Main navigation
ญาณ
Share:

(๑) ญาณเกิดแก่ผู้มีใจเป็นสมาธิ หาเกิดแก่ผู้ที่มีใจไม่เป็นสมาธิไม่   

(๒) ญาณ ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗ [ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น

ญาณ ๖ เฉพาะพระตถาคต
๑. อินทริยปโรปริยัติญาณ [ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย]  
๒. อาสยานุสยญาณ [ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] 
๓. ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] 
๔. มหากรุณาสมาปัตติญาณ 
๕. สัพพัญญุตญาณ
๖. อนาวรณญาณ 

ญาณ ๖๗ ทั่วไปแก่พระสาวก

๑. สุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว

๒. สีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล] ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสังวรไว้

๓. ภาวนามยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี  

๔. ฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยเป็นธรรม

๕. สัมมสนญาณ [ญาณในการพิจารณา] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีต ส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้

๖. อุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน

๗. วิปัสสนาญาณ [ญาณในความเห็นแจ้ง] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป

๘. อาทีนวญาณ [ญาณในการเห็นโทษ] ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย

๙. สังขารุเบกขาญาณ ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉยอยู่

๑๐.โคตรภูญาณ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก

๑๑. มรรคญาณ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง 

๑๒. ผลญาณ ปัญญาในการระงับประโยค

๑๓. วิมุติญาณ ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว  

๑๔. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น  

๑๕. วัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน 

๑๖. โคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก 

๑๗. จริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ปัญญาในการกำหนดจริยา

๑๘. ภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔  

๑๙. ธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙  

๒๐. ญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ปัญญาที่รู้ยิ่ง  

๒๑. ตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ 

๒๒. ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ปัญญาในการละ  

๒๓. เอกรสัฏฐญาณ [ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ปัญญาเครื่องเจริญ  

๒๔. ผัสสนัฏฐญาณ [ญาณในความว่าถูกต้อง] ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง  

๒๕. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ  

๒๖. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม 

๒๗. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ  

๒๘. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ  

๒๙. วิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม  

๓๐. สมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ  

๓๑. วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ]ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ  

๓๒. อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ]ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน 

๓๓. อรณวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ทัสนาธิปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือ วิหารธรรมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต 

๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ 

๓๕. ปรินิพพานญาณ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว 

๓๖. สมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรม อันเป็นประธาน] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวงในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ 

๓๗. สัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช 

๓๘. วิริยารัมภญาณ ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป 

๓๙. อรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ 

๔๐. ทัสนวิสุทธิญาณ ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกัน ในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน 

๔๑. ขันติญาณ ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น 

๔๒. ปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ปัญญาในความถูกต้องธรรม 

๔๓. ปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ปัญญาในการรวมธรรม 

๔๔. สัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี 

๔๕. เจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ 

๔๖. จิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิต] ปัญญาในการอธิษฐาน 

๔๗. ญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยญาณ] ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า 

๔๘. วิโมกขวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์]  ปัญญาในความสลัดออก 

๔๙. สัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ปัญญาในความว่าธรรมจริง 

๕๐. อิทธิวิธีญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ] ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท] เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วยอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจาก นิวรณ์และปฏิปักขธรรม] 

๕๑. โสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป 

๕๒. เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ปัญญาในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย  

๕๓. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัยด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรม หลายอย่างหรืออย่างเดียว 

๕๔. ทิพจักขุญาณ ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถแสงสว่าง

๕๕. อาสวักขยญาณ [ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔

๕๖. ทุกขญาณ ปัญญาในความกำหนดรู้

๕๗. สมุทยญาณ ปัญญาในความละ 

๕๘. นิโรธญาณ ปัญญาในความทำให้แจ้ง

๕๙. มรรคญาณ ปัญญาในความเจริญ 

๖๐. ทุกขญาณ [ญาณในทุกข์]

๖๑. ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] 

๖๒. ทุกขนิโรธญาณ [ญาณในความดับทุกข์] 

๖๓. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับทุกข์] 

๖๔. อรรถปฏิสัมภิทาญาณ

๖๕. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ 

๖๖. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ 

๖๗. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ 


 

อ้างอิง:
(๑) สักกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๑๓ หน้า ๒๐๘
(๒) มาติกา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๒ หน้า ๑-๔

คำต่อไป