Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

ข้อประพฤติเพื่อความสามัคคี

ข้อประพฤติเพื่อความสามัคคี
(สัมมาสังกัปปะ - สัมมาวายามะ)
ภัณฑนสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๕๐

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

ความยาววีดีโอ: 6:40 นาที
เวลาปฏิบัติ: 15 นาที

-----

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ภิกษุมากรูปด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ในเวลาภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน ก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปาก

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การที่ภิกษุทั้งหลายก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปากอยู่ เป็นกรรมไม่สมควรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
 
ธรรม ๑๐ ประการ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันทำให้เป็นที่รัก เคารพ เพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
 
๑.   ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๒.   ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง             

๓.   ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

๔.   ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน มีปรกติรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ  

๕.   ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งสูงทั้งต่ำของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น เป็นผู้สามารถ เพื่อทำ เพื่อจัดได้  

๖.    ภิกษุมีความใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย  

๗.   ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

๘.    ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้  

๙.    ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติ เป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้  

๑๐.  ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นความเกิด ดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

พระสูตร
ภัณฑนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๕๐