Main navigation

ทุกวันนี้โรคมีมากมาย ทำธุรกิจสุขภาพจะช่วยเพื่อนมนุษย์ได้ไหม

Q ถาม :

ท่านอาจารย์ครับ ทำไมโรคและความเจ็บป่วยทุกวันนี้มากมายเหลือเกิน ดูเหมือนจะมากขึ้นทุกที โรคมาจากไหนได้มากมายอย่างนี้ครับ จนดูจะเกินกำลังมนุษย์ที่จะจัดการได้ บางครั้งก็นึกอยากจะทำธุรกิจสุขภาพเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะช่วยได้แค่ไหน โลกสมัยก่อนเป็นกันอย่างนี้ไหมครับ คนโบราณเขาจัดการกันอย่างไรครับ ถ้าถามสิ่งที่ไม่สมควร ขอประทานอภัยด้วยครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

โอ ถามกว้างมาก คงต้องตอบแบบมหภาค จึงจะได้คำตอบหมด มีเวลานิดหน่อย งั้นเริ่มตั้งแต่ยุคกำเนิดมนุษย์เลยก็ได้ จะได้เข้าใจ ความเป็นมา ความเป็นอยู่ และความเป็นไปทั้งหมด

Scenario 1 ภาพรวมวิวัฒนาการโลก และวิวัฒนาการโรค

พระพุทธองค์ทรงเล่าวิวัฒนาการโลกและวิวัฒนาการโรคนั้น เป็นปฏิภาคผกผันกัน

เมื่อโลกมีอารยธรรมสูง คุณธรรมสูง โรคจะน้อย

เมื่อโลกมีอารยธรรมต่ำ คุณธรรมต่ำ โรคจะมาก

ในอัคคัญญสูตร พระพุทธองค์ทรงเล่าว่า ชีวิตต้นกัป มีศีล สมาธิดี จิตใจผ่องใส บริโภคปีติเป็นพลังงานหล่อเลี้ยง เหาะได้ตามปรารถนา มีโรคเดียว คือ นาน ๆ มีคนตายที เนื่องจากไม่มีใครปรารถนาจึงเรียกว่า “โรคตาย”

ต่อมา จิตปรุงแต่งความอยากชิมง้วนดินเกิดใหม่อันนุ่มดั่งนมในปัจจุบัน จึงลองกินดู ครั้นกินแล้ว กายก็หยาบลงจนทึบ ตัวก็หนักขึ้น เหาะไม่ได้เหมือนเดิม ดังนั้น โรคชุดแรกของเผ่าพันธ์ุมนุษย์คือ "โรคอยากกิน" "โรคกายหยาบ" "โรคตัวหนัก" เหาะไม่ได้

ดังนั้น นิยามคำว่าโรคดั้งเดิมเลยคือ ภาวะความผิดปกติทางใจหรือทางกายที่ไม่พึงปรารถนา

เมื่อมนุษย์ติดใจในรส จึงเกิด "โรคหิว" อยากกินอีก ครั้นบริโภคธาตุหยาบเป็นประจำ ผิวพรรณก็หยาบกร้านขึ้น แต่ละคนหยาบไม่เท่ากัน จึงเกิด "โรคดูหมิ่น" ขึ้น ทั้งดูหมิ่นตนและดูหมิ่นคนอื่น เมื่อมีการดูหมิ่น อายุขัยก็ลดลง (ตายเร็วขึ้น) 

ต่อมามีหญ้าข้าวเกิดขึ้น มนุษย์จึงเริ่มกินข้าว ผิวพรรณก็ยิ่งต่างกันมากขึ้น เริ่มเกิดเพศบุรุษ-สตรี ขึ้น เมื่อมีความต่างเพศ "โรคราคะกำหนัด" ก็เกิดขึ้น เมื่อมีการเสพกามกันซึ่งเป็นกิจกรรมที่หยาบร้อน จึงเกิด "โรครังเกียจ" กันเกิดขึ้น 

เมื่อมีความรังเกียจกัน จึงเกิดการสร้างบ้านเรือนแยกออกจากหมู่เพื่อเสพกามอย่างปกปิด เมื่อเสพกามมาก "โรคขี้เกียจ" ก็เกิดขึ้น เมื่อขี้เกียจออกหาอาหาร จึงเกิดการสะสมขึ้น เมื่อเกิดการสะสม ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติก็ลดลง

เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติก็ลดลง จึงมีการปักปันเขตแดนครอบครองกันเป็นส่วน ๆ เมื่อมีการครอบครอง "โรคหวงแหน" ก็เกิดขึ้น 

เมื่อมนุษย์มีคุณธรรมไม่เท่ากัน ความสมบูรณ์ของธัญญาหารในแต่ละแดนก็ไม่เท่ากัน พวกที่ขาดแคลนจึงอยากได้อาหารในเขตแดนคนอื่น "โรคโลภะ" จึงเกิดขึ้น

เมื่อความโลภเกิด จึงมีการละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้อื่น มนุษย์ที่ถูกละเมิดเห็นว่าบุคคลอื่นกระทำต่อตนอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม จึงเกิด "โรคไม่พอใจ" ขึ้น 

เมื่อมีความไม่เป็นธรรมปรากฏ หมู่มนุษย์จึงพร้อมใจกันเลือกผู้ที่มีคุณธรรมที่สุดขึ้นเป็นผู้นำ มีหน้าที่คอยรักษาความเป็นธรรมให้หมู่คณะ จึงเริ่มมีผู้นำขึ้นในอารยธรรมโลก โดยผู้นำต้องดูแลความเป็นธรรมเป็นงานหลัก ไม่ต้องหากินเอง สมาชิกอื่นจะแบ่งส่วนของตนให้ ระบบตอบแทนจึงเกิดขึ้นในอารยธรรมโลก

แม้มีระบบปกครองแล้ว ก็ไม่อาจห้ามปรามกิเลสมนุษย์ได้ กิเลสก็ยังเพิ่มขึ้น การดูหมิ่น การละเมิด การเบียดเบียน ความไม่เป็นธรรมนานาก็เพิ่มขึ้น เมื่ออธรรมงอกงามในโลกมากขึ้น เมื่อมนุษย์อยู่กันด้วยโมหะโดยมาก โรคระบาดจึงเกิดขึ้นเป็นระลอก ๆ 

มีมนุษย์บางคนมีจิตสำนึกถวิลหาความหมดจด จึงเกิด "โรคเบื่อโลก" ขึ้น คนเหล่านี้ก็หลีกเร้นออกจากหมู่คณะ ออกจากระบบ ไปอยู่ในป่าตามลำพัง กินน้อย ไม่ครอบครอง มุ่งละกิเลสเหตุแห่งความเสื่อม จึงมีนักบวชเกิดขึ้นในอารยธรรมโลก

นั่นคือวิวัฒนาการของโลก และของโรคในยุคแรก


Scenario 2 การแพทย์แผนพุทธ 

พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลแรกในโลกที่ทรงจำแนก anatomy ของมนุษย์โดยทรงแบ่งเป็น 32 อวัยวะ กลุ่มเนื้อเยื่อ และกลุ่มธาตุตาม function การทำงานที่แตกต่างกัน คือ เกสา (ผม) โลมา (ขน) นขา (ล็บ) ทันตา (ฟัน) ตโจ (หนัง) มังสัง (เนื้อ) นหารู (เอ็น) อัฐิ (กระดูก) อัฐิมิญชัง (เยื่อในกระดูก) วักกัง (ม้าม) หทยัง (หัวใจ) ยกนัง (ตับ) กิโลมกัง (พังผืด) ปิหะกัง (ไต) ปัปผาสัง (ปอด) อันตัง (ไส้ใหญ่) อันตคุณัง (ไส้น้อย) อุทริยัง (อาหารใหม่) กรีสัง (อาหารเก่า) ปิตตัง (น้ำดี) เสมหัง (เสลด) ปุพโพ (น้ำเหลือง) โลหิตัง (เลือด) เสโท (เหงื่อ) เมโท (มันข้น) อัสสุ (น้ำตา) วสา (มันเหลว) เขโฬ (น้ำลาย) สิงฆานิกา (น้ำมูก) ลสิกา (ไขข้อ) มุตตัง (น้ำปัสสาวะ) มัตถเก มัตถลุงคัง (มันสมอง, สมองอันสร้างมาจากไขมัน)

เมื่ออวัยวะกลุ่มเนื้อเยื่อหรือกลุ่มธาตุเหล่านี้ทำงานผิดปกติ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า อวัยวะหรือธาตุนั่นกำเริบหรือพิการ (ป่วยผิดปกติไป) เช่น ไฟกำเริบ (ไข้) โลหิตพิการ (เลือดเป็นพิษ) เป็นต้น

พระพุทธองค์ยังทรงจำแนกเหตุแห่งโรค และการบำบัดโรคไว้สี่กลุ่ม คือ

กลุ่มโรคอันเกิดจากจิตปรุงแต่งแปดเปื้อน ไม่สะอาด

จิตบริสุทธิ์เป็นรู้หมดจดล้วน ๆ จิตปรุงแต่งมีผลผลิตเป็นกิเลสต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคตรัสเนือง ๆ ว่า กิเลสเป็นโรค เป็นดังหัวฝี (มะเร็งจิต)

โรคอันเกิดจากจิตปรุงแต่ง เช่น โรคโลภะกำเริบ (เอาแต่ได้โดยไม่เป็นธรรม) โรคทิฏฐิกำเริบ (บ้าความคิดเห็น) โรคมานะกำเริบ (ดูหมิ่นตนหรือดูหมิ่นคนอื่น) โรคพิศวาสกำเริบ (บ้ากาม) โรคโทสะกำเริบ (ยินร้ายขุ่นใจ) โรคพยาบาทกำเริบ (ปองร้ายวางแผนทำลาย) โรคอิจฉากำเริบ (ไม่ยินดีในตนแต่ไปยินดีในของคนอื่น) โรคโมหะกำเริบ (ไหลไปหลง) โรควิจิกิจฉากำเริบ (มีแต่ปัญหาที่ไม่มีคำตอบ) โรคฟุ้งซ่าน (คิดพล่านไปเรื่อย หยุดความคิดไม่ได้) โรคอัตตากำเริบ (หลงตน) โรคอวิชชากำเริบ (ไม่รู้สัจธรรม) ชีวิต สังคม และโลกปั่นป่วน ทุกข์ร้อน เพราะโรคเหล่านี้

การบำบัดโรคกลุ่มนี้ ต้องดับการปรุงจิต จนกิเลส (มะเร็งจิต) ขาดสูญ แล้วโรคจะหายไป

กลุ่มโรคอันเกิดจากกรรม บาปเลอะเทอะ ไม่สะอาด

โรคอันเกิดจากกรรม เช่น

กรรมฆ่าชีวิตอื่น จะทำให้ป่วยถึงตาย หรือปางตาย

กรรมทำร้ายชีวิตอื่น จะทำให้ป่วยเสียเลือดเสียเนื้อ

กรรมเบียดเบียนชีวิตอื่น จะทำให้อ่อนเพลีย แรงน้อย ไม่มีกำลัง

กรรมดูหมิ่นตนหรือดูหมิ่นผู้อื่น จะทำให้จิตเศร้าหมอง ผิวพรรณเศร้าหมอง ศักยภาพเสื่อม

กรรมละเมิด จะทำให้มีปัญหาความสัมพันธ์ และเป็นโรคเครียดตามมา

กรรมหลอกลวง จะทำให้สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ควบคุมตนไม่ได้

กรรมดื่มสุรามาก จะทำให้อวัยะต่าง ๆ แข็งตัว จนทำงานไม่ได้

กรรมทำบาปใด ๆ จะทำให้เป็นโรคหวาดกลัว วิตก จิตหลอน เป็นต้น

การบำบัดโรคกลุ่มนี้ ต้องเลิกทำบาปเด็ดขาด ขออโหสิกรรม ให้อโหสิกรรม คลายขันธ์ แล้วยอมรับเศษกรรมที่เหลือ ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำบาปกรรมอีกเด็ดขาด และตั้งใจทำดีให้เอกอุ จะเกิดกรรมดีใหม่มาแทนกรรมเก่า กรรมเก่าจะอ่อนตัวลง เมื่อกรรมเก่าหมดวาระก็หายได้

กลุ่มโรคอันเกิดจากการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม

โรคอันเกิดจากอาหาร เช่น

1. การบริโภคอาหารมากเกินการใช้งาน เป็นเหตุให้เกิดโรคมาก จึงทรงบัญญัติวินัยให้พระฉันข้าวยาคูอาหารเบา ๆ ตอนเช้า และฉันอาหารบิณฑบาตตอนสาย ดื่มน้ำปานะน้ำผลไม้ตอนเย็น นอกนั้นดื่มแต่น้ำเปล่า

2. การบริโภคอาหารย่อยยาก เป็นเหตุให้เกิดโรค ครั้งหนึ่งมีคนมาถวายน้ำตาลงบจำนวนมากแก่พระพุทธเจ้าและคณะสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงบริโภคเล็กน้อยแล้วให้ผู้ถวายนำไปเททิ้งเสีย ไม่ให้ภิกษุสงฆ์ฉัน เพราะน้ำตาลย่อยยาก จะเป็นเหตุให้เจ็บป่วย

3. การบริโภคอาหารมีพิษ เป็นเหตุให้เกิดโรค ครั้งที่นายจุนทะถวายแกงสุกรมัทวะแก่พระพุทธเจ้าและคณะสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงรับไว้ แล้วให้นายจุนทะนำแกงที่เหลือไปเททิ้งเสีย ไม่ให้ภิกษุสงฆ์ฉัน เพราะอาหารมีพิษจะเป็นเหตุให้เจ็บป่วย จากนั้นพระองค์ก็ทรงประชวร และเดินทางไปดับขันธปรินิพพานในที่สุด

การบำบัดโรคกลุ่มนี้ ต้องรู้ประมาณในการบริโภค สร้างนิสัยการบริโภคเพื่อสุขภาวะ บริโภคเพื่อใช้พัฒนาตนจริง ไม่บริโภคด้วยความเมามัน ไม่บริโภคโชว์ ไม่บริโภคตกแต่ง ไม่บริโภคเพราะความคะนอง ไม่บริโภคเพราะความหลงเพลินในรส ก็จะป้องกันโรคที่ยังไม่เกิด และลดโรคที่เกิดแล้วได้

กลุ่มโรคอันเกิดจากอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม

โรคอันเกิดจากอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม เช่น โรคไข้เย็นเพราะเย็นเกินไป โรคไข้ร้อนเพราะร้อนเกินไป โรคต้องพิษจากการถูกสัตว์พิษทำร้าย โรคอุบัติเหตุจากการประสบภัยธรรมชาติ เป็นต้น

การบำบัดโรคกลุ่มนี้ ต้องเลือกอยู่ในที่ที่สัปปายะ พอเหมาะพอดีด้วย ที่อยู่ อาหารและน้ำ มีบุคคลที่มีความหวังดีต่อกันจริง มีธรรมะดีหล่อเลี้ยงจิตใจ มีที่กว้างขวางพอที่จะยืนเดินนั่งนอน ออกกำลังได้หลายอิริยาบทสบาย ๆ เดินทางสะดวก ห่างไกลชุมชนวุ่นวาย ห่างไกลสัตว์ร้าย อุณหภูมิเป็นที่สบาย เป็นต้น

เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงบัญญัติทั้ง anatomy เหตุแห่งโรค และวิธีบำบัดรักษาไว้ลึกซึ้งถ้วนสัจจะอย่างนี้ แม้แพทย์ยุคหลังศึกษาวิจัยกันในยุคต่อมา ก็อยู่ในกรอบสัจจะนี้แม้จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ยุโรปเพิ่งพบ anatomy เมื่อ Leonardo da Vinci ขอผ่าศพนักโทษเมื่อห้าร้อยปีมานี้เอง ก็พบบางส่วนที่พระพุทธเจ้าทรงพบแล้ว เพราะสัจจะคือหนึ่งเดียวกัน แต่พระพุทธองค์ทรงเริ่มเปิดปัญญาและให้ระบบความรู้นี้ก่อนคนอื่น จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาแห่งการแพทย์ของโลกด้วย ซึ่งเป็นการอ้างอิงและให้เกียรติที่ถูกต้องตามธรรม

กระนั้น มีอีกหลายอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ แต่การแพทย์ปัจจุบันยังไม่พบ เช่น "ชรตธาตุ" (ธาตุที่ทำให้เกิดความชรา) และจุลอนุปรมาณู ซึ่งเป็นสิ่งที่เล็กกว่าอนุภาคในสสารในเซลล์ ส่วนอนุปรมาณู (เล็กกว่าปรมาณูใหญ่กว่าจุลอนุปรมาณู) นักฟิสิกส์พบแล้วว่าคือ quantum 


Scenario 3 การแพทย์สมัยโบราณ

การแพทย์กลุ่มนี้ WHO เรียกว่า Traditional, Complementary and Integrative Medicine หมายถึง การแพทย์ดั้งเดิม การแพทย์เสริม และการแพทย์ผสมผสาน ซึ่งมีเยอะมาก จะสรุปเฉพาะแผนหลัก ๆ เท่าที่จำได้และเท่าที่เวลาอำนวยนะ

การแพทย์แผนอินเดีย

ศาสตร์การแพทย์อินเดีย มีสอง school ใหญ่ คือ อายุรเวท กับ โยคะ  

ในคัมภีร์อายุรเวท ระบุว่าเป็นศาสตร์แห่งชีวิต กำเนิดจากการบอกกล่าวของเหล่าเทพและพรหมทั้งหลายที่มาสอนมนุษย์ให้อยู่อย่างเป็นสุข โดยเน้นการรักษาสมดุลของ Tri dosha คือ vata, pitta, kapha ซึ่งเป็นพลังงานตั้งต้นให้เกิดธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และธาตุทิพย์ หากมีความผิดปกติใด เทพพรหมก็แนะนำวิธีแก้ไข สูตรยาทั้งหลายก็ระบุไว้ชัดว่ามาจากท่านสหัมบดีพรหมบ้าง อินทรา (พระอินทร์) บ้าง กฤชณา (พระกฤษณะ) บ้าง และอีกมากมายหลายองค์

Yoga (โยคะ) เป็นศาตร์ที่สอนแก่โลกโดยมหาเทพ shiva (พระศิวะ) ที่สอนให้มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เดินตามกิเลส และฝึกตนด้วย 

1. หฐะโยคะ ปราณายามะ การบริหารลมหายใจเพื่อสุขภาวะแบบต่าง ๆ 

2. อาสนะโยคะ การบริหารร่างกายให้ยืดหยุ่นแข็งแรงตามปรารถนา

3 ราชโยคะ การบริหารจิตใจให้สะอาด ปราศจากกิเลส เพื่อเข้าสู่พรหมันอันสูงสุด

ต่อมาท่านปตัญชลีได้รวบรวมและจัดระเบียบคำสอนของมหาเทพศิวะเป็นหมวดหมู่พร้อมวิธีปฏิบัติเรียกว่า โยคะสูตร ซึ่งโยคีรุ่นหลังได้ถือเป็นคัมภีร์หลักและพัฒนาต่ออีกมาก ปัจจุบัน yogic science เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในสังคมตะวันตก

การแพทย์แผนจีน

ชาวจีนโบราณเฝ้าสังเกตการทำงานของจักรวาล และพบว่ามีพลังขับเคลื่อนจักรวาลเรียกว่า ชี่ พลังนี้มีสองด้านคือ ว่างและมี แข็งและหยุ่น จึงเรียกว่า หยินกับหยาง 

ชีวิตเป็นส่วนหนึ่งในจักรวาล ก็ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังชี่ ทั้งหยินและหยางเช่นกัน จากหลักการนี้ การแพทย์แผนจีนจึงเน้นที่

1. การ flow ดีของพลังชี่

2. ความสมดุลของหยินกับหยาง

Treatment ทั้งหลายล้วนเป็นไปเพื่อผลดังกล่าว ทั้งการหายใจเอาพลังปราณจากภายนอกขับเคลื่อนชำระพลังภายใน การเคลื่อนไหวชีวิตในความว่าง การฝังเข็มกระตุ้นชี่ การดูดด้วยสุญญากาศเพื่อเอาส่วนอุดตันชี่ออก การกดจุดกระตุ้นการไหลเวียนพลังชี่ การใช้พืชและสัตว์ที่มีพลังต่าง ๆ มาปรับสมดุลหยินหยางภายใน เป็นต้น

การแพทย์แผนจีนเป็น treatment ที่มีประสิทธิผลดี จากกรณี covid pandemic จีนใช้การแพทย์ผสมผสานรักษาผู้ป่วยหายในอัตราสูง  

การแพทย์แผนไทย

พวกเราคนไทยรู้กันอยู่แล้ว ขอข้ามไป

เวลาเหลือไม่มาก แผนโบราณขอเอาแค่นี้นะ ที่จริงยังมีอีกหลาย traditions เช่น การแพทย์แผนยุโรป เจริญด้าน naturotherapy มาก, German ก็เป็นต้นตำรับของ Homeopathy และ stem cell, Swiss ก็เป็นต้นแบบของการแพทย์แบบ rejuvenation และยังมีการแพทย์แผนอาหรับ การแพทย์แผนอาฟริกา และการแพทย์แบบ aborigin ของหมู่เกาะทั้งหลายอีก ซึ่งมีประสิทธิผลมาก จะเห็นได้ว่าช่วงโควิดระบาด หลายหมู่เกาะเป็น covid free คือไม่มีผู้ติดเชื้อเลย บางเกาะที่มีบ้าง ก็รักษาหายโดยเร็ว อัตราการตายต่ำมาก บางเกาะเป็น 0 เลย ไปศึกษากันดูเองนะ เราจะได้ไปพิจารณาประเด็นสำคัญอื่น ๆ ตรงคำถามต่อไป ก่อนจะหมดเวลา

หมอเทวดากับหมอเฉพาะทาง

ในสมัยโบราณนั้น การแพทย์เน้นการศึกษาองค์รวมของชีวิต หมอหนึ่งคนทำทุกหน้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งตรวจวินิจฉัยเอง ปรุงยาเอง ผ่าตัดเอง พยาบาลเอง และบำบัดแก้ไขทุกโรค ซึ่งหมอต้องอุทิศตนทั้งชีวิตเพื่อการแพทย์ และการช่วยเหลือผู้ป่วยจริง ๆ ผู้คนจึงมักมองหมอว่าเป็นหมอเทวดา และเคารพนับถือเชื่อถือหมอมาก ด้วยการรักษาสุขภาวะทุกมิติ บำบัดทุกโรค หมอโบราณจึงรอบรู้กว้างมาก แต่อาจไม่รู้ลึก เช่น ไม่รู้ถึงระดับ genes, mitochondria เป็นต้น จึงทำให้การรักษาองค์รวมทำให้ประสิทธิผลสูง แต่ประสิทธิภาพต่ำ

ต่างกับหมอสมัยใหม่ ที่ศึกษาวิจัยลึกเฉพาะทาง จึงรู้ลึกมากในรูของตน แต่อาจไม่รู้องค์รวมของชีวิต จึงแก้อาการไปทีละอาการ คนไข้จึงไม่อาจ rely on หมอคนเดียวได้ ป่วยที อาจต้องพบหมอหลายคนกว่าจะหาย แม้ประสิทธิภาพสูง แต่ประสิทธิผลต่ำ


Scenario 4 การแพทย์สมัยใหม่ 

การแพทย์สมัยใหม่ จำแนกโรคเป็นหกกลุ่มใหญ่หลายกลุ่มย่อย

กลุ่มแรก โรคเกิดจากพันธุกรรม

พันธุกรรมเป็นมรดกที่รับมาจากพ่อแม่  และอีกประการหนึ่งเป็นการกลายพันธุ์ของยีน เกิดเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ผิดไปจากธรรมชาติ หรือใช้ชีวิตปฏิบัติตนที่ผิดไปจากธรรมชาติ โรคอันเกิดจากการกลายพันธุ์มักก่อเกิดโรคใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ เช่น มะเร็งกลุ่ม egfr เป็นต้น

กลุ่มสอง โรคเกิดจากการติดเชื้อ

ที่จริงเชื้อก็คือจุลินชีพในธรรมชาติ เพียงแต่เขากินเซลล์มนุษย์เป็นอาหาร เมื่อกินมาก ๆ เลยทำให้มนุษย์ป่วยหรือตาย จุลินชีพที่กินมนุษย์มากที่สุดโดยลำดับ คือ 1) ไวรัส 2) แบคทีเรียบางประเภท 3) รา ส่วนจุลินชีพอื่น ๆ รบกวนมนุษย์บ้างเพียงเล็กน้อย 

กลุ่มสาม โรคไร้เชื้ออันเกิดจากวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม

โรคกลุ่มนี้เกิดจากวิถีการใช้ชีวิตการกิน การอยู่ การทำงาน การสัมพันธ์กัน ที่ไม่ healthy ของมนุษย์เอง ได้แก่ โรคประสาท โรคความดันโลหิตสูง โรคไมเกรน โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตัน โรคมะเร็งส่วนใหญ่ เป็นต้น

กลุ่มสี่ โรคอันเกิดจากความเสื่อมตามวัย
โรคกลุ่มนี้ เช่น โรคกระดูกผุ โรคต้อตา โรคหัวใจ เป็นต้น

กลุ่มห้า โรคอันเกิดจากอุบัติภัย
โรคกลุ่มนี้ เช่น อุบัติเหตุ ผลจาก ความประมาท การเผชิญภัยธรรมชาติ หรือการประทุษร้ายกัน เป็นต้น

กลุ่มหก โรคอันเกิดจากจิตไม่ปกติ
โรคกลุ่มนี้ เช่น โรคเครียด โรคจิตหลอน โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคหดหู่ซึมเศร้า โรคเสียสติ (ไม่รู้ตัว) เป็นต้น องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ต่อไปนี้โรคกลุ่มนี้จะเป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุข

วงการแพทย์สมัยใหม่สามารถจำแนกและวินิจฉัยอาการได้ดี และสามารถแก้ปัญหาได้พอสมควร แต่ยังไม่สามารถพบเหตุแห่งเหตุของโรคได้ เช่น พบว่าการกลายพันธุ์ทำให้ป่วยได้ แต่ยังไม่รู้ว่าเหตุใดยีนจึงกลายพันธุ์ในเชิงลึกละเอียด จึงไม่มีกระบวนการยับยั้งการกลายพันธุ์หรือกลไกควบคุมให้กลายพันธุ์เฉพาะคุณสมบัติที่ดี หรือรู้ว่าจิตผิดปกติมีอาการอย่างนี้ แต่ไม่รู้ว่าเหตุให้จิตผิดปกติมีอะไรบ้างและจะบำบัดรักษาอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า "สิ่งใดเกิดแต่เหตุ เมื่อจะดับก็ดับที่เหตุ" ดังนั้น ยังต้องช่วยกันพัฒนาต่อไป


Scenario 5 การแพทย์ในอนาคต

เราดูแนวโน้มทางการแพทย์ในอนาคตได้จากการวิจัยใหม่ ๆ ที่กำลังทำกันอยู่และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เอื้ออำนวย เช่น

1. การวินิจฉัยโรคโดย AI ตอนนี้ AI สามารถ detect cancer cell ได้กว่า 90% แล้ว

2. การสำรวจและการผ่าตัดภายในด้วย microbot  ตอนนี้เริ่มใช้ในการสำรวจภายในแล้ว

3. Noninvasive surgery การผ่าตัดโดยไม่เปิดแผล ตอนนี้มีการใช้คลื่นเสียง ทำลาย tumor เฉพาะที่แล้ว 

4. การปรับปรุงพันธุกรรม และการปรับปรุงสเต็มเซลล์ ตอนนี้กำลังก้าวหน้ามากขึ้น

5. การสังเคราะห์ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ทำได้ระดับหนึ่งแล้ว จะมีการพัฒนาอีกหลากหลาย

6. การบำบัดด้วยพลังงาน สารพัดพลังจะถูกนำมาใช้

7. อวัยวะสมจริง ตอนนี้มนุษย์สามารถสร้าง แขนขาเทียม ผิวหนังเทียม อวัยวะภายนอกเทียมได้หลายอย่าง แต่มนุษย์ต่างดาวที่แทรกตัวมาอยู่ในหมู่มนุษย์ เขาใช้สมองสมจริงกันนานแล้ว เขาจึงจำลองความเป็นมนุษย์มาอยู่ในโลกได้อย่างกลมกลืน ถ้าไม่ป่วยมา ไม่มีการเปิดกระโหลก ก็จะไม่รู้เลยว่าเป็นมนุษย์ต่างดาว

8. Super Nutrition คอนเซ็ปต์นี้ เป็นความฝันใฝ่ของหลายคนที่ขี้เกียจกิน แต่องค์กรแรกที่พัฒนาจริงจังคือนาซา ซึ่งได้ผลระดับหนึ่งแล้ว ยังมีโอกาสให้พัฒนาได้อีกมหาศาล

9. Breathercise จาก Yoga and Taichi ซึ่งสถาบันการแพทย์หลายแห่งนำไปวิจัยใช้แล้วได้ผลดี เพราะออกซิเจนเป็น raw material หลักในการสร้างร่างกายมนุษย์ ทุกเซลล์ต้องใช้มาก การหายใจจึงมีผลต่อสุขภาพโดยตรง และจะมีการ apply ใช้กันหลายแง่มุม

10. Meditation ตอนนี้วงการแพทย์อเมริกันและยุโรป นิยม prescribe ให้คนไข้จิตเภทต่าง ๆ ไปเข้าคอร์ส Mindfulness แบบพุทธ 8 วัน เพราะได้ผลดีและต่อเนื่องกว่าการให้ยาและ counseling มาก จนสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้การฝึกจิตเป็นวาระแห่งชาติ รัฐบาลแคนาดาก็รับรองหลักสูตรปฏิบัติธรรมแบบพุทธว่าถูกต้องตามกฎหมาย ใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งรัฐได้ แม้ที่มูลนิธิฯ ไม่เคยประกาศแก่ชาวต่างชาติ แต่มีฝรั่งหลายคนมาขอปฏิบัติธรรม นั่นแสดงว่า meditation เป็นที่ต้องการมากของชาวโลกยุคนี้

เรื่อง Meditation นี่ ชาวพุทธเก่งที่สุดในโลก รองลงไปเป็นฤาษี แต่หมอไทยยังใส่ใจน้อยไป ความจริงที่มูลนิธิฯ ก็มีหมอมาปฏิบัติธรรมและสอนธรรมหลายคน แต่มาเพราะจิตสำนึกสูงและศรัทธาเฉพาะตน ไม่ได้เพราะระบบหรือเพื่อระบบแต่อย่างใด ถ้าระบบการแพทย์ประเทศไทยหยิบ meditation มาเป็นจุดเด่นของตนเอง จะช่วยโลกได้มหาศาล แต่ต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากลเช่นที่ USA, Canada, Russia และ Europe ปฏิบัติกันนะ หากไม่อ้างอิงพระพุทธเจ้า หรือ original master ให้ถูกต้อง จะผิดทั้งกฎหมาย ผิดทั้งกฎแห่งกรรม ผิดทั้งกฎแห่งธรรม พระพุทธเจ้าทรงจำแนกว่าเป็นมหาโจร แทนที่จะได้ผลดีมีปัญญา กลับจะได้ผลเสียปัญญาเสื่อมหายแทน

11. Interdisciplinary Approach ระบบสุขภาพนั้น interconnect กันหมด แต่ละอวัยวะไม่ได้ทำงาน Stand alone หากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งผิดปกติก็มีผลต่อร่างกายทั้งระบบ หากอวัยวะหนึ่งไม่ทำงาน ก็ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น การบริหารสุขภาพแบบองค์รวมจึงมีประสิทธิผลสูงและยั่งยืนกว่าการเจาะรูอยู่แคบ ๆ บัดนี้ ทั้ง WHO และกระทรวงสาธารณสุขประเทศใหญ่ ๆ ก็ส่งเสริม Interdisciplinary มากขึ้น สถาบันการศึกษาก็ดี สถาบันการแพทย์ก็ดี ก็ต้องวิจัย และพัฒนาให้ทัน Trend

ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ วงการแพทย์ก็จะพัฒนาไปอีกอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่าเดิม


Scenario 6 การแพทย์และการสาธารณสุข 

ในขณะที่การแพทย์ focus ที่การรักษาคน บำบัดโรค (ไม่ใช่รักษาโรค) การสาธารณสุขจะดูสุขภาวะของสาธารณะ ทั้งมาตรฐานอาหาร ยา ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเจ็บป่วยมาก ทั้งการควบคุมโรคที่เกิดแล้วมิให้ระบาด ระบาดแล้วก็รีบแก้ไขทันทีมิให้เสียหายมาก  

ด้วยเหตุนี้ งานสาธารณสุขจึงต้องทำวิจัยทั้งเชิงนโยบาย เชิงปฏิบัติการ และเชิงเทคนิคเพื่อบรรลุผลดังกล่าว เช่น ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขอเมริกาพบว่าต้นเหตุหลักของโรคจำนวนมาก คือ อาหารที่ไม่เหมาะสมและวิถีชีวิตที่ทำให้เครียด (ซึ่งก็สอดคล้องกับความจริงในยุคต้นกำเนิดเผ่าพันธ์ุมนุษย์ใหม่ ๆ) จึงออกมาประกาศและรณรงค์ให้ประชาชน 1) บริโภคอาหารสุขภาพ 2) ใช้ชีวิตอย่างสมดุลไม่เครียด 

เรื่องเหล่านี้ยุโรปและออสเตรเลียทำจริงจังมาก อาหารใดที่เป็นภัยต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขจะห้ามใช้เลย เช่นบางประเทศก็ห้ามใช้ Trans Fat ในอาหาร บางประเทศควบคุมปริมาณน้ำตาลไม่ให้เกินอัตราปลอดภัยเมื่อเฉลี่ยรวมกับปริมาณอาหารที่บริโภคทั้งวัน เป็นต้น ส่วนรัฐบาลที่ใส่ใจแบบเห็นแก่ได้ก็ใช้วิธีเก็บภาษีความหวาน ซึ่งไม่ได้ช่วยประชาชนเลย

เหล่านี้คืองานสาธารณสุขที่ต้องทำควบคู่ไปกับงานการแพทย์


Scenario 7 สุขภาวะมนุษย์ในอนาคต

จากอดีตที่โรคค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละโรคตามความเสื่อมคุณธรรม เสื่อมจิต เสื่อมกาย เสื่อมสัมพันธ์ เสื่อมกรรม เสื่อมพลัง เสื่อมวัย แต่มนุษย์ไม่ได้ตั้งใจแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจริงจัง ไปเน้นการแก้ที่ปรากฏการณ์ปลายเหตุ จึงแก้เท่าไรก็แก้ไม่หมด โรคใหม่ ๆ ก็อุบัติเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนปัจจุบัน encyclopedia ทางการแพทย์บัญญัติโรคได้กว่า 30,000 โรค

จากการเรียนรู้อดีตและประสบการณ์ปัจจุบัน เราพอจะทำ projection อนาคตได้โดยหลักการว่า

หากมนุษย์มีคุณธรรมสูงขึ้น มีความเป็นธรรมต่อกันมากขึ้น มีความเครียดน้อยลง โรคในโลกก็จะลดลง สุขภาวะประชากรโลกก็ดีขึ้น

หากมนุษย์มีคุณธรรมลดลง มีความเป็นธรรมต่อกันน้อย มีความเครียดมากขึ้น โรคในโลกก็จะเพิ่มมากขึ้น สุขภาวะประชากรโลกก็เสื่อมลง

การแพทย์และการสาธารณสุข จะคงอยู่ในโลกมนุษย์ไปตลอด เพื่อวิจัย ป้องกัน และแก้ปัญหาสุขภาพและสุขภาวะต่าง ๆ


Scenario 8 สุขภาพในชีวิตจริง

ชีวิตเป็นสังขตะ platform ที่รวมทุกพลัง ทุกเหตุ ทุกโอกาสสุขภาวะ ทุกการบำบัดรักษาทั้งหมด ชีวิตไม่ได้สังกัดการแพทย์แผนใด ๆ หรือสมัยใด แต่ชีวิตเป็นไปตามกลไกธรรมชาติ เช่น หากใช้ชีวิต slow life อายุก็จะยืนแบบเต่า (ปัจจุบันสูงได้ถึง 400 ปี) หากใช้ชีวิต hyper active แบบแมลงน้อย หากินแต่น้ำหวานและของเน่า อายุก็จะสั้น (เฉลี่ย 7 วัน) ดังนั้น ชีวิตเลือกที่จะเป็นหรือไม่เป็นโรคได้ระดับหนึ่งแม้จะไม่ทั้งหมด เพียงบริหารองค์ประกอบและวิถีชีวิตให้ดี

ที่มูลนิธิ เราจึงดูแลระบบสุขภาพกัน 6 ระบบ ที่กลั่นมาแล้วว่า cover all คือ สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพพลัง สุขภาพกรรม สุขภาพธรรม สุขภาพภูมิ


Scenario 9 งานดูแลสุขภาพ

งานดูแลสุขภาพเป็นบุญในการขวนขวายสงเคราะห์ผู้ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ เป็นบารมีที่ต้องใช้ปัญญาหาวิธีการที่ได้ผล ต้องเพียรทำแล้วทำอีกจนกว่าจะสำเร็จ ต้องอดทนต่อสถานการณ์ไม่คาดคิด ต้องอุเบกขาต่อแรงกดดันในความรับผิดชอบ

ท่านชีวกโกมารภัจจ์ บรมครูด้านการแพทย์ของโลกซึ่งสงเคราะห์คนไข้เยอะ ทั้งถวายการดูแลพระพุทธเจ้าตลอดพระชนม์ชีพ ผลบุญบารมีเหล่านั้นทำให้ท่านบรรลุธรรมง่ายโดยลำดับ ตายแล้วไปเป็นพรหม จักปรินิพพานในภพนั้น

ดังนั้น งานดูแลสุขภาพเป็นหนึ่งในงานที่เป็นบุญบารมีโดยอาชีพ ถ้าปฏิบัติอย่างหมดจดในวิชาชีพ รู้จริง และหวังดีตั้งใจช่วยคนไข้ ได้ผลจริง 


Scenario 10 ธุรกิจสุขภาพ

ธุรกิจสุขภาพเป็นธุรกิจที่เป็นที่ต้องการของโลกในยุคสารพัดโรคเสมอ เป็นธุรกิจที่ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองต่ำ เพราะกำลังอยู่ในภาวะช่วยตัวเองไม่ได้ กำลังต้องการความช่วยเหลือ จึงมีแนวโน้มจะเชื่อบุคคลากรทางการแพทย์โดยมาก ราคาขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขันและความเชื่อถือได้  

กระนั้น ธุรกิจโรงพยาบาลให้อัตราผลประกอบการต่ำ เพราะค่าใช้จ่ายในการ operate สูง

ผลประกอบการของธุรกิจจะสูงขึ้นเมื่อเปิดบริการต่อชาวต่างชาติ เพราะค่ารักษาพยาบาลในไทยถูกกว่าหลายประเทศมาก และ service mind ของคนไทยดีกว่าหลายชนชาติมาก จึงเป็นที่นิยมของชนต่างชาติ และสามารถเก็บค่ารักษาพยาบาลที่สูงได้ เพียงต้องพัฒนาบุคลากรให้มี global mind & global service

ผลการลงทุนธุรกิจโรงพยาบาลจะสูงที่สุดเมื่อนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ ซึ่งก็เข้าได้ไม่ยากเลย เมื่อเข้าแล้ว ด้วยความเป็นกิจการที่มั่นคง เป็นที่ต้องการของโลก และเป็นวิชาชีพ Trust Based จึงได้ capital gain สูงมาก มูลค่าหุ้นสามารถขึ้นไปถึง 200 กว่าเท่า ก็มีอยู่หลายแห่งในเมืองไทย ค่า premium สูงกว่ากิจการประเภทอื่น ๆ 

ดังนั้น หากจะลงทุนระยะยาว ลงทุนในธุรกิจสุขภาพดี ปัจจุบันสร้างโรงพยาบาลขนาดกลางอย่างดีมากก็ลงทุนเพียง +-500 ล้าน บริหารดี ๆ อีก 20 ปี มูลค่ากิจการจะเป็น 100,000 ล้านได้ ย้ำ ต้องบริหารจน gain global trust ได้นะ

ถ้าทำได้ดังนี้ ก็ช่วยทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจประชาชน และสุขภาพสมบัติแก่มหาชนที่มาร่วมถือหุ้นด้วย


Scenario 11 ควรทำธุรกิจสุขภาพหรือไม่ อย่างไร

ควรทำ เมื่อมี key success factors เหล่านี้พร้อม

1. ผู้นำที่มีปัญญา clear vision เข้าใจสุขภาพองค์รวมเป็นผู้บริหาร ปัจจัยนี้สำคัญที่สุด ที่จะทำให้โรงพยาบาลประสบความสำเร็จ

2. หมอ senior ที่บริหารและจัดสรรหมอเฉพาะทางได้ หมอเฉพาะทางส่วนใหญ่จะวิ่งรอกหลายโรงพยาบาลอยู่แล้ว พยายามให้หมอบริหารหมอเอง อย่าเอานักธุรกิจไปบริหารหมอ เพราะจรรยาบรรณแพทย์กับจรรยาบรรณธุรกิจเป็นคนละชุดกัน ไปคนละทิศกัน นักธุรกิจจึงบริหารหมอไม่ได้ หมอก็บริหารธุรกิจไม่ดีจะเสียวิญญาณหมอ ดีที่สุดคือ นักธุรกิจบริหารภาคธุรกิจและการเงิน หมอบริหารภาคสุขภาพและการแพทย์ 

3. มีทีมวิจัยที่ smart เพราะผลการวิจัยใหม่ ๆ จะเป็นสิ่งที่สร้างทั้งประสิทธิผลการรักษา ทั้งมอบ value ใหม่ให้กับโลก ทั้งสร้างความเชื่อถือได้ให้แก่โรงพยาบาล ดีกว่าการเป็น outlet ให้บริษัทยามาก

4. มีทีมบริหารที่มี global vision ซึ่งเรื่องนี้ พวกเราเก่งกันอยู่แล้ว 

5. serve ทั้ง domestic and international เพราะปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาสากลของมนุษยชาติ การ serve global scale จะทำให้ฐานผู้บริโภคกว้าง break even เร็ว

6. เมื่อจะ serve global ควรใช้การแพทย์ผสมผสาน โดยใช้การแพทย์สมัยใหม่เป็นตัวเอก เพราะคนมีหลายรสนิยม แต่แม้จะมีหลายรสนิยมอย่างไร ค่านิยมที่ทันสมัยที่สุดก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด 

การแพทย์ผสมทุก disciplines ทุกสมัย ไม่ใช่การแบ่งพื้นที่กันคนละโซน ต่างคนต่างทำ แต่คือการร่วมกันรักษาคนไข้แต่ละคนให้หายป่วยจริง ๆ การบริหารการแพทย์ผสมทุก disciplines ทุกสมัยให้ลงตัว ควร 1) ทำ interconnect ระหว่างรูเชี่ยวชาญเฉพาะให้มาก 2) ส่งเสริมการวิจัยร่วมให้มาก จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูง ประสิทธิผลสูงพร้อมกัน

7. มีเงินเย็น หรือหากประสงค์ผู้ร่วมทุน ก็หาได้ง่าย ควรให้คณะแพทย์ร่วมทุนด้วยจะดีที่สุด 

8. มีที่ดินที่เป็น prime location สำหรับ theme ของโรงพยาบาล เช่น

โรงพยาบาลทั่วไป ควรอยู่ในเมืองใหญ่
โรงพยาบาลสำหรับ Rejuvenations และผู้สูงอายุ ควรเป็นที่ในธรรมชาติสะอาด งดงาม
โรงพยาบาลเฉพาะทาง ถ้าเก่งจริง อยู่ที่ไหนก็ได้ คนก็ไปหา

หากไม่มี key success factors เหล่านี้เลย ไม่ควรทำ

เมื่อไม่ทำโรงพยาบาลเอง แต่อยากสงเคราะห์ผู้เดือดร้อน ก็ใช้วิธีบริจาคให้แก่โรงพยาบาลที่มีอุดมการณ์ดี เช่นที่พวกเราไปบริจาคให้ศิริราชและอื่น ๆ กันเป็นประจำ  

พิจารณาตามที่เหมาะสมกับตัวเองครับ

วันนี้เมื่อยแล้ว เอาแค่นี้ 

 

 

คำที่เกี่ยวข้อง :

สุขภาพ