Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส | สัลเลขสูตร

พุทธวิธีปฏิบัติธรรม
ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
สัลเลขสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๑๐๔

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

ความยาววีดีโอ: 14:44 นาที

เวลาปฏิบัติ: 25 นาที

----------------

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการลักทรัพย์

ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์

ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเท็จ

ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด

ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ

ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ

ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น
ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น

ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท

ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเพียรชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติชอบ

ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม

ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า
ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา

ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า
ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธไว้

ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน

ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน

ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยกตนเทียมท่าน

ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา

ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า
ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด

ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา

ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อด้าน

ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก

ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย

ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีกัลยาณมิตร

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนไม่ประมาท

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า
ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา

ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนมีศรัทธา

ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีหิริในใจ

ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสุตะมาก

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม

ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน
ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน
ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย

 

พระสูตร
สัลเลขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๑๐๔