Main navigation

อายตนะภายใน ๖ คือ

๑. อายตนะ คือ ตา
๒. อายตนะ คือ หู 
๓. อายตนะ คือ จมูก 
๔. อายตนะ คือ ลิ้น
๕. อายตนะ คือ กาย
๖. อายตนะ คือ ใจ

อายตนะภายนอก ๖ คือ

๑. อายตนะ คือ รูป
๒. อายตนะ คือ เสียง
๓. อายตนะ คือ กลิ่น
๔. อายตนะ คือ รส
๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
๖. อายตนะ คือ ธรรม

วิญญาณ ๖ คือ

๑. จักขุวิญญาณ - ความรับรู้ทางตา
๒. โสตวิญญาณ - ความรับรู้ทางหู
๓. ฆานวิญญาณ - ความรับรู้ทางจมูก
๔. ชิวหาวิญญาณ - ความรับรู้ทางลิ้น
๕. กายวิญญาณ - ความรับรู้ทางกาย
๖. มโนวิญญาณ - ความรับรู้ทางใจ

ผัสสะ ๖ คือ

๑. จักขุสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยตา
๒. โสตสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยหู
๓. ฆานสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยจมูก 
๔. ชิวหาสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยลิ้น 
๕. กายสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยกาย
๖. มโนสัมผัส - ความถูกต้องอาศัยใจ

เวทนา ๖ คือ

๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการเห็น
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการได้ยิน
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการดม
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการลิ้ม
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากการแตะต้อง
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา - ความรู้สึกที่เกิดจากใจ

สัญญา ๖ คือ

๑. รูปสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมสัญญา - สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์

สัญเจตนา ๖ คือ

๑. รูปสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมสัญเจตนา - ความจงใจที่เกิดขึ้นเพราะยึดธรรมเป็นอารมณ์

ตัณหา ๖ คือ

๑. รูปตัณหา - ความกระหายในรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททตัณหา - ความกระหายในเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธตัณหา - ความกระหายในกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสตัณหา - ความกระหายในรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพตัณหา - ความกระหายในโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมตัณหา - ความกระหายในธรรมารมณ์เป็นอารมณ์

อคารวะ ๖ คือ

๑. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน พระศาสดา
๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน พระธรรม
๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน พระสงฆ์
๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน การศึกษา
๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน ความไม่ประมาท
๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน การปฏิสันถาร (การสนทนาพาที) อยู่

คารวะ ๖ คือ

๑. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน พระศาสดา อยู่
๒. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน พระธรรม อยู่
๓. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน พระสงฆ์ อยู่
๔. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน การศึกษา อยู่
๕. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน ความไม่ประมาท อยู่
๖. เป็นผู้เคารพยำเกรงใน การปฏิสันถาร (การสนทนาพาที) อยู่

โสมนัสสุปวิจาร ๖ คือ

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส

โทมนัสสุปวิจาร ๖ คือ

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส

อุเปกขูปวิจาร ๖ คือ

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

สาราณียธรรม ๖ คือ

ธรรมเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ระลึกถึง และความสามัคคี

๑. เข้าไปตั้ง กายกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๒. เข้าไปตั้ง วจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓. เข้าไปตั้ง มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๔. ลาภอันใดได้มาแล้วโดยธรรม แบ่งปัน กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล

๕. เป็นผู้เสมอกันใน ศีล ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฐิ เป็นไปเพื่อสมาธิ กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๖. เป็นผู้เสมอกันโดย ทิฏฐิ ซึ่งประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ คือ

๑. เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้
๒. เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอ
๓. เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด
๖. เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก

ธาตุ ๖ คือ

๑. ปฐวีธาตุ - ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ - ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ - ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ - ธาตุลม
๕. อากาศธาตุ - ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย
๖. วิญญาณธาตุ - ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้

นิสสารณียธาตุ ๖ คือ

เมื่ออบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว

๑. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท
๒. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณา เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิหิงสา (ความเบียดเบียน)
๓. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ
๔. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ
๕. ธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิต เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิต
๖. ธรรมชาติคือ การเพิกถอน สละออกเสียซึ่งการถือว่าเรามีอยู่ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย

อนุตตริยะ ๖ คือ

๑. ทัสสนานุตตริยะ - การเห็นที่ยอดเยี่ยม
๒. สวนานุตตริยะ - การฟังที่ยอดเยี่ยม
๓. ลาภานุตตริยะ - การได้ที่ยอดเยี่ยม
๔. สิกขานุตตริยะ - การศึกษาที่ยอดเยี่ยม
๕. ปาริจริยานุตตริยะ - การบำเรอที่ยอดเยี่ยม
๖. อนุสสตานุตตริยะ - การระลึกถึงที่ยอดเยี่ยม

อนุสสติฐาน ๖ คือ

๑. พุทธานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเสมอ
๒. ธัมมานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระธรรมเสมอ
๓. สังฆานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เสมอ
๔. สีลานุสสติ - ระลึกถึงศีลเสมอ
๕. จาคานุสสติ - ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคเสมอ
๖. เทวตานุสสติ - ระลึกถึงเทวดาเสมอ

สตตวิหาร ๖ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) คือ

๑. เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว
๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว
๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว
เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

อภิชาติ ๖ คือ

๑. เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายดำ
๒. เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว
๓. เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำ ไม่ขาว
๔. เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายขาว
๕. เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ
๖. เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำ ไม่ขาว

นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ คือ

๑. อนิจจสัญญา - กำหนดหมายความไม่เที่ยง
๒. อนิจเจทุกขสัญญา - กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง
๓. ทุกเขอนัตตสัญญา - กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์
๔. ปหานสัญญา - กำหนดหมายเพื่อละ
๕. วิราคสัญญา - กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด
๖. นิโรธสัญญา - กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท