Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

พ้นการเกิดและไม่เกิด I อัคคิวัจฉโคตตสูตร

พุทธวิธีปฏิบัติธรรม
พ้นการเกิดและไม่เกิด
อัคคิวัจฉโคตตสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๔๔-๒๕๒

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

เสียง : 6:37 นาที
ปฏิบัติ : 15 นาที

----------------

ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย

คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร

คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร

คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร

ดูกรวัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป มีคุณอันลึก อันใคร ๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร ฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้

บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด... เพราะสัญญาใด... เพราะสังขารเหล่าใด... เพราะวิญญาณใด...

เวทนานั้น สัญญานั้น สังขารนั้น วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้ดุจเป็นตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการ นับว่าวิญญาณ มีคุณอันลึก อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยากเปรียบเหมือนมหาสมุทร ฉะนั้น

ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิด ก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้

พระสูตร
อัคคิวัจฉโคตตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๔๔-๒๕๒