Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

มหาสติ: กาย - นวสีวถิกาบรรพ

พุทธวิธีปฏิบัติธรรม
กาย - นวสีวถิกาบรรพ
มหาสติปัฏฐานสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๒๗๙-๒๘๗

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

เสียง : 26:22 นาที
ปฏิบัติ : 50 นาที

----------------

ภิกษุพึงเห็นกายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า

- ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด
- ฝูงนก ฝูงสัตว์ หมู่สัตว์ตัวเล็ก ๆ ต่าง ๆ กัดกินอยู่บ้าง
- เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
- เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
- เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
- เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในคนละทิศละทาง
- เป็นเหลือแต่กระดูกมีสีขาว
- เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป
- เป็นกระดูกผุเป็นจุณแล้ว

ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายตนนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้  

ดังพรรณามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง    
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง   
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง    
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่

พระสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๒๗๙-๒๘๗