การระงับอธิกรณ์
การแก้ปัญหาในหมู่สงฆ์
มูลเหตุการวิวาท
สามคามสูตร
ดูกรอานนท์ มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี ๖ อย่าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ
๒. ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ
๓. ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่
๔. ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา
๕. ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด
๖. ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้น สละคืนได้ยาก
ภิกษุเหล่านี้ ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
ดูกรอานนท์ ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น และปฏิบัติเพื่อไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นลุกลามไป
(๑๔/๕๕-๕๖/๓๙-๔๑)
การโจทก์ตั้งอธิกรณ์
กินติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีโทษอยู่ พวกเธออย่าเพิ่งโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท
พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า ด้วยอาการนี้ ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา แต่ความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
ก็เรื่องความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา แต่ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ มีทิฐิมั่น ยอมสละคืนได้ยาก และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น ยอมสละคืนได้ยาก แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ก็ควรพูด
แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น สละคืนได้ยาก ทั้งเราก็ไม่อาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดเล่นสำนวนกัน แข่งขันกันด้วยทิฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้น
พวกเธอพึงสำคัญภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันในที่นั้นรูปใดว่า ว่าง่าย พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดเล่นสำนวนกัน แข่งขันกันด้วยทิฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียน
ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละภาวะขัดแย้งแข่งดีที่ดำรงอยู่นี้แล้วแล จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอื่น ๆ พึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านให้ภิกษุเหล่านี้ของพวกเราออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้กล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมแล้ว ออกจากอกุศล และดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว
ภิกษุเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มคนอื่น พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ชอบด้วยเหตุ ย่อมไม่ถึงฐานะน่าตำหนิด้วย
(๑๔/๔๙-๕๐/๓๔-๓๖)
ประเด็นขัดแย้ง
สมถขันธกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ ๔ นี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ (๖/๖๓๒/๒๙๙)
วิวาทาธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้
๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประพฤติมา
๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ
๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่าวิวาทาธิกรณ์ (๖/๖๓๓/๒๙๙-๓๐๐)
อนุวาทาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
การโจทก์ การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจทก์ การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์ (๖/๖๓๔/๓๐๐)
อาปัตตาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน อาบัติทั้ง ๕ กอง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์ (๖/๖๓๕/๓๐๐)
กิจจาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่ากิจจาธิกรณ์ (๖/๖๓๖/๓๐๐)
อธิกรณ์สมถะ ๗
อธิกรณ์ระงับได้เพื่อละอกุศล กลับมาตั้งมั่นในกุศล
ดูกรอานนท์ ก็อธิกรณ์สมถะนี้เพื่อระงับอธิกรณ์อันเกิดแล้ว มี ๗ อย่างแล คือ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ (๑๔/๕๗/๔๑)
สัมมุขาวินัย
ให้ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า
ดูกรอานนท์ สัมมุขาวินัย คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่าเป็นธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าเป็นวินัยหรือมิใช่วินัย
ดูกรอานนท์ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดแล พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณาแบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสัมมุขาวินัย (๑๔/๕๘/๔๑)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกนั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล
ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำการรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียนเป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน (๖/๖๗๒/๓๑๐)
สติวินัย
ความเป็นผู้ไม่ผิดแน่เพราะมีสติไพบูลย์
ดูกรอานนท์ สติวินัย คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว
ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่าข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้นแล
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็นสติวินัย ก็แหละ การระงับอธิกรณ์บางอย่างย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้ (๑๔/๖๐/๔๑-๔๒)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติอยู่แล้ว (๖/๖๘๓/๓๑๘)
การให้สติวินัยที่เป็นธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่างนี้ คือ
ภิกษุเป็นผู้หมดจด ไม่ต้องอาบัติ ๑
ผู้อื่นโจทเธอ ๑
เธอขอ ๑
สงฆ์ให้สติวินัยแก่เธอ ๑
สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่างนี้แล (๖/๕๙๙/๒๗๗)
สงฆ์ให้สติวินัยแก่พระทัพพมัลลบุตร
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนภิกษุผู้กล่าวหาพระทัพพมัลลบุตรโดยไม่มีมูล ครั้นแล้วทรงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้
ทัพพมัลลบุตรนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้
คำขอสติวินัย
ท่านเจ้าข้า ภิกษุ...นี้ โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
กรรมวาจาให้สติวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ...นี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ...นี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
สติวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ (๖/๕๙๗-๕๙๘/๒๗๖-๒๗๗)
อมูฬหวินัย
ความเป็นผู้ไม่ผิดเพราะวิกลจริต
ดูกรอานนท์ อมูฬหวินัย คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุจงระลึกดูเถิดว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าถึงความเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วงและได้พูดละเมิดไป ข้าพเจ้าระลึกมันไม่ได้ว่าข้าพเจ้าผู้หลงทำกรรมนี้ไปแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้อมุฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น (๑๔/๖๑/๔๒)
สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่พระคัคคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุคัคคะ ผู้หายวิกลจริตแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้
คัคคะภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้
คำขออมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้าด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้
ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้นก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น หายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม...
กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
ภิกษุทั้งหลายโจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้
เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
ภิกษุทั้งหลายโจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว
การให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
อมูฬหวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่คัคคะภิกษุ ผู้หายวิกลจริตแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
(๖/๖๐๐-๖๐๑/๒๗๗-๒๘๐)
ปฏิญญาตกรณะ
ทำตามสารภาพ
ดูกรอานนท์ ปฏิญญาตกรณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผยอาบัติได้ เธอพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น
ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเห็นหรือ
เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น
ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึงถึงความสำรวมต่อไปเถิด
เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสำรวม
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นปฏิญญาตกรณะ (๑๔/๖๒/๔๒)
เยภุยยสิกา
การแก้ปัญหาโต้เถียงที่ไม่มีข้อยุติ ด้วยการวินิจฉัยตามความเห็นข้างมาก
ดูกรอานนท์ เยภุยยสิกา คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น
ครั้นแล้วพึงพิจารณาแบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นเยภุยยสิกา (๑๔/๕๙/๔๑)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ
(๖/๖๑๑/๒๘๔-๒๘๕)
ตัสสปาปิยสิกากรรม
การตัดสินปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้เลวทราม ให้การกลับกลอก
ดูกรอานนท์ ตัสสปาปิยสิกา คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว
ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงมีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก แต่ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย
ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อันที่จริง ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ไม่ถูกใครถามยังรับ ไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ถูกถาม จักไม่รับเล่า
ภิกษุผู้โจทนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ก็ท่านต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า เอาเถอะท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลายข้าพเจ้ากำลังระลึกได้แล ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาดไป
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็นตัสสปาปิยสิกา (๑๔/๖๓/๔๒-๔๓)
สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่พระอุปวาฬ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ.... (ผู้ให้การกลับกลอก)
ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุนั้นก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้
กรรมวาจาทำตัสสปาปิยสิกากรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ...นี้ ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ... นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ...นี้ ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ...นี้ การทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ..นี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ตัสสปาปิยสิกากรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุ.... ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ (๖/๖๑๔/๒๘๗)
ติณวัตถารกะ
การระงับปัญหาเพื่อมิให้บานปลาย ด้วยวิธีดังกลบไว้ด้วยหญ้า
ดูกรอานนท์ ก็ติณวัตถารกะ คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงและได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก
ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน
ต่อนั้นภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นติณวัตถารกะ (๑๔/๖๔/๔๓-๔๔)
พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเธอในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนั้น ด้วยติณวัตถารกะ
วิธีระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุทุก ๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ญัตติกรรมวาจาระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักให้ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยคณะญัตติกรรมวาจาเดียวกัน
บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเรา ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเรา ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น
(๖/๖๒๖-๖๓๑/๒๙๕-๒๙๙)
อุพพาหิกวิธี
การระงับอธิกรณ์ท่ามกลางความเซ็งแซ่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นและไม่ทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ ประการ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกวิธี องค์คุณ ๑๐ ประการ คือ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกข์สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
๓. จำปาติโมกข์ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดดี วินิจฉัยถูกต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน
๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอม เข้าใจ เพ่งเห็น เลื่อมใส
๖. เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ
๗. รู้อธิกรณ์
๘. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์
๙. รู้ความระงับแห่งอธิกรณ์
๑๐. รู้ทางระงับอธิกรณ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นและไม่ทราบอรรถแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้น และไม่ทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ มีชื่อนี้ด้วย อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว (๖/๖๗๕-๖๗๗/๓๑๒-๓๑๔)
การสวดตักเตือน
สวดสมนุภาสน์ตักเตือน ๑
เตรสกัณฑ์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
สวดสมนุภาสน์ตักเตือน ๒
เตรสกัณฑ์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใคร ๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใคร ๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
สวดสมนุภาสน์ตักเตือน ๓
เตรสกัณฑ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
วิธีสวดสมนุภาสน์ตักเตือน (ภิกษุณี)
สัตตรสกัณฑ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสมนุภาสน์นั้นพึงสวดอย่างนี้ ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น
การสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้านั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ (๓/๖๔/๓๙-๔๐)
อนึ่ง การสวดเตือนในเรื่องอื่น ๆ ก็พึงทำในทำนองเดียวกัน เพียงเปลี่ยนเรื่องที่เตือนตามเหตุการณ์จริง
การประณามและการให้ขมา
มหาวรรค
ก็โดยสมัยนั้นแล สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌายะทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประณามสัทธิวิหาริกผู้ไม่ประพฤติชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริกอย่างนี้ว่า
ฉันประณามเธอ เธออย่าเข้ามา ณ ที่นี้ เธอจงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย พึงประณามว่า เธอไม่ต้องอุปัฏฐากฉัน ดังนี้ก็ได้
อุปัชฌายะย่อมยังสัทธิวิหาริกให้รู้ด้วยกายก็ได้ ให้รู้ด้วยวาจาก็ได้ ให้รู้ด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันประณามแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติชอบ อุปัชฌายะไม่พึงประณาม รูปใดประณามต้องอาบัติทุกกฏ
อนึ่ง สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบ อุปัชฌายะจะไม่ประณามไม่ได้ รูปใดไม่ประณามต้องอาบัติทุกกฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกถูกประณามแล้ว จะไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะอันพวกสัทธิวิหาริกขอให้อดโทษอยู่ จะไม่ยอมอดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ยอมอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ
องค์แห่งการประณาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
องค์แห่งความไม่ควรประณาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
(๔/๘๓-๘๔/๗๓-๗๔)
ปฏิสารณียกรรม
กัมมขันธกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ... ผู้ประพฤติไม่เหมาะสม พูดกด พูดข่มอุบาสกอุบาสิกา คือ ให้เธอขอขมา (๖/๑๓๔/๕๔-๕๕)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์เหล่านี้ เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงปฏิสารณียกรรม คือ
๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์
๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์
๓. ขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์
๔. ด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์
๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
๖. พูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
๗. พูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
๘. พูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์
๙. พูดกด พูดข่ม พวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว
๑๐. รับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ แล้วไม่ทำจริง
(๖/๑๕๙-๑๖๐/๖๑)
วิธีทำปฏิสารณียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำปฏิสารณียกรรมพึงทำอย่างนี้
พึงโจทภิกษุ...ก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยบัญญัติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ...นี้ พูดกด พูดข่มคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ.... คือ ให้เธอขอขมาคหบดี นี้เป็นบัญญัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ....นี้ พูดกด พูดข่มคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ... คือ ให้เธอขอขมาคหบดี
การทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ… คือให้เธอขอขมาคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ปฏิสารณียกรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุ... คือ ให้เธอขอขมาคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
(๖/๑๓๔/๕๔-๕๕)
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ต้องประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในปฏิสารณียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
(๖/๑๖๓/๖๒-๖๓)
การระงับปฏิสารณียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ... ผู้หายเย่อหยิ่ง มีความประพฤติสมควร ทำการขอขมา หรือส่งอนุทูตขอขมาแล้ว (๖/๑๖๖/๖๔)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับปฏิสารณียกรรมพึงระงับอย่างนี้ คือ
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าไหว้เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับปฏิสารณียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่สอง ...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม ...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ...นี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุ... นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ...นี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ... การระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ... ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ปฏิสารณียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุ... ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
(๖/๑๗๓/๖๗-๖๘)
ตัชชนียกรรม
การถอนสิทธิ์บางประการแก่ภิกษุผู้ทะเลาะวิวาท
กัมมขันธกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จงทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุที่ทำการทะเลาะบาดหมาง ก็แล วิธีทำตัชชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ คือ ชั้นต้น พึงโจทภิกษุที่ทะเลาะบาดหมาง ครั้นแล้ว พึงให้พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ
ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวก...นี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก... นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวก...นี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป
สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก... การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก... ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ตัชชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวก... ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
(๖/๓/๓-๔)
วัตร ๑๘ ข้อ ในตัชชนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติโดยชอบในตัชชนียกรรมนั้น ๑๘ ประการ เช่นเดียวกับปฏิสารณียกรรม (๖/๓๓/๑๑-๑๒)
การระงับตัชชนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก.... (ผู้ได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้) (๖/๓๕/๑๒)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุพวกถูกสงฆ์ทำตัชชนียกรรมนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอระงับตัชชนียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่สอง...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวก....นี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก... นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวก....นี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก... การระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก... ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ตัชชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุพวก... ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ (๖/๔๒/๑๕-๑๖)
นิยสกรรม
การให้กลับถือนิสัยอันควร
กัมมขันธกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ... คือให้กลับถือนิสัยอีก (อยู่ในความควบคุม) แก่ภิกษุผู้มีพฤติกรรมดังนี้
๑. ผู้อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ให้ มานัต อัพภาน อยู่ กลับชักเข้าหาอาบัติเดิม (๖/๔๔/๑๗)
๒. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๓. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร (๖/๖๙/๒๓)
๔. เป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร เป็นผู้มีทิฐิวิบัติในอติทิฐิ (๖/๗๐/๒๓)
๕. เป็นผู้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า กล่าวติเตียนพระธรรม กล่าวติเตียนพระสงฆ์ (๖/๗๑/๒๔)
วิธีทำนิยสกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงทำนิยสกรรมอย่างนี้ คือชั้นต้นพึงโจทภิกษุ... ผู้ประพฤติไม่สมควร ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระ...ผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร คือ...
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำนิยสกรรมแก่พระ... คือ ให้กลับถือนิสัยอีก นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระ...ผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร คือ... สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่พระ... คือ ให้กลับถือนิสัยอีก การทำนิยสกรรมแก่พระ... คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
นิยสกรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่พระ... คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
(๖/๔๔/๑๗-๑๘)
วัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติโดยชอบในนิยสกรรมนั้น ๑๘ ประการ เช่นเดียวกับตัชชนียกรรม (๖/๗๕/๒๔-๒๕)
การระงับนิยสกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุ... ผู้ใคร่ต่อสิกขา เธอประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้
วิธีระงับนิยสกรรมเหมือนกับการระงับตัชชนียกรรม เพียงเปลี่ยนเป็นการระงับนิยสกรรม (๖/๘๓/๒๘)
การคว่ำบาตร-หงายบาตร
การคว่ำบาตร - การไม่สมาคมด้วยเพราะว่าร้ายผู้บริสุทธิ์
เจ้าวัฑฒะลิจฉวี
สมัยนั้น พระเจ้าวัฑฒะลิจฉวีกล่าวหาพระทัพพมัลละผู้ปราศจากความผิด พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงคว่ำบาตรเจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ อย่าให้คบกับสงฆ์
องค์แห่งการคว่ำบาตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงคว่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:
๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คว่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงคว่ำบาตรอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒะลิจฉวี โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงคว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ อย่าให้คบกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒะลิจฉวีโจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล สงฆ์คว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ การคว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือไม่ให้คบกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
บาตรอันสงฆ์คว่ำแล้วแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
(๗/๑๑๒-๑๑๔/๒๘)
การหงายบาตร
ต่อมาเจ้าวัฑฒะลิจฉวีสำนึกผิดมาขอขมาพระพุทธเจ้าและพระทัพพมัลลบุตร พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงหงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้
องค์แห่งการหงายบาตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงหงายบาตรแก่อุบาสก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่เป็นประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย
๓. ไม่ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ไม่ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
๕. ไม่ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกร้าวกัน
๖. ไม่กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. ไม่กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. ไม่กล่าวติเตียนพระสงฆ์
(๗/๑๑๖/๒๙)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงหงายบาตรอย่างนี้ เจ้าวัฑฒะลิจฉวีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคบกับสงฆ์ไม่ได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวีแล้ว คือไม่ให้คบกับสงฆ์ เธอประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงหงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวีแล้ว คือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ เธอประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์ สงฆ์หงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ การหงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
บาตรอันสงฆ์หงายแล้วแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
(๗/๑๑๗-๑๑๙/๓๐)
อุกเขปนียกรรม
การไม่ให้เข้าหมู่เพราะทำผิดแล้วไม่สำนึกผิด
กัมมขันธกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรม
๑. ฐานไม่เห็นอาบัติ (๖/๑๗๕/๖๙)
๒. ฐานเห็นแต่ไม่ทำคืนอาบัติ (๖/๒๒๕/๘๙)
๓. ฐานไม่ยอมสละทิฏฐิอันเป็นบาป (๖/๒๗๖/๑๐๙)
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑
เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑
เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ (๖/๒๐๐/๗๖)
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
เป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑
เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑
เป็นผู้มีทิฐิวิบัติในอติทิฐิ ๑ (๖/๒๐๑/๗๗)
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
เป็นผู้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑
กล่าวติเตียนพระธรรม ๑
กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ (๖/๒๐๒/๗๗)
วิธีทำอุกเขปนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ พึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุนั้นก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระ...นี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระ... คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระ...นี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระ... คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระ... คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ทำแล้วแก่พระ... คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า พระ... ถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์
(๖/๑๗๕/๖๙-๗๐)
วัตรในอุกเขปนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ต้องประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัตินั้น ดังต่อไปนี้
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงยินดีการยืนรับของปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรมของปกตัตตะภิกษุ
๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตะภิกษุ
๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๗. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ ไม่พึงยินดีการตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตรจีวรของปกตัตตะภิกษุ
๒๐. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุ
๒๑. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒๒. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๒๓. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฐิวิบัติ
๒๔. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๒๕. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
๒๙. พึงคบพวกภิกษุ
๓๐. พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ
๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓๒. ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุข้างใน หรือข้างนอกวิหาร
๓๖. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓๗. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
(๖/๒๐๖/๗๘-๘๐)
การระงับอุกเขปนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ... ผู้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ (๖/๒๐๗/๘๐)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
พึงขอแม้ครั้งที่สอง ...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม ...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระ...นี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระ... นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระ...นี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระ... การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระ... ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติอันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระ... ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
(๖/๒๒๔/๘๗-๘๘)
ปัพพาชนียกรรม
การไล่ออกจากหมู่คณะ
เตรสกัณฑ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ...
๑. ผู้ประทุษร้ายตระกูล (๑/๖๑๙/๗๓๒-๗๓๓)
๒. ผู้ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง ได้รดน้ำเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง ได้เก็บดอกไม้เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ได้ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ได้ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง พวกเธอได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยเรียงก้าน ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้ช่อ ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พุ่ม ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้เทริด ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พวง ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี
๓. ผู้ได้ฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ได้ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง ได้นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง ได้นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง ได้นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง ได้นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง ได้นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี
๔. ผู้ได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง
๕. ผู้ได้ดื่มน้ำเมาบ้าง
๖. ผู้ได้ทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้บ้าง
๗. ผู้ได้ฟ้อนรำบ้าง ได้ขับร้องบ้าง ได้ประโคมบ้าง ได้เต้นรำบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ได้ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ได้ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง
๘. ได้เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง ได้เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง ได้เล่นหมากเก็บบ้าง ได้เล่นชิงนางบ้าง ได้เล่นหมากไหวบ้าง ได้เล่นโยนห่วงบ้าง ได้เล่นไม้หึ่งบ้าง ได้เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง ได้เล่นสะกาบ้าง ได้เล่นเป่าใบไม้บ้าง ได้เล่นไถน้อยๆ บ้าง ได้เล่นหกคะเมนบ้าง ได้เล่นไม้กังหันบ้าง ได้เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง ได้เล่นรถน้อยๆ บ้าง ได้เล่นธนูน้อยๆ บ้าง ได้เล่นเขียนทายบ้าง ได้เล่นทายใจบ้าง ได้เล่นเลียนคนพิการบ้าง
๙. ผู้ได้หัดขี่ช้างบ้าง ได้หัดขี่ม้าบ้าง ได้หัดขี่รถบ้าง ได้หัดยิงธนูบ้าง ได้หัดเพลงอาวุธบ้าง ได้วิ่งผลัดช้างบ้าง ได้วิ่งผลัดม้าบ้าง ได้วิ่งผลัดรถบ้าง ได้วิ่งขับกันบ้าง ได้วิ่งเปี้ยวกันบ้าง
๑๐. ผู้ได้ผิวปากบ้าง ได้ปรบมือบ้าง
๑๑. ผู้ได้ปล้ำกันบ้าง ได้ชกมวยกันบ้าง
๑๒. ผู้ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานที่เต้นรำแล้ว ได้พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง
๑๓. ผู้ได้ให้การคำนับบ้าง
๑๔. ผู้ได้ประพฤติอนาจารมีประการต่าง ๆ บ้าง (๖/๘๗/๓๔-๓๕)
๑๕. ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
๑๖. ผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑
๑๗. ผู้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
๑๘. ผู้เล่นคะนองกาย ๑ เล่นคะนองวาจา ๑ เล่นคะนองกายและวาจา ๑
๑๙. ผู้ประพฤติอนาจารทางกาย ๑ ประพฤติอนาจารทางวาจา ๑ ประพฤติอนาจารทางกายและวาจา ๑
๒๐. ผู้บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกาย ๑ บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา ๑ บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกายและวาจา ๑
๒๑. ผู้ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๑ ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา ๑ ประกอบมิจฉาชีพทางกายและวาจา ๑
(๖/๑๐๕-๑๑๑/๔๒-๔๔)
วิธีทำปัพพาชนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีปัพพาชนียกรรมพึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุผู้มีชื่อนี้...ก่อน ครั้นแล้ว พึงให้พวกเธอให้การ ครั้นแล้ว พึงยกอาบัติขึ้น
ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุผู้มีชื่อ...เหล่านี้ เป็นผู้มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรมแก่พวกภิกษุผู้มีชื่อ...เหล่านี้ว่า ไม่พึงอยู่ในชนบทนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อ...เหล่านี้ เป็นผู้มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุเหล่านี้จากชนบท... ภิกษุพวกนี้ไม่พึงอยู่ในชนบท.... การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุเหล่านี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่พึงอยู่ในชนบท... ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ปัพพาชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวก... ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
(๑/๖๑๙/๗๓๒-๗๓๓)
วัตร ๑๘ ข้อในปัพพาชนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติโดยชอบในปัพพาชนียกรรมนั้น ๑๘ ประการ เช่นเดียว กับตัชชนียกรรม
(๖/๑๑๙/๔๕-๔๖)
การระงับปัพพาชนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประพฤติชอบแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุที่ถูกลงปัพพาชนียกรรมนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ข้าพเจ้าขอระงับปัพพาชนียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่สอง ...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม ...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯ
ปัพพาชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
(๖/๑๒๘/๕๐-๕๑)
การลงโทษลับหลัง
ห้ามทำการลงโทษลับหลัง
สมถขันธกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม คือ ตัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง
ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๖/๕๘๕/๒๖๗)