Main navigation

วิธีภาวนา - (ดูทั้งหมด)

เหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบังเกิดในโลก | อภัพพสูตร

ปฏิบัติบูชาพระรัตนตรัย
สัปดาห์มาฆบูชา ๒๕๖๕
๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕
วันที่ ๑ ภาคเช้า

เหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบังเกิดในโลก
อภัพพสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๗๖

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

ความยาววีดีโอ : 12:33 นาที
เวลาปฏิบัติ : 20 นาที

-----------

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก

๓ ประการเป็นไฉน คือ

ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑

ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยอันพระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก

ก็เพราะธรรม๓ ประการนี้มีอยู่ในโลก ฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละชาติ ชรา มรณะได้

๓ ประการเป็นไฉน คือ

ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑

บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ โมหะได้

ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ

สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑

บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้

๓ ประการเป็นไฉน คือ

การกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑

บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้

๓ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑

บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้

๓ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑

บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้

๓ ประการเป็นไฉน คือ

ความฟุ้งซ่าน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑

บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้

๓ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑

บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้

๓ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑

บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้

๓ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ไม่มีความละอาย ๑ ความเป็นผู้ไม่มีความเกรงกลัว ๑ ความประมาท ๑

บุคคลผู้มีความละอาย มีความเกรงกลัว ไม่ประมาทอยู่ ก็อาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้

บุคคลเป็นผู้มีมิตรดี ก็อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้

บุคคลเป็นผู้ปรารภความเพียร ก็อาจละความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้

บุคคลเป็นผู้มีศีล ก็อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้

บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่คิดแข่งดี ก็อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้

บุคคลเป็นผู้มีจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ก็อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้

บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่หดหู่ก็อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้

บุคคลเป็นผู้ไม่มีวิจิกิจฉาก็อาจละราคะ โทสะ โมหะได้

บุคคลละราคะ โทสะ โมหะแล้ว ก็อาจละชาติชรา มรณะได้

 

 

 

พระสูตร
อภัพพสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๗๖