การสนทนาโดยเอาจิตไว้ที่จิต มีวิธีปฏิบัติอย่างไร
Q
การสนทนาโดยเอาจิตไว้ที่จิต คืออย่างไรครับ เพราะผมเคยเหมือนกำหนดรู้ฟัง สักพักจะเริ่มรู้สึกเหมือนอยู่กับตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วจิตจะดิ่งสงัด และจะเกิดความเกรงใจเพราะกลัวว่าสนใจผู้พูดน้อยลง แล้วจิตก็จะกระสับกระส่ายและก็เสียสมาธิ แล้วก็หลุดออกมา กลายเป็นวอกแวกจากการตั้งใจฟังไปเลยครับ
การสนทนาโดยเอาจิตไว้ที่จิต คืออย่างไรครับ เพราะผมเคยเหมือนกำหนดรู้ฟัง สักพักจะเริ่มรู้สึกเหมือนอยู่กับตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วจิตจะดิ่งสงัด และจะเกิดความเกรงใจเพราะกลัวว่าสนใจผู้พูดน้อยลง แล้วจิตก็จะกระสับกระส่ายและก็เสียสมาธิ แล้วก็หลุดออกมา กลายเป็นวอกแวกจากการตั้งใจฟังไปเลยครับ
หรือบางครั้งเอาจิตไว้ที่ความว่างบริเวณท้อง ฟังไปแล้วก็กลายเป็นหลับตาฟังไปเลย โปรดช่วยแนะนำด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ
A
1. ตั้งรากรู้ไว้ที่จิต
2. แผ่จิตเมตตาอ่อน ๆ ไปยังผู้พูด
3. ขณะที่รับรู้การฟัง ให้รากรู้อยู่ที่จิตเสมอ
4. มีสติอยู่กับจิตเรา จิตเขา และการสื่อพลังงานระหว่าง
5. เป็นการรู้สมบูรณ์คือ รู้ผู้รู้ รู้สิ่งที่ถูกรู้ รู้เจตนาของผู้พูด รู้กระบวนการรู้ รู้ความรู้ที่เกิดขึ้น รู้โอกาสในการใช้สอย รู้คุณโทษต่อเนื่อง รู้ความคุ้มค่า รู้ผลสุดท้าย
รู้อย่างนี้เรียกว่ารู้ทะลุปรุโปร่ง จึงตัดสินใจได้อย่างแม่นยำเหมาะสม