สักกายะตามแนวอริยสัจธรรม | สักกายสูตร
สักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
สักกายสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๒๘๔-๒๘๘
ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง
ความยาววีดิทัศน์ : 4:12 นาที
เวลาปฏิบัติ : 12 นาที
----------
ณ พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักกายะ สักกายสมุทัยสักกายนิโรธ และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ก็สักกายะเป็นไฉน
คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่าอุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
อุปาทานขันธ์ คือ รูป
อุปทานขันธ์ คือ เวทนา
อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
นี้เรียกว่า สักกายะ
ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน
สักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้น กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่าสักกายสมุทัย
ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน
คือความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.
ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน
คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา