สฬายตนวิภังคสูตร - สัมมาทิฏฐิ
บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง
ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ ในจักษุสัมผัส
ในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป
เขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวาย ความเดือดร้อน ความเร่าร้อน แม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด
ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น สัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว
ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ ถึงความเจริญบริบูรณ์
สฬายตนวิภังค์
อ่าน-ฟังพระสูตรเต็ม