ความเป็นไตรลักษณ์แห่งอายตนะภายนอก ๖ | เหตุพาหิรสูตรที่ ๑ - ๒
ความเป็นไตรลักษณ์
แห่งอายตนะภายนอก ๖
เหตุพาหิรสูตรที่ ๑ - ๒
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๒๒๔-๒๒๖
ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว ฟังพุทโธวาท
และน้อมธรรมมาสู่ใจ น้อมใจปฏิบัติ
ตามพุทโธวาทตรง ๆ ให้เข้าใจแจ้ง
และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง
ความยาววีดีโอ: 9:56 นาที
เวลาปฏิบัติ: 15 นาที
--------
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ไม่เที่ยง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นทุกข์ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็เป็นอนัตตา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี