฑรีกะ - เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว
๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ - เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย