Main navigation

มงคล ๓๘ ประการ

เหตุการณ์
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต้องการทราบว่าอะไรเป็นมงคล ทั้งเทวดาและมนุษย์ใช้เวลา ๑๒ ปี ในการคิดว่าอะไรกันหนอที่เป็นมงคล แต่ก็ไม่สามารถเห็นตรงได้ แตกออกเป็นสามพวก ท้าวสักกะจึงส่งเทพบุตรมาทูลถามพระพุทธเจ้าว่าอะไรคืออุดมมงคล

พระพุทธเจ้าตรัสคาถาอุดมมงคล ดังนี้

มงคล ๓๘ ประการ

๑.   การไม่คบคนพาล

๒.   การคบบัณฑิต 

๓.   การบูชาบุคคลที่ควรบูชา 

๔.   การอยู่ในประเทศอันสมควร 

๕.   ความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในกาลก่อน

๖.   การตั้งตนไว้ชอบ 

๗.  พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก)

๘.   ศิลป (ความเป็นผู้มีศิลปะ)

๙.   วินัยที่ศึกษาดีแล้ว

๑๐.  วาจาสุภาษิต 

๑๑.  การบำรุงมารดาบิดา 

๑๒.  การสงเคราะห์บุตร 

๑๓.  การสงเคราะห์ภรรยา

๑๔.  การงานอันไม่อากูล 

๑๕.  ทาน 

๑๖.  การประพฤติธรรม

๑๗.  การสงเคราะห์ ญาติ 

๑๘. กรรมอันไม่มีโทษ 

๑๙.  การงดเว้นจากบาป 

๒๐..  ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา 

๒๑.  ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

๒๒.  ความเคารพ 

๒๓.  ความประพฤติถ่อมตน

๒๔.  ความสันโดษ

๒๕.  ความกตัญญู 

๒๖.  การฟังธรรมโดยกาล 

๒๗.  ความอดทน 

๒๘.  ความเป็นผู้ว่าง่าย

๒๙.  การได้เห็นสมณะทั้งหลาย 

๓๐..  การสนทนาธรรมโดยกาล 

๓๑..  ความเพียร 

๓๒.  พรหมจรรย์ 

๓๓.  การเห็นอริยสัจ 

๓๔.  การกระทำนิพพานให้แจ้ง 

๓๕.  จิตไม่หวั่นไหว

๓๖.  จิตไม่เศร้าโศก

๓๗.  จิตปราศจากธุลี

๓๘.  จิตเกษม

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี เป็นจิตเกษม

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน  นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น 

 

อ่านพระสูตรเต็ม มงคลสูตร

อ้างอิง
มงคลสูตรที่ ๔ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๓๑๗-๓๑๘ หน้า ๓๔๒-๓๔๔ และอรรถกถา
ลำดับที่
2

Keywords

มงคล

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ