มิจฉัตตะ ๘ คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ - เห็นผิด
๒. มิจฉาสังกัปปะ - ดำริผิด
๓. มิจฉาวาจา - วาจาผิด
๔. มิจฉากัมมันตะ - การงานผิด
๕. มิจฉาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตผิด
๖. มิจฉาวายามะ - พยายามผิด
๗. มิจฉาสติ - ระลึกผิด
๘. มิจฉาสมาธิ - ตั้งจิตผิด
สัมมัตตะ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา - วาจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ
๖. สัมมาวายามะ - พยายามชอบ
๗. สัมมาสติ - ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ - ตั้งจิตชอบ
ทักขิเณยยบุคคล ๘
๑. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
๒. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน
๓. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
๔. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี
๕. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
๖. ท่านที่เป็นพระอนาคามี
๗. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง
๘. ท่านที่เป็นพระอรหันต์
กุสีตวัตถุ ๘ (ลักษณะแห่งความเกียจคร้าน)
บุคคลไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง โดยอ้างเหตุนี้
๑. ต้องทำการงาน ร่างกายเหน็ดเหนื่อย จึงนอนเสีย
๒. ทำการงานเสร็จแล้ว คิดว่าควรที่จะนอน จึงนอนเสีย
๓. ต้องเดินทาง ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรนอนก่อน จึงนอนเสีย
๔. เราได้เดินทางถึงแล้ว ควรที่จะนอน จึงนอนเสีย
๕. เที่ยวไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะพอแก่ความต้องการ จึงคิดว่าร่างกายไม่ควรแก่การงาน จึงนอนเสีย
๖. เที่ยวไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะพอแก่ความต้องการแล้ว ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเหมือนถั่วที่ชุ่มน้ำ จึงคิดว่าไม่ควรแก่การงาน จึงนอนเสีย
๗. อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น มีความคิดว่า อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมควรเพื่อจะนอน จึงนอนเสีย
๘. หายจากไข้ มีความคิดว่า เราหายจากไข้ได้ไม่นาน ร่างกายยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน จึงนอนเสีย
อารัพภวัตถุ ๘ คือ
(ลักษณะแห่งความเพียร)
บุคคลย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ดังนี้
๑. จะต้องทำการงาน มีความคิดว่า ควรที่เราจะปรารภความเพียรเสียก่อนทีเดียว
๒. ทำการงานเสร็จแล้ว มีความคิดว่า เราทำการงานเสร็จแล้ว ควรที่เราจะปรารภความเพียร
๓. จะต้องเดินทาง มีความคิดว่า ควรที่เราจะปรารภความเพียร
๔. เดินทางไปถึงแล้ว มีความคิดว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ควรที่เราจะปรารภความเพียร
๕. เที่ยวไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่พอแก่ ความต้องการ มีความคิดว่า ร่างกายของเรานั้นเบา ควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียร
๖. เที่ยวไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะพอแก่ความต้องการ มีความคิดว่า ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียร
๗. อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น มีความคิดว่า อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ควรที่เราจะปรารภความเพียร
๘. หายจากไข้ มีความคิดว่า เราหายจากไข้แล้ว ควรที่เราจะปรารภความเพียร
ทานวัตถุ ๘ คือ
๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ
๒. ให้ทานเพราะกลัว
๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้มได้ คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่ จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงามย่อมจะระบือไป
๘. ให้ทานเพื่อประดับจิตและเป็นบริขารของจิต
ทานุปบัติ ๘ คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังเพื่อความเป็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอยู่ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเหล่า จาตุมหาราชิกา จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า ดาวดึงส์ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า ยามา จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า ดุสิตา จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า นิมมานรดี จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวกเทพเหล่า ปรนิมมิตวสวัตตี จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทานแล้วมุ่งหวังความเป็นสหายของพวก พรหม จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ความตั้งใจของผู้มีศีล ปราศจากราคะ ย่อมสำเร็จได้เพราะปราศจากราคะ
โลกธรรม ๘ คือ
๑. มีลาภ
๒. ไม่มีลาภ
๓. มียศ
๔. ไม่มียศ
๕. นินทา
๖. สรรเสริญ
๗. สุข
๘. ทุกข์
บริษัท ๘ ที่เกี่ยวข้องกับโลกโดยมาก คือ
๑. บริษัทกษัตริย์
๒. บริษัทพราหมณ์
๓. บริษัทคฤหบดี
๔. บริษัทสมณะ
๕. บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
๖. บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์
๗. บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี
๘. บริษัทพรหม
อภิภายตนะ ๘ คือ
๑. สำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็ก ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น
๒. สำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่ใหญ่ ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น
๓. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็ก ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น
๔. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่ใหญ่ ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น
๕. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีเขียว ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น
๖. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีเหลือง ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น
๗. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีแดง ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น
๘. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีขาว ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น
วิโมกข์ ๘
๑. บุคคลเห็น รูป ทั้งหลาย
๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก
๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งาม ทีเดียว
๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่
๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่
๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ๆ
๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่
๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่