Main navigation

สฬายตนวิภังคสูตร

ว่าด้วย
การจำแนกอายตนะ ๖
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่ภิกษุทั้งหลาย

 

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลเมื่อไม่รู้ ไม่เห็น ตามความเป็นจริงใน

จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้น
โสตะ เสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้น
ฆานะ กลิ่น ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้น
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้น
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้น
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้น

ก็ย่อมกำหนัดใน จักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ ในจักษุสัมผัส ในความเสวยอารมณ์
ในโสตะ เสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส ในความเสวยอารมณ์
ในฆานะ กลิ่น ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส ในความเสวยอารมณ์
ในชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส ในความเสวยอารมณ์ 
ในกาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส ในความเสวยอารมณ์
ในมโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส ในความเสวยอารมณ์  

เมื่อบุคคลกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนต่อไป เขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ มีความกระวนกระวาย ความเดือนร้อน ความเร่าร้อน แม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง
           
ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็น ตามความเป็นจริง ความเสวยอารมณ์เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตามที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย ย่อมไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์เพราะปัจจัยนั้นๆ
 
เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป เขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวาย ความเดือดร้อน ความเร่าร้อน แม้ทางกาย แม้ทางใจได้  เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น สัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อม เป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ย่อมชื่อเป็นผู้มีความเจริญบริบูรณ์ในมรรคมีองค์ ๘  

เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ อุปาทานขันธ์ ๕ 
ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ อวิชชาและภวตัณหา
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ สมถะ และวิปัสสนา
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ วิชชาและวิมุตติ


อ่าน สฬายตนวิภังคสูตร 
 

อ้างอิง
สฬายตนวิภังคสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๘๒๕-๘๓๑ หน้า ๓๙๔-๓๙๘
ลำดับที่
15

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม