ปทุมุตรพุทธวงศ์ที่ ๑๐
สมัยต่อมาจากพระนารทพุทธเจ้า พระสัมพุทธชินเจ้ามีพระนามว่า ปทุมุตระ มีพระคุณนับไม่ถ้วนเปรียบด้วยสาคร
พระชาติ
ทรงเป็นกษัตริย์โดยพระชาติของนครชื่อว่า หงสวดี
พระชนกพระนามว่า อานนท์
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา
พระมเหสีพระนามว่า วสุลทัตตา
พระราชโอรสพระนามว่า อุตระ
มีพระสนมนารีกำนัลใน ๔๓,๐๐๐ นาง
มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อ นารี พาหนะ และยศวดี
ทรงครองเรือนอยู่ ๙๐,๐๐๐ ปี
ออกบวช บำเพ็ญเพียร ตรัสรู้ และประกาศธรรมจักร
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชพร้อมด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน ก็ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ
พรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ณ มิถิลาราชอุทยานอันประเสริฐ
ธรรมาภิสมัย ๓ วาระ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาและมนุษย์ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๓๗,๐๐๐
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาในสำนักพระเจ้าอานันทพุทธบิดา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๕ โกฏิ
ประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ พระสาวกมาประชุมกัน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๒ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เวภารบรรพต พระสาวก ๙๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
ครั้งที่ ๓ พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกจากนิคมและรัฐ พระสาวก ๘๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
บุคคลสำคัญ
พระอัครสาวก : พระเทวิลเถระและพระสุชาตเถระ
พระอุปัฏฐาก : พระสุมนะเถระ
พระอัครสาวิกา : พระอมิตาเถรีและพระอสมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก : อมิตอุบาสกและติสสอุบาสก
อุปัฏฐายิกา : อุหัตถาอุบาสิกาและสุจิตราอุบาสิกา
ไม้โพธิพฤกษ์
ไม้สน
พระชนมายุ พระวรกาย และพระรัศมี
ทรงมีพระชนมายุ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
สูง ๕๘ ศอก
พระรัศมีงามเช่นกับทองคำ แผ่ไป ๑๒ โยชน์โดยรอบ กำแพง บานประตู ฝาเรือน ต้นไม้ และภูเขา กำบังไม่ได้
เสด็จนิพพาน
พระปทุมุตรพุทธเจ้าเสด็จนิพพาน ณ นันทาราม
พระสถูปของพระองค์สูง ๑๒ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ในนันทารามนั้น
พระพุทธพยากรณ์พระโคตมพุทธเจ้า
สมัยนั้น พระพุทธเจ้าโคดมเป็นชฎิล ชื่อว่า รัฏฐิกะ
ได้ถวายผ้าพร้อมภัตตาหารแก่สงฆ์ มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข
พระปทุมุตรพุทธเจ้าทรงประทานพยากรณ์แก่ชฏิลนั้นว่า ในแสนกัปแต่กัปนี้ไป ชฏิลนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก
เมื่อด้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว อธิษฐานวัตรให้ยิ่งขึ้น ได้ทำความเพียรมชั้นยอดในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ