Main navigation
ญาณวัตถุ
Share:

ญาณวัตถุ ๔๔

(๑) ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉน คือ

ความรู้ในชราและมรณะ ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑
ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ๑

ความรู้ในชาติ ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑
ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑

ความรู้ในภพ ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑
ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑

ความรู้ในอุปาทาน ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑
ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑

ความรู้ในตัณหา ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑
ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑

ความรู้ในเวทนา ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑
ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑

ความรู้ในผัสสะ ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑
ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑

ความรู้ในสฬายตนะ ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑
ความรู้ในความดับแห่งสฬายตนะ ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑

ความรู้ในนามรูป ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑
ความรู้ในความดับแห่งนามรูป ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑

ความรู้ในวิญญาณ ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑
ความรู้ในความดับแห่งวิญญาณ ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ๑

ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๑
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑
ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายเหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔

อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรามรณะ ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร

รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดชราและมรณะ ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร

รู้ชัดซึ่งความดับชราและมรณะ ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร

รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับชราและมรณะ ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร

นี้ชื่อว่าความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น

อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้วอันตนหยั่งรู้แล้ว

สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้ชัดอย่างนี้ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น

สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชัดเหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น

นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ

ความรู้ ๒ อย่าง คือ ธรรมญาณ (มรรคญาณ) อันวยญาณ (ผลญาณ) เหล่านี้ของอริยสาวกเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง


ญาณวัตถุ ๗๗

ก็ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน

ญาณวัตถุ ๗๗ นั้น คือ

ความรู้ว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑
เมื่อชาติไม่มีชราและมรณะจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของชาตินั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑
เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑
เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑
ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของภพนั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑
เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑
เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑
เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอุปาทานนั้นมีความสิ้นความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
ตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานจึงมี ๑
เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑
เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑
เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของตัณหานั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี ๑
เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑
เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑
เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของเวทนานั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑
เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑
เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑
เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑
เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑
เมื่อสฬายตนะไม่มี  ผัสสะจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑
เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสฬายตนะนั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะจึงมี ๑
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑
เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑
เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑
เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี ๑
เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี ๑
เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑
เมื่อสังขารไม่มีวิญญาณจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสังขารนั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี ๑
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑
เมื่ออวิชชาไม่มีสังขารจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอวิชชานั้นมีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗


(๓) เธอจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม โดยแท้จริงแล้ว ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง

 

อ้างอิง :
(๑) ญาณวัตถุสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๑๑๘-๑๒๕
(๒) ญาณวัตถุสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๑๒๖-๑๒๗
(๓) สุสิมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๒๙๐

 

 

 

 

 

คำต่อไป