Main navigation

อริยทรัพย์ ๗ คือ

๑. สัทธาธนัง - ทรัพย์ คือ ศรัทธา
๒. สีลธนัง - ทรัพย์ คือ ศีล
๓. หิริธนัง - ทรัพย์ คือ หิริ
๔. โอตตัปปธนัง - ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ
๕. สุตธนัง - ทรัพย์ คือ สุตะ
๖. จาคธนัง - ทรัพย์ คือ จาคะ
๗. ปัญญาธนัง - ทรัพย์ คือ ปัญญา

สัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ 
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

บริขารของสมาธิ ๗ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ
๖. สัมมาวายามะ - พยายามชอบ
๗. สัมมาสติ - ระลึกชอบ

อสัทธรรม ๗ คือ

๑. เป็นคนไม่มีศรัทธา
๒. เป็นคนไม่มีหิริ
๓. เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ 
๔. เป็นคนมีสุตะน้อย
๕. เป็นคนเกียจคร้าน
๖. เป็นคนมีสติหลงลืม 
๗. เป็นคนมีปัญญาทราม

สัทธรรม ๗ คือ

๑. เป็นคนมีศรัทธา
๒. เป็นคนมีหิริ
๓. เป็นคนมีโอตตัปปะ 
๔. เป็นคนมีพหูสูต
๕. เป็นคนปรารภความเพียร 
๖. เป็นคนมีสติมั่นคง 
๗. เป็นคนมีปัญญา

สัปปุริสธรรม ๗ คือ

๑. เป็นผู้รู้จักสัจธรรม
๒. เป็นผู้รู้จักประโยชน์อันยิ่ง
๓. เป็นผู้รู้จักตน
๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ
๕. เป็นผู้รู้จักกาล 
๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท 
๗. เป็นผู้รู้จักบุคคล

นิททสวัตถุ ๗ คือ

๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การสมาทานสิกขา
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การไตร่ตรองธรรม
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การปราบปรามความอยาก
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การเร้นอยู่
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การปรารภความเพียร
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน สติและปัญญาเครื่องรักษาตน
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าใน การแทงตลอดซึ่งทิฏฐิ

สัญญา ๗ คือ

๑. อนิจจสัญญา - กำหนดหมายความไม่เที่ยง
๒. อนัตตสัญญา - กำหนดหมายเป็นอนัตตา
๓. อสุภสัญญา - กำหนดหมายความไม่งาม
๔. อาทีนวสัญญา - กำหนดหมายโทษ
๕. ปหานสัญญา - กำหนดหมายเพื่อละ
๖. วิราคสัญญา - กำหนดหมายการปล่อยวาง
๗. นิโรธสัญญา - กำหนดหมายความดับ

พละ ๗ คือ

๑. สัทธาพละ - พลัง คือ ศรัทธา
๒. วิริยพละ - พลัง คือ ความเพียร
๓. หิริพละ - พลัง คือ หิริ
๔. โอตตัปปพละ - พลัง คือ โอตตัปปะ
๕. สติพละ - พลัง คือ สติ
๖. สมาธิพละ - พลัง คือ สมาธิ
๗. ปัญญาพละ - พลัง คือ ปัญญา

วิญญาณฐิติ ๗ คือ

๑. สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก

๒. สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน เช่น พวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน

๓. สัตว์พวกหนึ่งมีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสระ

๔. สัตว์พวกหนึ่งมีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา

๕. สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ความว่างหาที่สุดมิได้

๖. สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

๗. สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ๆ

ทักขิเณยยบุคคล ๗ คือ

๑. อุภโตภาควิมุตต - ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
๒. ปัญญาวิมุตต - ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญาในฌาน
๓. กายสักขี - ท่านผู้สามารถด้วยอำนาจสมาธิ
๔. ทิฏฐิปัตต - ท่านผู้ถึงแล้วด้วยปัญญา
๕. สัทธาวิมุตต - ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธาอันยิ่ง
๖. ธัมมานุสารี - ท่านผู้ประพฤติตามธรรม
๗. สัทธานุสารี -  ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา

อนุสัย ๗ คือ

๑. กามราคานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความกำหนัดในกาม
๒. ปฏิฆานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความกระทบกระทั่ง
๓. ทิฏฐานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความเห็น
๔. วิจิกิจฉานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความสงสัย
๕. มานานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความถือตัว
๖. ภวราคานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ การยึดความเป็น
๗. อวิชชานุสัย - สิ่งที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความไม่รู้

สัญโญชน์ ๗ คือ

๑. กามสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความใคร่
๒. ปฏิฆสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต
๓. ทิฏฐิสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความเห็น
๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความสงสัย
๕. มานสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความถือตัว
๖. ภวราคสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความกำหนัดในภพ
๗. อวิชชาสัญโญชน์ - เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความไม่รู้

อธิกรณสมถะ ๗ คือ
(การระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว)

๑. พึงให้สัมมุขาวินัย
๒. พึงให้สติวินัย
๓. พึงให้อมุฬหวินัย 
๔. พึงปรับตามปฏิญญา
๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. พึงปรับตามความผิดของจำเลย 
๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี (ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า)