เวสสภูพุทธวงศ์ที่ ๒๑
ในมัณฑกัปนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ พระนามว่า เวสสภู เสร็จอุบัติขึ้นในโลก
พระชาติ
ทรงเป็นกษัตริย์โดยพระชาติของนครชื่อว่า อโนมะ
พระชนกพระนามว่า สุปติตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี
พระมเหสีพระนามว่า สุจิตรา
พระราชโอรสพระนามว่า สุปปพุทธะ
มีพระสนมนารีกำนัลใน ๓๐,๐๐๐ นาง
มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อ รุจิ สุรติ และวัฑฒกะ
ทรงครองเรือนอยู่ ๖,๐๐๐ ปี
ออกบวช บำเพ็ญเพียร ตรัสรู้ และประกาศธรรมจักร
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยวอทอง ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม ก็ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ
พรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ณ อรุณาราม
ธรรมาภิสมัย ๓ วาระ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ทรงเสด็จจาริกไปในแว่นแคว้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๗๐,๐๐๐ โกฏิ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ทรงกระทำปาฏิหาริย์บรรเทาทิฏฐิใหญ่ มนุษย์และเทวดาในหมื่นโลกธาตุมาประชุมกัน เทวดาและมนุษย์ได้เห็นความมหัศจรรย์อันไม่เคยมี เป็นเหตุให้ขนพองสยองเกล้าแล้ว ได้ตรัสรู้ ๖๐ โกฏิ
ประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกัน ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๒ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกัน ๗๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๓ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกัน ๖๐,๐๐๐ โกฏิ
บุคคลสำคัญ
พระอัครสาวก : พระโสณเถระและพระอุตรเถระ
พระอุปัฏฐาก : พระอุปสันตะเถระ
พระอัครสาวิกา : พระรามาเถรีและพระสุมาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก : โสตถิกอุบาสกและรัมมอุบาสก
อุปัฏฐายิกา : โคตรมีอุบาสิกาและสิริมาอุบาสิกา
ไม้โพธิพฤกษ์
ไม้อ้อยช้างใหญ่
พระชนมายุ พระวรกาย และพระรัศมี
ทรงมีพระชนมายุ ๖๐,๐๐๐ ปี
สูง ๖๐ ศอก เปรียบเสมอด้วยเสาทอง
พระรัศมีเปล่งออกจากพระวรกาย ดังไฟบนภูเขาในเวลากลางคืน
เสด็จนิพพาน
พระเวสสภูพุทธเจ้าเสด็จนิพพาน ณ เขมาราม
พระธาตุของพระองค์แผ่ไปกว้างขวางในประเทศนั้น
พระพุทธพยากรณ์พระโคตมพุทธเจ้า
สมัยนั้น พระพุทธเจ้าโคดมเป็นกษัตริย์พระนามว่า สุทัสนะ
ได้บูชาพระเวสสภูพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ ด้วยข้าว น้ำและผ้า ยังมหาทานให้เป็นไป แล้วออกบวชในสำนักของพระเวสสภูพุทธเจ้า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นอยู่ในวัตรและศีล พื่อแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
พระเวสสภูพุทธเจ้าทรงประทานพยากรณ์ว่าในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก
เมื่อได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่งได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป
อ่าน เวสสภูพุทธวงศ์ที่ ๒๑