ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่
ธรรมอันมีมูลมาแต่โยนิโสมนสิการ ๙ คือ
เมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด ๑
ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์ ๑
กายของผู้มีใจกอปรด้วยปีติย่อมสงบ ๑
ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข ๑
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ๑
ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ๑
ผู้รู้เห็นตามเป็นจริงย่อมหน่าย ๑
เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ๑
เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น ๑
ธรรม ๙ อย่างควรให้เจริญ ได้แก่
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ คือ
๑. ความหมดจดแห่งศีล
๒. ความหมดจดแห่งจิต
๓. ความหมดจดแห่งทิฐิ
๔. ความหมดจดแห่งญาณเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
๕. ความหมดจดแห่งญาณเห็นว่าใช่ทางหรือมิใช่ทาง
๖. ความหมดจดแห่งญาณเห็นทางปฏิบัติที่สมควรแก่ธรรม
๗. ความหมดจดแห่งญาณทัสนะ
๘. ความหมดจดแห่งปัญญา
๙. ความหมดจดแห่งวิมุตติ
ธรรม ๙ อย่างควรกำหนดรู้ ได้แก่
สัตตาวาส ๙
๑. มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางพวก
๒. มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน
๓. มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสรพรหม
๔. มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายเดียวกัน มีสัญญาเดียวกัน เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหพรหม
๕. มีสัตว์พวกหนึ่ง ไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์ เช่น พวกเทพเหล่าอสัญญีสัตว์
๖. มีสัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
๗. มีสัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
๘. มีสัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญานัญจายตนะโดยประการ ทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
๙. มีสัตว์พวกหนึ่ง ล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า นี่สงบ นี่ประณีต
ธรรม ๙ อย่างควรละ ได้แก่
ธรรมอันมีมูลมาแต่ตัณหา ๙ คือ
๑. ความแสวงหาเพราะอาศัยตัณหา
๒. ความได้เพราะอาศัยความแสวงหา
๓. ความตกลงใจย่อมเพราะอาศัยการได้
๔. ความกำหนัดพอใจเพราะอาศัยความตกลงใจ
๕. ความกล้ำกลืนเพราะอาศัยความกำหนัด
๖. ความหวงแหนเพราะอาศัยความกล้ำกลืน
๗. ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน
๘. การตามรักษาเพราะอาศัยความตระหนี่
๙. อกุศลธรรมอันลามก คือ ถือศัสตรา ความทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน กล่าวส่อเสียด และการพูดเท็จ เพราะอาศัยความรักษา
ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ได้แก่่
เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ คือ
ผู้นี้เคยทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
ผู้นี้เคยทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ผู้นี้เคยทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ได้แก่
ความกำจัดความอาฆาต ๙
ธรรม ๙ อย่างแทงตลอดได้ยาก ได้แก่
ความต่าง ๙ คือ
๑. ความต่างแห่งธาตุ
๒. ความต่างแห่งผัสสะ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
๓. ความต่างแห่งเวทนา ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
๔. ความต่างแห่งสัญญา ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
๕. ความต่างแห่งความดำริ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
๖. ความต่างแห่งความพอใจ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งความดำริ
๗. ความต่างแห่งความเร่าร้อน ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งความพอใจ
๘. ความต่างแห่งความแสวงหา ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อน
๙. ความต่างแห่งความได้ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งความแสวงหา
ธรรม ๙ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ได้แก่
สัญญา ๙ คือ
ความกำหนดหมายว่าสังขารไม่งาม ๑
ความกำหนดหมายในความตาย ๑
ความกำหนดหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล ๑
ความกำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง ๑
ความกำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ๑
ความกำหนดหมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ๑
ความกำหนดหมายในการละ ๑
ความกำหนดหมายในวิราคธรรม ๑
ธรรม ๙ อย่างควรรู้ยิ่ง ได้แก่
อนุปุพพวิหาร ๙ คือ
๑. ปฐมฌาน
๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตนฌาน
๖. วิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อากิญจัญญายตนฌาน
๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ
ธรรม ๙ อย่างควรทำให้แจ้ง ได้แก่
อนุปุพพนิโรธ ๙ คือ
๑. เมื่อเข้าปฐมฌาน กามสัญญาดับ
๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารดับ
๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติดับ
๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะดับ
๕. เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาดับ
๖. เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาดับ
๗. เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาดับ
๘. เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนะดับ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ