Main navigation

ผู้ที่ฟังธรรมแล้ว ไม่อาจหยั่งลงสู่นิยาม

Q ถาม :

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม

A พระพุทธเจ้า ตอบ :

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรมธรรม

๕ ประการเป็นไฉน คือ

บุคคลย่อมพูดมาก ๑
พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑
พูดปรารภตน ๑
เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย ๑

บุคคลย่อมพูดมาก ๑
พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑
พูดปรารภตน ๑
เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑
เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑

บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้อันความลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑
เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม มีจิตกระด้าง ๑
เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑
เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑
ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑
ไม่พูดปรารภตน ๑
เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย ๑

บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑
ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑
ไม่พูดปรารภตน ๑
เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑
ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑

บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้อันความลบหลู่ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑
เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง ๑
เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑
ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑

 

 

ที่มา
สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๑-๓ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๑๕๑-๑๕๓

คำที่เกี่ยวข้อง :

การฟังธรรม