นาถกรณธรรม ๑๐ (ธรรมอันเป็นที่พึ่ง) คือ
๑. เป็นผู้สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น ทรงธรรม มีธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
๔. เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนี
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้น ๆ สามารถทำสามารถจัดกรณียกิจใหญ่น้อยทั้งหลาย
๖. เป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย
๗. เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสี่
๘. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่
๙. เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ ระลึกได้
๑๐. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
กสิณายตนะ ๑๐ (แดนกสิณ) คือ
๑. ย่อมจำ ปฐวีกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
๒. ย่อมจำ อาโปกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
๓. ย่อมจำ เตโชกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
๔. ย่อมจำ วาโยกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
๕. ย่อมจำ นีลกสิณ (สีเขียว) ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
๖. ย่อมจำ ปีตกสิณ (สีเหลือง) ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
๗. ย่อมจำ โลหิตกสิณ (สีแดง) ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
๘. ย่อมจำ โอทาตกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณหามิได้
๙. ย่อมจำ อากาสกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
๑๐. ย่อมจำ วิญญาณกสิณ ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
อกุศลกรรมบถ พฤติกรรมที่เป็นโทษ ๑๐ คือ
๑. ปาณาติบาต - การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทาน - การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจาร - การประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท - พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา - พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา - พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ - พูดเพ้อเจ้อ
๘. อภิชฌา - ความโลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท - ความปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - ความเห็นผิด
กุศลกรรมบถ พฤติกรรมที่ป็นประโยชน์ ๑๐ คือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี - เจตนาเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌา - ความไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. อัพยาบาท - ความไม่ปองร้ายเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ
อริยวาส ๑๐ (ที่อยู่พระอริยะ) คือ
๑. เป็นผู้มีกามฉันทะ พยาบาท ความสงสัยลังเล ความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน อันละขาดแล้ว
๒. เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย ในการเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส นึกคิด
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันมีสติ เป็นเครื่องอารักขา
๔. เป็นผู้พิจารณาแล้วเสพ พิจารณาแล้วอดกลั้น พิจารณาแล้วเว้น พิจารณาแล้วบรรเทา
๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่าง ของสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก อันบรรเทาเสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละ สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว
๖. เป็นผู้ละได้ขาดแล้ว ซึ่งการแสวงหากาม ละได้ขาดแล้วซึ่งการแสวงหาภพ สละคืนแล้วซึ่งการแสวงหาพรหมจรรย์
๗. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะละความดำริในทางกามได้ขาดแล้ว ละความดำริในทางพยาบาทได้ขาดแล้ว ละความดำริในทางเบียดเบียนได้ขาดแล้ว
๘. เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์
๙. เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว จากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
๑๐. เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ โทสะ โมหะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
อเสขธรรม ๑๐ คือ
๑. ความเห็นชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๒. ความดำริชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๓. เจรจาชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๔. การงานชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๕. การเลี้ยงชีวิตชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๖. ความเพียรชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๗. ความระลึกชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๘. ความตั้งใจชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๙. ความรู้ชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ
๑๐. ความหลุดพ้นชอบ ที่เป็นของพระอเสขะ