ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม | ธรรมกถิกสูตร
ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ธรรมกถิกสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๔๕-๔๖
ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
ก่อนจะฟัง
พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
เมื่อได้สมาธิดีแล้ว
ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ
น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง
ความยาววีดิทัศน์ 4:31 นาที
เวลาปฏิบัติ 12 นาที
______
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่งว่า
ดูกรภิกษุ
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชาติ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับภพ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอุปาทาน ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับตัณหา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับเวทนา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับผัสสะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับสฬายตนะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับนามรูป ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับสังขาร ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม