เงินและทองไม่ควรแก่สมณะ
เหตุการณ์
สมัยหนึ่ง ราชบริษัทได้สนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน ย่อมรับทองและเงิน ซึ่งนายคามิณีว่าไม่ใช่เช่นนั้น นายคามิณีไม่สามารถทำให้ราชบริษัทเห็นยอมได้ จึงไปเผ้าพระผู้มีพระภาคว่า ตนได้กล่าวคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วและได้พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้วหรือไม่
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบนายบ้านว่า
ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน
ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น เบญจกามคุณควรแก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น เบญจกามคุณนั้นไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร
แล้วทรงกล่าวว่า
ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย
อ่าน มณิจูฬกสูตร
อ้างอิง
มณิจูฬกสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๖๒๓-๖๒๖ หน้า ๓๓๒-๓๓๓
ลำดับที่
10