Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

ละทิฏฐิปล่อยวางขันธ์ 5 I อัคคิวัจฉโคตตสูตร

พุทธวิธีปฏิบัติธรรม
ละทิฏฐิปล่อยวางขันธ์ 5
อัคคิวัจฉโคตตสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๔๗

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

เสียง : 16:54 นาที
ปฏิบัติ : 30 นาที

----------------

ความเห็นว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง
โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น
ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป
มีอยู่ ไม่มีอยู่
มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี
มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่

ดังนี้นั้น เป็นที่รกชัฏ เป็นความเห็นอย่างกันดาร เป็นเสี้ยนหนาม เป็นความเห็นที่กวัดแกว่ง เป็นความเห็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ เป็นไปด้วยทุกข์ ด้วยความลำบาก ด้วยความคับแค้น ด้วยความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

เพราะเห็นโทษ จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิ โดยประการทั้งปวง

ตถาคตทรงกำจัดความเห็นแล้ว เพราะเห็นแล้วว่า

นี้ รูป นี้ความเกิดแห่งรูป นี้ ความดับแห่งรูป

นี้ เวทนา นี้สัญญา นี้ความเกิดแห่งสัญญา นี้ความดับแห่งสัญญา

นี้ สังขาร นี้ความเกิดแห่งสังขาร นี้ดับแห่งสังขาร

นี้ วิญญาณ นี้ความเกิดแห่งวิญญาณ นี้ความดับแห่งวิญญาณ

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า เราพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะคลายกำหนัด เพราะดับสนิท เพราะสละ เพราะปล่อย เพราะไม่ถือมั่น ซึ่งความสำคัญทั้งปวง ซึ่งความต้องการทั้งปวง ซึ่งความถือว่าเรา ว่าของเรา และความถือตัวอันนอนอยู่ในสันดานทั้งปวง

 

พระสูตร
อัคคิวัจฉโคตตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๒๔๗