Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

อริยสัจบรรพ | ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน | มหาสติปัฏฐานสูตร

พุทธวิธีปฏิบัติธรรม
ธัมมานุปัสสนา
- สัจจบรรพ -
มหาสติปัฏฐานสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๒๙๔-๒๙๙

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

ความยาววีดีโอ: 35:43 นาที
เวลาปฏิบัติ: 50 นาที

----------

00:21 ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
00:36 อริยสัจบรรพ
01:03 ทุกขอริยสัจ
13:40 ทุกขสมุทัยอริยสัจ
19:04 ทุกขนิโรธอริยสัจ
22:03 ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยสัจ

----------

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ทุกขอริยสัจ คือ     

ชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์  
ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์     
โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ

ตัณหาอันมีความเกิดอีก
ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้น ๆ คือ

กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน

ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้

ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ

ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น

ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน

ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ

มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

สัมมาทิฏฐิ
ความรู้ในทุกข์
ในทุกขสมุทัย
ในทุกขนิโรธ
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สัมมาสังกัปปะ
ความดำริในการออกจากกาม
ในความไม่พยาบาท
ในความไม่เบียดเบียน

สัมมาวาจา
งดเว้นจากการพูดเท็จ
พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ

สัมมากัมมันตะ
การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม

สัมมาอาชีวะ
ละการเลี้ยงชีพที่ผิด
สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ

สัมมาวายามะ
เพียรเพื่อมิให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

สัมมาสติ
พิจารณาเห็นกายในกาย
เห็นเวทนาในเวทนา
เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

สัมมาสมาธิ
ปฐมฌาน
ทุติยฌาน
ตติยฌาน
จตุตถฌาน

ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง     
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง      
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง     
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง     
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง     
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง

สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

พระสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๒๙๔-๒๙๙