Main navigation

ธรรม ๑๐ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่

ธรรมอันเป็นที่พึ่ง ๑๐ คือ

๑.  มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย มรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย

๒.  มีธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด อันสดับแล้ว ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว

๓.  มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

๔.  เป็นผู้ว่าง่าย อดทน

๕.  ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาในกรณียะนั้น ๆ

๖.  เป็นผู้ใคร่ในธรรม มีความปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย

๗.  เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสี่

๘.  ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม และยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม

๙.  มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน อย่างยอดเยี่ยม

๑๐. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เจริญ ได้แก่

แดนแห่งกสิณ ๑๐ คือ

๑.  ปฐวีกสิณ
๒.  อาโปกสิิณ
๓.  เตโชกสิณ
๔.  วาโยกสิณ
๕.  นีลกสิณ
๖.  ปีตกสิณ
๗.  โลหิิตกสิณ
๘.  โอทาตกสิิณ
๙.  อากาสกสิณ
๑๐.  วิญญาณกสิณ

ธรรม ๑๐ อย่างควรกำหนดรู้ ได้แก่

อายตนะ ๑๐ คือ 

นัยน์ตา - รูป 
หู - เสียง 
จมูก - กลิ่น
ลิ้น - รส 
กาย - โผฏฐัพพะ

ธรรม ๑๐ อย่างควรละ ได้แก่

ความเห็นผิด ความดำริผิด เจรจาผิด
การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด
ระลึกผิด ตั้งใจผิด ความรู้ผิด
ความหลุดพ้นที่ผิด

ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ได้แก่

อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ

ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
อยากได้ของเขา ปองร้ายเขา เห็นผิดธรรม

ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ได้แก่

กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ

เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม
เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด
เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
ไม่อยากได้ของเขา ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ

ธรรม ๑๐ อย่างแทงตลอดได้ยาก ได้แก่

อริยวาส ๑๐ คือ

๑.  ละองค์ ๕ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ความสงสัยลังเลได้แล้ว

๒.  ประกอบด้วยองค์ ๖ คือ ไม่ยินดียินร้าย เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ในการรับรู้ผัสสะทางอายตนะทั้ง ๖

๓.  มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา คือ สติ

๔.  มีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน คือ พิจารณาแล้วเสพ พิจารณาแล้วอดกลั้น พิจารณาแล้วเว้น และพิจารณาแล้วบรรเทา

๕.  มีสัจจะเฉพาะอันบรรเทาแล้วจากการยึดถือความเป็นจริงเพียงบางส่วนของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก

๖.  มีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ คือ ละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ ละการแสวงหาพรหมจรรย์

๗.  มีความดำริไม่ขุ่นมัว คือ ละความดำริในกาม ความดำริ ในความพยาบาท ความดำริในความเบียดเบียน

๘.  มีกายสังขารอันระงับแล้ว คือ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา และสติบริสุทธิ์อยู่

๙.  มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว คือ พ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ

๑๐. มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ  โทสะ โมหะ มีรากอันเราถอนขึ้นแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

ธรรม ๑๐ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ได้แก่

สัญญา ๑๐ คือ

ความกำหนดหมายว่าสังขารไม่งาม ๑
ความกำหนดหมายในความตาย ๑
ความกำหนดหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล ๑
ความกำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง ๑
ความกำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ๑
ความกำหนดหมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ๑
ความกำหนดหมายในการละ ๑
ความกำหนดหมายในวิราคธรรม ๑
ความกำหนดหมายในความดับ ๑

ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง ได้แก่

นิชชิณวัตถุ ๑๐ คือ

ความเห็นผิด อันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ ๑

ความดำริผิด อันบุคคลผู้ดำริชอบย่อมละได้ ๑

การเจรจาผิด อันบุคคลผู้เจรจาชอบย่อมละได้ ๑

การงานผิด อันบุคคลผู้ทำการงานชอบย่อมละได้ ๑

การเลี้ยงชีพผิด อันบุคคลผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ ๑

ความพยายามผิด อันบุคคลผู้พยายามชอบย่อมละได้ ๑

ความระลึกผิด อันบุคคลผู้ระลึกชอบย่อมละได้ ๑

ความมีใจตั้งไว้ผิด อันบุคคลผู้ตั้งใจชอบย่อมละได้ ๑

ความรู้ผิด อันบุคคลผู้รู้ชอบย่อมละได้ ๑

ความหลุดพ้นผิด อันบุคคลผู้พ้นชอบย่อมละได้ ๑

อนึ่ง อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิด เพราะปฏิปทาผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมเจริญบริบูรณ์ เพราะมีปฏิปทาชอบเป็นปัจจัย

ธรรม ๑๐ อย่างควรทำให้แจ้ง ได้แก่

อเสขธรรม ๑๐ คือ

ความเห็นชอบ ของพระอเสขะ
ความดำริชอบ ของพระอเสขะ
การเจรจาชอบ ของพระอเสขะ
การงานชอบ ของพระอเสขะ
การเลี้ยงชีพชอบ ของพระอเสขะ
ความพยายามชอบ ของพระอเสขะ
การระลึกชอบ ของพระอเสขะ
ความมีใจตั้งมั่นชอบ ของพระอเสขะ
ความรู้ชอบ ของพระอเสขะ
ความหลุดพ้นชอบ ของพระอเสขะ