พุทธวิธีเข้าอเนญชสมาบัติ I อเนญชสัปปายสูตร
พุทธวิธีปฏิบัติธรรม
พุทธวิธีเข้าอเนญชสมาบัติ
อเนญชสัปปายสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๘๐-๘๔
ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง
เสียง : :14 นาที
ปฏิบัติ : 30 นาที
----------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทำความล่อลวง เป็นที่บ่นถึงของคนพาล
กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร
ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป
กามนั่นเอง ย่อมเกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้นดังนี้ว่า
ไฉนหนอ เราพึงมีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ เพราะเมื่อเรามีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่
อกุศลลามกเกิดที่ใจ ได้แก่ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง นั้นจักไม่มี
เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้จิตของเราที่ไม่เล็กน้อยนั่นแหละ จักกลายเป็นจิตหาประมาณมิได้ อันเราอบรมดีแล้ว
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ
เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้
นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ซึ่งรูปบางชนิดและรูปทั้งหมด คือ มหาภูต ๔ และรูปอาศัยมหาภูตทั้ง ๔
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ
เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้
นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยินดี ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ
เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้
นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๓