Main navigation

จูฬโพธิจริยา

ว่าด้วย
จริยาวัตรของจูฬโพธิปริพาชก
เหตุการณ์
การบำเพ็ญศีลบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อทรงเป็นปริพาชกชื่อจูฬโพธิ

 

 

 

เมื่อเป็นปริพาชกชื่อจูฬโพธิ มีศีลงาม เห็นภพเป็นสิ่งน่ากลัว จึงออกบวชเป็นดาบส นางพราหมณีผู้เป็นภรรยาก็มิได้อาลัยในวัฏฏะ ออกบวชเป็นตาปสินี ตัดพวกพ้องขาด ไม่ห่วงใยในตระกูลและหมู่ญาติ เที่ยวไปยังบ้านและนิคม มาถึงยังพระนครพาราณสี อยู่ ณ ที่นั้น ไม่เกี่ยวข้องในตระกูลและคณะ ทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยานอันไม่เกลื่อนกล่น สงัดเสียง

พระราชาเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานได้ทอดพระเนตรเห็นนางพราหมณี จึงเสด็จเข้ามาหาแล้วตรัสถามว่า นางพราหมณีคนนี้เป็นอะไรกับท่าน เป็นภริยาของใคร ท่นได้ทูลว่า นางพราหมณีมิใช่ภริยาของท่าน เป็นผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน เป็นผู้มีคำสอนร่วมกัน

พระราชาทรงกำหนัดหนักหน่วงในนางพราหมณีนั้นจึงรับสั่งให้พวกราชบุรุษจับ ทรงบีบคั้นด้วยกำลัง สั่งให้นำเข้าไปยังภายในพระนคร

เมื่อภริยาเก่าของท่านถูกฉุดคร่าไป ความโกรธเกิดแก่ท่าน ท่านระลึกถึงศีลวัตรได้พร้อมกับความโกรธที่เกิดขึ้น ข่มความโกรธได้ ณ ที่นั้นเอง ไม่ให้มันเจริญขึ้นไปอีก

ถ้าใคร ๆ พึงเอาหอกแทงนางพราหมณีนั้น ท่นก็ไม่พึงทำลายศีล เพราะเหตุแห่งโพธิญาณเท่านั้น

ท่านเกลียดนางพราหมณีก็หามิได้ ท่านจะไม่มีกำลังก็หามิได้ เพราะพระสัมพัญญุตญาณเป็นที่รักของท่าน ท่านจึงรักษาศีลไว้

 

 

อ่าน จูฬโพธิจริยา

อ้างอิง
จูฬโพธิจริยา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๓ ข้อที่ ๑๔ หน้า ๓๘๖-๓๘๗
ชุดที่
ลำดับที่
15

สถานที่

นครพาราณสี

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ