Main navigation

ธรรม ๘ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่

เหตุปัจจัย ๘ เพื่อความได้ปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว คือ

๑.  การอาศัยครูหรือสพรหมจรรย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู รูปใดรูปหนึ่ง เข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ ความรักและความ เคารพอย่างแรงกล้าในท่านนั้น

๒.  เข้าไปหาท่านเสมอ ๆ สอบถามไต่ถามธรรมกับท่าน

๓.  ยังความหลีกออกแห่งกาย และความหลีกออกแห่งจิต

๔.  เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย

๕.  มีสุตตะมากซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด บริสุทธิ์ บริบูรณ์

๖.  ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม แห่งกุศลธรรม

๗.  มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญา เครื่องรักษาตน อันยอดเยี่ยม

๘.  พิจารณาเห็นความเกิดความดับในอุปาทานขันธ์ ๕

ธรรม ๘ อย่างควรให้เจริญ ได้แก่

อริยมรรค ๘ คือ

ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑
การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑
ระลึกชอบ ๑ ใจตั้งมั่นชอบ ๑

ธรรม ๘ อย่างควรกำหนดรู้ ได้แก่

โลกธรรม ๘ คือ

ความได้ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ความได้ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑

ธรรม ๘ อย่างควรละ ได้แก่

มิจฉัตตะ ๘ คือ

ความเห็นผิด ๑ ความดำริผิด ๑ เจรจาผิด ๑
การงานผิด ๑ เลี้ยงชีพผิด ๑ พยายามผิด ๑
ระลึกผิด ๑ ตั้งใจมั่นผิด ๑

ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ได้แก่

เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน ไม่ปรารภความเพียร ๘ คือ

๑.  นอนเพราะจะทำการงาน
๒.  นอนเพราะทำการงานเสร็จ
๓.  นอนเพราะจะต้องเดินทาง
๔.  นอนเพราะเพิ่งเดินทางถึง
๕.  นอนเพราะไม่ได้อาหาร
๖.  นอนเพราะกินอาหารอิ่ม
๗.  นอนเพราะป่วย
๘.  นอนเพราะหายป่วย

ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ได้แก่

เหตุเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร ๘ คือ

๑.  ปรารภความเพียรเพราะจะทำการงาน
๒.  ปรารภความเพียรเพราะทำการงานเสร็จ
๓.  ปรารภความเพียรเพราะจะต้องเดินทาง
๔.  ปรารภความเพียรเพราะเพิ่งเดินทางถึง
๕.  ปรารภความเพียรเพราะไม่ได้อาหาร
๖.  ปรารภความเพียรเพราะกินอาหารอิ่ม
๗.  ปรารภความเพียรเพราะป่วย
๘.  ปรารภความเพียรเพราะหายป่วย

ธรรม ๘ อย่างแทงตลอดได้ยาก ได้แก่

กาลที่มิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์

เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ แต่บางบุคคลนี้

๑.  เข้าถึงนรกเสีย
๒.  เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย
๓.  เข้าถึงเปตวิสัยเสีย
๔.  เข้าถึงเทพนิกายซึ่งมีอายุยืนอย่างใดอย่างหนึ่งเสีย
๕.  เกิดในปัจจันตชนบท ถิ่นของคนผู้ไม่รู้ความ
๖.  เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เป็นมิจฉาทิฐิ
๗.  เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เป็นคนมีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นใบ้
๘.  เป็นคนมีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นใบ้ รู้ความ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติในโลก

ธรรม ๘ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ได้แก่

มหาปุริสวิตก ๘ คือ

๑.  ธรรมนี้ของผู้มีความปรารถนาน้อย
๒.  ธรรมนี้ของผู้สันโดษ
๓.  ธรรมนี้ของผู้สงัด
๔.  ธรรมนี้ของผู้ปรารภความเพียร
๕.  ธรรมนี้ของผู้เข้าไปตั้งสติไว้
๖.  ธรรมนี้ของผู้มีจิตตั้งมั่น
๗.  ธรรมนี้ของผู้มีปัญญา
๘.  ธรรมนี้ของผู้ไม่มีธรรมเป็นเครื่องหน่วงให้ เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี

ธรรม ๘ อย่างควรรู้ยิ่ง ได้แก่

อภิภายตนะ ๘

๑. สำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็ก ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๒. สำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่ใหญ่ ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๓. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็ก ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๔. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่ใหญ่ ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๕. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีเขียว ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๖. สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีเหลือง ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๗.  สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีแดง ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

๘.  สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกสีขาว ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วว่า เรารู้ เราเห็น

ธรรม ๘ อย่างควรทำให้แจ้ง ได้แก่

วิโมกข์ ๘

๑. บุคคลเห็น รูป ทั้งหลาย

๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก

๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งาม ทีเดียว

๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่

๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะ บุคคลย่อมเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่

๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ บุคคลย่อมเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ๆ

๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ บุคคลย่อมเข้าถึง เนวสัญญายตนะ อยู่

๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ บุคคลย่อมเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่