Main navigation

ธุรกิจนำเข้าควรปรับตัวอย่างไรในภาวะเงินบาทอ่อน เงินเฟ้อโลกสูง

Q ถาม :

เรียนท่านอาจารย์ ธุรกิจผมเป็นธุรกิจนำเข้า ตอนนี้ค่าเงินบาทอ่อนมาก เงินเฟ้อก็สูง ธนาคารกลางสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อลดเงินเฟ้อในอเมริกา แต่ก็ไม่ได้ผล แต่เฟดก็ยังขึ้นดอกเบี้ยไม่หยุด ทำให้สถานการณ์ยิ่งย่ำแย่ พวกเราในฐานะผู้ค้าระหว่างประเทศจะปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์อย่างนี้ดีครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

ที่ถามมามีหลายประเด็นนะ

1. อัตราเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ ณ ขณะนี้มาจาก  

1) ปริมาณเงินมากเกินไปในตลาดเพราะการเมืองในประเทศจากการที่รัฐทำ QE แจกเงินประชาชน และซื้อ bond อุ้มหนี้บริษัทเอกชน

2) อัตราหนี้ภาครัฐที่เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบสัดส่วนกับ GDP  

3) ราคาพลังงานพุ่งสูงเพราะการเมืองระหว่างประเทศ แต่สินค้าอื่น ๆ ราคายังไม่พุ่ง ยังลดแลกแจกแถมเพื่อประคองเอาตัวรอดกันอยู่

ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงไม่อาจช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้โดยตรง ได้แค่ดูดเงินเข้าระบบบ้าง

2. สหรัฐขึ้นดอกเบี้ยทำไม ในเมื่อไม่ช่วยลดเงินเฟ้อเลย

เวลามองการเมือง อย่ามองที่คำพูดของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหลาย ให้มองที่เจตนาเบื้องลึก อันเป็นยุทธศาสตร์ชาติเป็นสำคัญ และยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดมักจะเป็น secret agenda

เจตนาของเฟดที่แท้จริงคือ

เจตนาอันดับหนึ่ง ทำดอลลาร์ซึ่งกำลังถูกแข่งขันโดยสกุลเงินใหม่อื่น ๆ ให้แข็งค่าที่สุด เพื่อจะได้

1) ไม่เสียมูลค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินคู่แข่ง และไม่เสียความน่าเชื่อถือ

2) ได้เปรียบใน monetary war ระหว่างประเทศ

3) หากยิ่งทำให้สกุลเงินอื่น ๆ ในโลกอ่อนค่าเมื่อแลกกับ USD ได้มากเท่าไรยิ่งดีต่ออเมริกา เพราะจะได้ shopping asset ของประเทศนั้น ๆ ได้ในราคาถูก เพราะอเมริกาเป็นผู้บริโภคสินค้านานาชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก เมื่อได้สินค้าราคาถูก แม้เงินจะเฟ้ออยู่ ประชาชนก็ไม่เดือดร้อน

เจตนาอันดับสอง ทำอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงได้นิดหน่อยก็เป็นการดี

ด้วยเหตุนี้ FED จึงขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องอยู่

3. ผู้ค้าระหว่างประเทศจะปรับตัวอย่างไรดี

เมื่อเงินอ่อนค่านั้นเป็นค่าเปรียบระหว่างเงินสองสกุลเป็นหลัก ดังนั้น ในฐานะ importer ควร

1) ถ้ามี US Dollar ใน account ให้ซื้อสินค้าด้วย USD

2) ถ้าไม่มี US Dollar ใน account ให้ซื้อสินค้าจากประเทศที่ค่าเงินอ่อนกว่า Thai Bath ซึ่งมีหลายประเทศมากที่อัตราเงินเฟ้อมากกว่าไทย ค่าเงินอ่อนกว่าไทยมาก เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น sourcing แหล่งสินค้าให้กว้าง เดี๋ยวนี้สินค้าเดียวกันมีผลิตพร้อมกันในหลายประเทศเกือบทุกภูมิภาคในโลก

3) หากสั่งสินค้าจากประเทศที่ค่าเงินอ่อนกว่าไทยบาทแล้ว เขายัง Quote เป็น USD ให้บินไปซื้อตรงในประเทศนั้น ๆ แบบ domestic แล้ว ดำเนินการด้าน shipping เอง ก็ยังคุ้ม

4) หากบาทไทยเทียบกับสกุลคู่ค้ามีแนวโน้มอ่อนลง สามารถซื้อบริการ hedge ค่าเงินกับธนาคาร เพื่อ fix exchange rate ได้ในระยะเวลาหนึ่ง เรื่องนี้ผู้ค้าระหว่างประเทศน่าจะทำเนือง ๆ อยู่แล้ว

5) ดูแนวโน้มค่าเงินสกุลใดมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น สะสมไว้เป็นเงินสำรองเพื่อการแลกเปลี่ยนบ้างก็เป็น back up ได้ โดยต้องดูแนวโน้ม GDP, inflation Rate, Interest Rate, Public Debt, National Policy Stability ให้ดี

หวังว่า พอช่วยได้บ้างนะ
   

 

คำที่เกี่ยวข้อง :

การบริหาร