Main navigation

นาลกสูตร

ว่าด้วย
ปฏิปทาอันสูงสุดของมุนี
เหตุการณ์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่นาลกดาบส เรื่อง มุนีและปฏิปทาของมุนีที่บุคคลทำได้ยาก

มุนีและปฏิปทาของมุนี

- พึงกระทำการด่าและการไหว้ให้เสมอกัน
- พึงรักษาความประทุษร้ายแห่งใจ
- พึงเป็นผู้สงบ ไม่มีความเย่อหยิ่งเป็นอารมณ์ อารมณ์ที่สูงต่ำมีอุปมาด้วยเปลวไฟในป่า ย่อมมาสู่ครองจักษุ เป็นต้น  
- เหล่านารีย่อมประเล้าประโลมมุนี นารีเหล่านั้น อย่าพึงประเล้าประโลมท่าน
- มุนีละกามทั้งหลายทั้งที่ดีแล้ว งดเว้นจากเมถุนธรรม
- ไม่ยินดียินร้ายในสัตว์ทั้งหลายผู้สะดุ้ง และมั่นคง 
- พึงกระทำตนให้เป็นอุปมาว่า เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
- มุนีละความปรารถนาและความโลภในปัจจัยที่ปุถุชนข้องอยู่ เป็นผู้มีจักษุ พึงปฏิบัติปฏิปทาของมุนีนี้พึงข้ามความทะเยอทะยานในปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุแห่งมิจฉาชีพที่หมายรู้กันว่านรกนี้เสีย
- พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ 
- มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความโลภ ไม่มีความปรารถนาด้วยความปรารถนา 
- ดับความเร่าร้อนได้แล้ว 

มุนีนั้นรับบิณฑบาตแล้ว พึงไปยังชายป่า เข้าไปนั่งที่โคนต้นไม้ 

- พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ยินดีแล้วในป่า 
- พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ ครั้นเมื่อล่วงราตรีไปแล้ว พึงเข้าไปสู่บ้าน
- ไม่ยินดีโภชนะที่ยังไม่ได้ และโภชนะที่เขานำไปบ้าน ไปสู่บ้านแล้ว
- ไม่พึงเที่ยวไปในสกุลโดยรีบร้อน
- ไม่พึงกล่าววาจาเกี่ยวด้วยการแสวงหาของกิน
- มุนีนั้นคิดว่า เราได้สิ่งใด สิ่งนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ เราไม่ได้ก็เป็นความดี เป็นผู้คงที่ เพราะการได้และไม่ได้ทั้งสองอย่างนั้น ย่อมก้าวล่วงทุกข์เสียได้ 

มุนีมีบาตรในมือเที่ยวไปอยู่  ไม่เป็นใบ้ ก็สมมุติว่าเป็นใบ้

- ไม่พึงหมิ่นทานว่าน้อย ไม่พึงดูแคลนบุคคลผู้ให้  
- ก็ปฏิปทาสูงต่ำ พระพุทธสมณะประกาศแล้ว มุนีทั้งหลาย  ย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้ง  นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้น   

ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของมุนี พึงเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วยลิ้นแล้ว พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง มีจิตไม่ย่อหย่อน และไม่พึงคิดมาก เป็นผู้ไม่มีกลิ่นดิบ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว  มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า พึงศึกษาเพื่อการนั่งผู้เดียวและเพื่อประกอบภาวนาที่สมณะพึงอบรม

สมณะกล่าวถ้อยคำใดมากที่เข้าถึงประโยชน์  ประกอบด้วยประโยชน์ รู้ถ้อยคำนั้นอยู่ ย่อมแสดงธรรม

สมณะผู้นั้นรู้อยู่ ย่อมกล่าวถ้อยคำมาก สมณะใดรู้อยู่ สำรวมตน สมณะนั้นรู้เหตุที่ไม่นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวมาก

สมณะผู้นั้นเป็นมุนี ย่อมควรซึ่งปฏิปทาของมุนี สมณะนั้นได้ถึงธรรมเครื่องเป็นมุนีแล้ว 

 

อ่าน นาลกสูตร

อ้างอิง
นาลกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๓๘๙ หน้า ๓๔๙-๓๕๑
ลำดับที่
15
ต้องการศึกษาเรื่อง

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรมวินัย

ธรรมวินัย