Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

พุทธวิธีเจริญอาทีนวสัญญา

พุทธวิธีปฏิบัติธรรม
พุทธวิธีเจริญอาทีนวสัญญา
อาพาธสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๖๐

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

ความยาววีดีโอ: 4:10 นาที
เวลาปฏิบัติ: 12 นาที

---------

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก

ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ 
ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จเยี่ยมท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าพระอานนท์พึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุ อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ 

สัญญา ๑๐ ประการ คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑

พุทธวิธีเจริญอาทีนวสัญญา

ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน 

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่ากายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ 

ย่อมพิจารณาเห็นโทษในกายด้วยประการดังนี้


 

พระสูตร
อาพาธสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๖๐