Main navigation
ธรรมกถึก
Share:

(๑) ภิกษุชื่อว่าเป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร

หากว่าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุธรรมกถึก

หากว่าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

หากว่าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน

(๒) พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ดังนี้ คือ

ไม่พึงยกตน ๑
ไม่ข่มบุคคลเหล่าอื่น ๑
ไม่พึงกระทบกระทั่งบุคคลเหล่าอื่น ๑
ไม่กล่าวคุณความดีของตนในที่ชุมนุมชนเพื่อมุ่งลาภผล ๑
ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน กล่าวแต่พอประมาณ มีวัตร ๑

ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พึงเป็นผู้มีปกติเห็นเนื้อความอันสุขุมละเอียด มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติอ่อนน้อม มีศีลตามเยี่ยงอย่างของพระพุทธเจ้านั้น พึงได้นิพพานไม่ยากเลย

 

อ้างอิง:
(๑) ธัมมกถิกสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๓๐๓ หน้า ๑๕๗
(๒) วิสาขปัญจาลีปุตตเถรคาถา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖ ข้อที่ ๓๐๒ หน้า ๒๕๖

คำต่อไป