
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม
ทางสายกลาง
ที่สุด 2 อย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลายหนึ่ง
และการประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนหนึ่ง
ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ
การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ
ระลึกชอบ และตั้งจิตชอบ
อริยสัจจสี่
ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย
ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรค
คือ วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ
เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ
ระลึกชอบ และตั้งจิตชอบ
อริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ
นี้ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ได้กำหนดรู้แล้ว
นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละเสีย ได้ละแล้ว
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง ทำให้แจ้งแล้ว
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรให้เจริญ ทำให้เจริญแล้ว
ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด
เรายังยืนยันไม่ได้ว่า
เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น
ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา
ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว
เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ที่สุด 2 อย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลายหนึ่ง
และการประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนหนึ่ง
ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ
การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ
ระลึกชอบ และตั้งจิตชอบ
อริยสัจจสี่
ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย
ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรค
คือ วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ
เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ
ระลึกชอบ และตั้งจิตชอบ
อริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ
นี้ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ได้กำหนดรู้แล้ว
นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละเสีย ได้ละแล้ว
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง ทำให้แจ้งแล้ว
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรให้เจริญ ทำให้เจริญแล้ว
ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด
เรายังยืนยันไม่ได้ว่า
เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น
ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา
ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว
เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระสูตร:
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ๔/๑๓-๑๖/๑๕-๑๘