(๑) โยคะ ๔ ประการ คือ
- กามโยคะ ๑
- ภวโยคะ ๑
- ทิฏฐิโยคะ ๑
- อวิชชาโยคะ ๑
กามโยคะ คือ ความไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความเยื่อใย ความหมกมุ่น ความกระหาย ความเร่าร้อน ความหยั่งลงในกาม และความทะยานอยากเพราะกาม ในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่ากามโยคะ
ภวโยคะ ความไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความเยื่อใย ความหมกมุ่น ความกระหาย ความเร่าร้อน ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพในภพทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่าภวโยคะ
ทิฏฐิโยคะ คือ ความไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความเยื่อใย ความหมกมุ่น ความกระหาย ความเร่าร้อน ความหยั่งลงในทิฏฐิ และความทะยานอยากเพราทิฎฐิในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่าทิฏฐิโยคะ
อวิชชาโยคะ คือ ความไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น
ผู้ไม่เกษมจากโยคะ คือ บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้