(๑) ตัณหา ๓ คือ
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
ตัณหาอีก ๓ คือ
๑. กามตัณหา
๒. รูปตัณหา
๓. อรูปตัณหา
ตัณหาอีก ๓ คือ
๑. ตัณหาในรูป (รูปตัณหา)
๒. ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป (อรูปตัณหา)
๓. ตัณหาในความดับสูญ (นิโรธตัณหา) (อุจเฉททิฏฐิ)
ตัณหา ๖ คือ
๑. รูปตัณหา - ความกระหายในรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททตัณหา - ความกระหายในเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธตัณหา - ความกระหายในกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสตัณหา - ความกระหายในรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพตัณหา - ความกระหายในโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมตัณหา - ความกระหายในธรรมารมณ์เป็นอารมณ์
(๒) โลกอันตัณหาย่อมนำไป อันตัณหาย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมด เป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือตัณหา
ตัณหาเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
(๓) ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
(๔) ความโศกย่อมเกิดเพราะตัณหา ภัยย่อมเกิดเพราะตัณหา ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นแล้วจากตัณหา ภัยจักมีแต่ไหน
(๕) ตัณหานี้ลามก ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น
โสมนัสที่ซ่านไปแล้วและที่เป็นไปกับด้วยความเยื่อใย ย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์เหล่านั้นอาศัยความสำราญ แสวงหาสุข นรชนเหล่านั้นแลเป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา
หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้งห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อหวังวิราคะธรรมแก่ตน พึงบรรเทาตัณหาที่ทำความสะดุ้งเสีย
สัตว์เหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปตามกระแสตัณหา ดุจแมงมุมแล่นไปตามใยที่ตนทำเอง
ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้ที่ถูกวิตกย่ำยี ผู้มีราคะกล้า มีปกติเห็นอารมณ์ว่างาม ผู้นั้นแลย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น ส่วนผู้ใดยินดีแล้วในฌานเป็นที่สงบวิตก มีสติทุกเมื่อ เจริญอสุภะอยู่ ผู้นั้นจักทำตัณหาให้สิ้นไป ผู้นั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้
ความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ เป็นของใหญ่ ย่อมนำบุคคลผู้มีตัณหาดังกระแส ๓๖ อันไหลไปในอารมณ์ซึ่งทำให้ใจเอิบอาบ เป็นของกล้า ไปสู่ทิฏฐิชั่ว
ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้ เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น
กระแสตัณหาย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาดังเครือเถาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้งหลายเห็นตัณหาดังเครือเถานั้นอันเกิดแล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา
ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูกตัดแล้วก็กลับงอกขึ้นได้ ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาขึ้นไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดบ่อย ๆ แม้ฉันนั้น
บุคคลใดครอบงำตัณหาอันลามก ล่วงไปได้โดยยากในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัว ฉะนั้น
ธรรมเครื่องกำจัดตัณหา
(๖) ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งพึงบังเกิดขึ้น ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาทุกเมื่อ เพื่อปราบตัณหาเหล่านั้น
(๗) ชนเหล่าใดได้รู้ทั่วถึงบท คือ นิพพาน อันไม่แปรผัน เป็นที่บรรเทาฉันทราคะในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง และสิ่งที่ได้ทราบ อันน่ารัก ณ ที่นี้ เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นสงบระงับแล้ว มีสติข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกได้แล้ว
(๘) ชนเหล่าใดเห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัย ชนเหล่านั้นย่อมละตัณหาได้
ชนเหล่าใดละตัณหาได้ ชนเหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้
ชนเหล่าใดละอุปธิได้ ชนเหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้
ชนเหล่าใดละทุกข์ได้ ชนเหล่านั้นชื่อว่าพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ชนเหล่านั้นย่อมพ้นจากทุกข์ได้
(๙) มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไปเพื่อความดับตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น
มรรคาและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหาเป็นไฉน คือ โพชฌงค์ ๗
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความดับตัณหา
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดับตัณหา
(๑๐) มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น
มรรคาและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาเป็นไฉน คือ โพชฌงค์ ๗
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อภิกษุนั้นเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละตัณหาได้ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละตัณหาได้
เพราะละตัณหาได้ จึงละกรรมได้ เพราะละกรรมได้ จึงละทุกข์ได้
เพราะสิ้นตัณหา จึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการดังนี้
(๙) ข้อปฏิบัติเพื่อความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น
เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้ ภิกษุชื่อว่าน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา
(๑๐) ตัณหา ตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ตัณหาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
(๑๑) เมื่อเวทนาไม่มี คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ไม่มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ โดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะปรากฏไม่ได้เลย
เพราะเหตุนั้นแหละ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหา ก็คือเวทนานั่นเอง
ตัณหาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับไป อุปาทานจะปรากฏไม่ได้เลย
เพราะเหตุนั้นแหละ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งอุปาทาน ก็คือตัณหานั่นเอง
ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล
(๑๑, ๑๒) เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา
เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ
เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ (การวินิจฉัย)
เพราะอาศัยการตกลงใจจึงเกิดการรักใคร่พึงใจ (ฉันทราคะ)
เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง (หมกมุ่น)
เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ (หวงแหน)
เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่
เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน
เพราะอาศัยการป้องกันจึงเกิดเรื่องในการป้องกันขึ้น
อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น
(๑๓) อุปธิ (กิเลส ความพัวพัน) มีตัณหาเป็นเหตุ
มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น
มีตัณหาเป็นกำเนิด
มีตัณหาเป็นแดนเกิด
เมื่อตัณหามี อุปธิจึงมี
เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิก็ไม่มี
(๑๔) ก็ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน
ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตกเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจารเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน
ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
รูปเสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี่ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้
(๑๕) ตัณหา ๓ เป็นไฉน
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภวตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยภวทิฏฐิ นี้เรียกว่า ภวตัณหา
วิภวตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา
ตัณหาที่เหลือนอกนั้น เรียกว่า กามตัณหา
กามตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา
ภวตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนักแห่งจิต ฯลฯ อันประกอบด้วยรูปธาตุและอรูปธาตุ เรียกว่า ภวตัณหา
วิภวตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา
ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่งเป็นไฉน
กามตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา
กามตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา
รูปตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา
อรูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา
ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา
รูปตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา
อรูปตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา
นิโรธตัณหาเป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า นิโรธตัณหา
ตัณหาพาคนไปเกิดในสงสาร
(๑๖) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ก็ตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้นั้นเป็นไฉน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้ อาศัยขันธบัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้ อาศัยขันธบัญจกภายนอก
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายในเป็นไฉน
เมื่อมีความถือว่า เรามี ก็ย่อมมีความถือว่า
เราเป็นอย่างนี้
เราเป็นอย่างนั้น
เราเป็นอย่างอื่น
เราเป็นอยู่
เราไม่เป็นอยู่
เราพึงเป็น
เราพึงเป็นอย่างนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้น
เราพึงเป็นอย่างอื่น
แม้ไฉนเราพึงเป็น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่น
เราจักเป็น
เราจักเป็นอย่างนี้
เราจักเป็นอย่างนั้น
เราจักเป็นอย่างอื่น
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัยขันธบัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายนอกเป็นไฉน
เมื่อมีความถือว่า เรามี ด้วยขันธบัญจกนี้ ก็ย่อมมีความถือว่า
เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัยขันธบัญจกภายนอก
ตัณหาวิจริต ๑๐๘
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายนอก ด้วยประการฉะนี้รวมเรียกว่า ตัณหาวิจริตเห็นปานนี้ ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้
ตัณหานี้แล เช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้
ตัณหาวิจริตนิทเทส
(๑๗) บรรดามาติกานั้น ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายในเป็นไฉน
ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน คือ
๑. ตัณหาว่า เรามี
๒. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้
๓. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น
๔. ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น
๕. ตัณหาว่า เราจักเป็น
๖. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้
๗. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น
๘. ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น
๙. ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง
๑๐. ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง
๑๑. ตัณหาว่า เราพึงเป็น
๑๒. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้
๑๓. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น
๑๔. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น
๑๕. ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง
๑๖. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง
๑๗. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง
๑๘. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น
ก็ตัณหาว่า เรามี คืออย่างไร
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกัน แล้วได้ฉันทะว่า เรามี ได้มานะว่า เรามี ได้ทิฏฐิว่า เรามี เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราเป็นโดยประการนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้น หรือเราเป็นโดยประการอื่นก็ย่อมมี
ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือเป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ มีรูป หรือไม่มีรูป มีสัญญา หรือไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้
ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์เหมือนกัน หรือ เขาเป็นแพศย์ เราก็เป็นแพศย์เหมือนกัน หรือ เขาเป็นศูทร เราก็เป็นศูทรเหมือนกัน หรือ เขาเป็นคฤหัสถ์ เราก็เป็นคฤหัสถ์เหมือนกัน หรือ เขาเป็นบรรพชิต เราก็เป็นบรรพชิตเหมือนกัน หรือ เขาเป็นเทวดา เราก็เป็นเทวดาเหมือนกัน หรือ เขาเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน หรือ เขามีรูป เราก็มีรูปเหมือนกัน หรือ เขาไม่มีรูป เราก็ไม่มีรูปเหมือนกัน หรือ เขามีสัญญา เราก็มีสัญญาเหมือนกัน หรือ เขาไม่มีสัญญา เราก็ไม่มีสัญญาเหมือนกัน หรือ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น
ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือ เขาเป็นพราหมณ์ เราไม่ได้เป็นพราหมณ์เหมือนเขา หรือ เขาเป็นแพศย์ เราไม่ได้เป็นแพศย์เหมือนเขา หรือ เขาเป็นศูทร เราไม่ได้เป็นศูทรเหมือนเขา หรือ เขาเป็นคฤหัสถ์ เราไม่ได้เป็นคฤหัสถ์เหมือนเขา หรือ เขาเป็นบรรพชิต เราไม่ได้เป็นบรรพชิตเหมือนเขา หรือ เขาเป็นเทวดา เราไม่ได้เป็นเทวดาเหมือนเขา หรือ เขาเป็นมนุษย์ เราไม่ได้เป็นมนุษย์เหมือนเขา หรือ เขามีรูป เราไม่มีรูปเหมือนเขา หรือเขาไม่มีรูป เรามิใช่ไม่มีรูปเหมือนเขา หรือ เขามีสัญญา เราไม่มีสัญญาเหมือนเขา หรือ เขาไม่มีสัญญา เราไม่ใช่ไม่มีสัญญาเหมือนเขา หรือ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่ใช่มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็น โดยประการอื่น
ก็ตัณหาว่า เราจักเป็น คืออย่างไร
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกัน แล้วได้ฉันทะว่า เราจักเป็น ได้มานะว่า เราจักเป็น ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็น เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ หรือเราจักเป็นอย่างนั้น หรือเราจักเป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี
ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ หรือจักเป็นพราหมณ์ จักเป็นแพศย์ หรือจักเป็นศูทร จักเป็นคฤหัสถ์ หรือจักเป็นบรรพชิต จักเป็นเทวดา หรือจักเป็นมนุษย์ จักมีรูป หรือจักไม่มีรูป จักมีสัญญา หรือจักไม่มีสัญญา หรือจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้
ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือ เขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น
ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราจักไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือ เขาเป็นพราหมณ์ เราจักไม่ได้เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักไม่เป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น
ก็ตัณหาว่า เราแน่นอน คืออย่างไร
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกัน แล้วมีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน เราไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอน
ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน คืออย่างไร
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกัน แล้วมีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่มี อย่างนี้ชื่อว่าตัณหาว่า เราไม่แน่นอน
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็น คืออย่างไร
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกัน แล้วได้ฉันทะว่า เราพึงเป็น ได้มานะว่า เราพึงเป็น ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็น เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ หรือเราพึงเป็นอย่างนั้น หรือเราพึงเป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ หรือพึงเป็นพราหมณ์ พึงเป็นแพศย์หรือพึงเป็นศูทร พึงเป็นคฤหัสถ์ หรือพึงเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดา หรือพึงเป็นมนุษย์ พึงมีรูป หรือพึงไม่มีรูป พึงมีสัญญา หรือพึงไม่มีสัญญา หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือ เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือ เขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง คืออย่างไร
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกัน แล้วได้ฉันทะว่า เราก็พึงเป็นบ้าง ได้มานะว่า เราก็พึงเป็นบ้าง ได้ทิฏฐิว่า เราก็พึงเป็นบ้าง เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราก็พึงเป็นโดยประการนี้บ้าง หรือพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง หรือพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง ก็ย่อมมี
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง คืออย่างไร
คือ ตัณหาว่า เราก็พึงเป็นกษัตริย์บ้าง หรือพึงเป็นพราหมณ์บ้าง พึงเป็นแพศย์บ้าง หรือพึงเป็นศูทรบ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์บ้าง หรือพึงเป็นบรรพชิตบ้าง พึงเป็นเทวดาบ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์บ้าง พึงมีรูปบ้าง หรือพึงไม่มีรูปบ้าง พึงมีสัญญาบ้าง หรือพึงไม่มีสัญญาบ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้าง หรือ เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ หรือ เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ ฯลฯ หรือ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง
เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก เป็นไฉน
ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก คือ
๑. ตัณหาว่า เราเป็น ด้วยรูปนี้ หรือเวทนานี้ หรือสัญญานี้ หรือสังขาร หรือวิญญาณนี้
๒. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๓. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๔. ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๕. ตัณหาว่า เราจักเป็น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๖. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๗. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๘. ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๙. ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๐. ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๑. ตัณหาว่า เราพึงเป็น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๒. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๓. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๔. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๕. ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๖. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๗. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๘. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
ก็ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามีด้วยรูป หรือเวทนานี้ หรือสัญญานี้ หรือสังขาร หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เรามีโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี
ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่เป็นกษัตริย์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เรามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็หามิได้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้คืออย่างไร
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี
ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราจักไม่เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราจักไม่เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาก็หามิได้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้คืออย่างไร
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน เราไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่มี ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้คืออย่างไร
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้ไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่าเขาเป็นกษัตริย์ เราไม่พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ก็ย่อมมี
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่าตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก
ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายใน ๑๘ เหล่านี้ ตัณหาวิจริต อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ๑๘ เหล่านี้ ประมวลเข้ากันเป็นตัณหาวิจริต ๓๖
ตัณหาวิจริตดังกล่าวนี้เป็นอดีตกาล ๓๖ เป็นอนาคตกาล ๓๖ เป็นปัจจุบันกาล ๓๖ ประมวลเข้ากันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘
(๗) เหมกปัญหาที่ ๖ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๔๓๒ หน้า ๔๐๖
(๙) นิโรธสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๔๕๑-๔๕๒