Main navigation

พระภัททาลิ

เหตุการณ์
พระพุทธเจ้าตรัสถึงประโยชน์ของการฉันอาหารครั้งเดียวว่า จะเป็นผู้ที่ป่วยน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ พระภัททาลิไม่ทำความเพียรในการฉันมื้อเดียว จนกระทั่งเวลาล่วงไปหนึ่งไตรมาส พระภัททาลิสำนึกผิด เข้าไปขออดโทษกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงได้เทศนา ดังนี้ว่า

เมื่อภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา ทุกคนก็จักรู้ว่า ภิกษุนั้น ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา

เมื่อพระพุทธเจ้ากล่าวว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้ ภิกษุพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธ?

เมื่อภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้ เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้ ก็ไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้

เมื่อภิกษุกระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา แม้พระศาสดาก็ไม่ทรงติเตียน แม้เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ไม่ติเตียน แม้เทวดาก็ไม่ติเตียน แม้ตนเองก็ติเตียนตนไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งคุณวิเศษ คือ ความรู้ความเห็นของพระอริยะ ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์

ภิกษุบรรลุรูปฌาณ ๔ ญาณ ๓ เพราะภิกษุทำสิกขาให้บริบูรณ์

เหตุ ปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายจะข่มแล้วข่มเล่า ซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้

ภิกษุบางรูปเป็นผู้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เมื่อโดนว่ากล่าว ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่กล่าวว่าข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ ด้วยเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายาก ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ เพราะอธิกรณ์ไม่ระงับโดยเร็ว

ภิกษุบางรูปเป็นผู้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เมื่อโดนว่ากล่าว ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น ไม่นำถ้อยคำใน ภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความอ่อนน้อม ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ กล่าวว่าข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์  ด้วยเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ เพื่อให้อธิกรณ์นี้ระงับโดยเร็ว

ภิกษุบางรูปเป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ เมื่อโดนว่ากล่าว ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่กล่าวว่าข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ ด้วยเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายาก ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ เพราะอธิกรณ์ไม่ระงับโดยเร็ว

ภิกษุบางรูปเป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ เมื่อโดนว่ากล่าว ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น ไม่นำถ้อยคำใน ภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความอ่อนน้อม ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ กล่าวว่าข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์  ด้วยเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ เพื่อให้อธิกรณ์นี้ระงับโดยเร็ว  

ภิกษุบางรูปนำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ถ้าเราทั้งหลายจักข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุนี้  แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณของเธอนั้น อย่าเสื่อมไปจากเธอเลย 

พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรมยังไม่ปรากฏในสงฆ์

อาสวัฏฐานิยธรรมยังไม่ปรากฏในสงฆ์  ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ ถึงความเป็นพหูสูต ถึงความเป็นรัตตัญญู

เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรมกำลังอันตรธาน มีสิกขาบทอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก

เหตุปัจจัยที่ทำให้มีสิกขาบทมาก

เมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูต ยังไม่ถึงความเป็นรัตตัญญู เมื่อนั้นอาสวัฏฐานิยธรรมปรากฏในสงฆ์  พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น

พระพุทธองค์บอกว่า ความเป็นผู้ไม่ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขา ไม่ใช่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้พระภัททาลิระลึกธรรมที่ทรงเคยสอนไม่ได้
แต่เป็นเพราะเมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ พระภัททาลิ ไม่ต้องการ ไม่ใส่ใจ ไม่รวบรวมด้วยใจทั้งปวง ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญยิ่งกว่า

ธรรม ๑๐ ประการ คือ 

(๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณะ (๑๐) สัมมาวิมุติ

อ้างอิง
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ สูตรที่ ๕ ข้อที่ [๑๖๐] ถึงข้อที่ [๑๗๔] ภัททาลิสูตร
ลำดับที่
7

สถานที่

วิหารเชตวัน

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ